ภาพหน้าปกถ่ายโดย https://www.pexels.com/th-th/photo/dao-733028/เฮามาฮู้จักกำเมืองกันเต๊อะสวัสดีจ้า พ่อแม่พี่น้อง วันนี้นักเขียนจะมาสอนภาษาเมืองของคนภาคเหนือให้ฟังกันนะคะ ตัวนักเขียนเองเป็นคนเชียงราย (เจียงฮาย ) นะคะ นักเขียนอยากจะนำเสนอวัฒนธรรมคำพูดของคนภาคเหนือมาให้รู้จักกันในแต่ละหมวด เผื่อว่าทุกท่านอยากจะมาเที่ยวภาคเหนือ ก็ลองศึกษาวิถีการพูดจาของคนเหนือกันได้นะคะซึ่งภาษากำเมือง หรือภาษาเหนือจะพูดกันแบบช้าๆเวลาด่ากันจะออกแนวน่ารัก ๆ ไม่รุนแรงเท่าไหร่ค่ะ ซึ่งภาษาเหนือจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไปนะคะ ไม่ได้เหมือนกันซะทีเดียว และก็มีการสื่อความหมายคำนั้นเหมือนกันแต่พูดไม่เหมือนกันด้วย ยกตัวอย่างเช่น “ช้าง” ถ้าออกเสียง “จ๊าง” ส่วนใหญ่จะมาจาก เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน แต่ถ้า “จ้าง” จะเป็น เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน ประมาณนี้ค่ะ บางพื้นที่จะพูดเร็ว บางพื้นที่จะพูดช้าและเหน่อ ค่ะ ยกตัวอย่างเช่น เชียงใหม่ อย่างที่ทุกคนอาจเคยได้ยินมาจากละคร “กลิ่นกาสะลอง” จะมีน้ำเสียงที่เหน่อ ๆ หมายถึงเป็นคนเชียงใหม่อย่างชัดเจนเลยค่ะ เริ่มสนใจขึ้นมาแล้วใช่ไหมคะ ฮ่า ๆ งั้นเรามารู้จักภาษาเหนือ ในแต่ละหมวดกันเลยนะคะหมวด ผักผลไม้-บะแต๋ง = แตงกวา / -บ่าโอ = ส้มโอ / -บ่าก๊วยเต๊ด = มะละกอ / -ม่ะน้อยแหน้ = น้อยหน่า / -ก้วยใต้ = กล้วยน้ำว้า / -หม่ะมุด = ละมุด / -บ่ะหนุน = ขนุน / -บะหม่น = ฝรั่ง / -บะตึ้น = กระท้อน / -บะเต้า = แตงโม / -บะผาง = มะปราง / -บะขาม = มะขาม / -จั๊กไค = ตะไคร้ / -บะฟักแก้ว = ฟักทอง / -ผักแคบ = ผักตำลึง / -บะฟักหม่น = ฟักเขียวภาพโดย https://www.pexels.com/th-th/photo/264537/ส่วนมากจะเห็นได้ชัดว่าภาษาเหนือ จะออกคำว่า “ บะ ” นำหน้าเป็นส่วนใหญ่ อันนี้นักเขียนแค่ยกตัวอย่างคร่าวๆของหมวดผักและผลไม้นะคะ ซึ่งยังมีอีกหลายคำพูดไปคงไม่จบง่าย ๆ แน่นอนค่ะ ฮ่า ๆ ต่อไปจะเป็นหมวด เครื่องใช้ นะคะข้าวของเครื่องใช้-ถุงเซ้ว = ถุงพลาสติก / -สายฮั้ง = เข็มขัด / -ผ้าตุ้ม = ผ้าเช็ดตัว / -ป้าก = ทัพพี / -จ้อน = ช้อน / -รถเครื่อง = รถจักรยานยนต์ / -หมอนหนีบ = หมอนข้าง /-พรมเจ้ดต้าว = พรมเช็ดเท้า / -รถถีบ = รถจักรยาน / -ไม้ถูปื้น = ไม้ถูพื้น / -เกิบ = รองเท้า / -ถุงตีน = ถุงเท้าภาพถ่ายโดย https://www.pexels.com/th-th/photo/1125136/สรรพนามที่ใช้แทนกัน-ตั๋ว = เทอ / -เปิ้น = ฉัน / -ตัวเก่า = ตัวเอง / -หมู่เฮา = พวกเรา / -ป้อ = พ่อ / -ปี้ = พี่สาว / -อ้าย = พี่ชาย / -เปื่อน = เพื่อน / -คิง = ใช้เรียกเฉพาะเพื่อนผู้ชายที่สนิทกันจริงๆ / -ฮา = ฉัน ใช้เฉพาะคนที่สนิทเช่นเพื่อนหรือรุ่นน้อง / -ตุ๊เจ้า = พระสงฆ์ / -ป้อจาย = ผู้ชาย / -แม่ญิง = ผู้หยิง / -คนเฒ่า = คนชรา / -ป้ออุ้ย/แม่อุ้ย = ปู่ย่า/ตายาย / -ละอ่อน = เด็ก ๆ ภาพโดย https://www.pexels.com/th-th/photo/3184416/สัตว์-จั๊กกิม = จิ้งจก / -ต๊กโต = ตุ๊กแก / -จั๊กก่า = กิ้งก่า / -ปลาเหยียน = ปลาไหล / -จิ้กุ่ง = จิ้งกุ่ง / -จิ้หีด = จิ้งหรีด / -จั๊กกะเหล้อ = จิ้งเหลน / -จ๊าง = ช้างภาพโดย https://www.pexels.com/th-th/photo/247431/คำอื่น ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน-แอ่ว = เที่ยว / -ปา = พา / -ก้าย = เบื่อ / -ขี้จุ๊ = โกหก / -โขด = โกด / -ไปเต๊อะ = ไปเถอะ / -ขะใจ๋ = เร็วๆ / -จ้า = ช้า / -กึ้ด = คิด / -ใจ้ = ใช้ / -แต้ = จริง / -กะ = หรอ / -แม่น = ใช่ / -บ่ = ไม่ / -อู้ = พูด / -ผ่อ = ดู / -อะหยัง = อะไร / -หยังก๊อ = อะไรนะ / -ยะ = ทำ / -ฮู้ = รู้ / -ฮัก = รัก / -ก่าย = พึ่งผ่านหน้าไป / -เตว = เดิน / -ต๊าว = หกล้ม / -ผะเลิด = ลื่นล้ม / -ล่น = วิ่ง / -ง่าว = โง่ / -จะไปอู้ดัง = อย่าสงเสียงดัง / -จะไปกึ้ดนัก = อย่าคิดมาก / -ลำ = อร่อย / -หื้อ = ให้ / -อิด = เหนื่อย / -แต้กะ = จริงหรอ / -ฮาก = อ้วก / -กู่ = คู่ / -ไค่ได้ = อยากได้ / -ข๋าง = หวง / -ลักหนี = แอบหนี / -ปากดัง = เสียงดัง / -เปื้อน = เลอะเทอะ / -กึ้ดเติง = คิดถึงภาพโดย https://www.pexels.com/th-th/photo/3182835/ทั้งหรือภาษาเหนือบางส่วนพร้อมทั้งคำแปลภาษากลางมาให้ทุกท่านได้เข้าใจ ตอนนี้นักเขียนขอใช้คำว่า “กึ้ดหยังบ่าออกแล้ว” ซึ่งแปลว่า คิดอะไรไม่ออกแล้ว ขอลาทุกคนก่อนนะคะ หวังว่าทุกท่านจะชอบสิ่งที่นักเขียนนำเสนอกันนะคะ ขอบคุณค่ะ