วันขอพรแห่งดวงดาวจากตำนานเล่าขานสู่ธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง ถ้าให้เปรียบกับบ้านเราก็คงไม่ต่างจากธรรมเนียมการสร้างขวัญกำลังใจ ที่มีเรื่องราวความรักเล่าเสริมเติมแต่งขึ้นมาของ สาวทอผ้า กับ หนุ่มเลี้ยงวัว ที่เรียกได้ว่า เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวจากตำนานอีกหนึ่งบทที่ได้รับการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ จนยึดถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน ก็เรียกได้ว่าเป็น อีกหนึ่งเทศกาลของญี่ปุ่นที่ต้องจัดขึ้นกันทุกปี เพื่อความรัก ความหวัง ความฝัน และ ความดีงาม ที่จะได้เห็นผู้คนร่วมมือร่วมใจกันมาทำกิจกรรมนี้กันอย่างล้นหลามและได้ขอพรกันเป็นประจำทุกปี โดยการผูก กระดาษคำอฐิษฐานไว้กับกิ่งไม้ไผ่โดยกระดาษที่ใช้เขียนก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป เช่นถ้าเป็นรูปนกกระเรียน เขาก็จะเขียนขอพรให้อายุยืนยาวแล้วพับเป็นรูปนกกระเรียนแล้วนำไปแขวนไว้ที่กิ่งไผ่ถ้าเป็นรูปถุงเล็กๆ ก็จะหมายถึง การขอเรื่องการเงิน เพื่อขอความร่ำรวยถ้าเป็นรุปแตงโม ก็จะหมายถึง เรื่องของการเกษตร เป็นต้นหรือ อาจจะเขียนด้วยกระดาษธรรมดาแล้วเขียนขอพรไปตามที่ต้องการและแขวนไว้ที่กิ่งไผ่ก็ได้เช่นเดียวกัน ตามตำนาน ของสาวทอผ้า และ หนุ่มเลี้ยงวัวกล่าวถึงเทพผู้ปกครองท้องฟ้า พระองค์ทรงมีราชธิดาอยู่องค์หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ทอผ้าอยู่อีกฝั่งหนึ่งของ แม่น้ำอามาโนะกาวะ (ในที่นี้ก็คือทางช้างเผือกนะครับ) การทอผ้าของนางนั้นเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่านางจะทำงานหนักมากสักเพียงใด แต่! ภายในใจของนางรู้สึกขมขื่นใจไม่น้อย เพราะไม่ได้มีโอกาสเจอใครสักคน ผู้เป็นเทพเห็นดังนั้น จึงรู้สึกกลัดกลุ้มใจอยากจะคลี่คลายความเศร้าหมองให้กับนางลงได้บ้าง จึงได้มองไปเห็นอีกฟากหนึ่งของทางช้างเผือกเห็นหนุ่มเลี้ยงวัวอยู่ที่่ทุ่งแห่งนั้น จึงจัดฉากให้ทั้งสองได้ทำความรู้จักกัน จนสนิทสนมในที่สุด ระหว่างที่ทั้งคู่กำลังดูดดื่มกับช่วงเวลาแห่งความสุขนั้น การงานต่างๆกลับไม่ได้ดำเนินไปตามปรกติอย่างที่ควรจะเป็น งานการทุกอย่างถูกวาง และคั่งค้างจำนวนมาก ฟาก หนุ่มเลี้ยงวัวเองที่เคยต้องพาวัวไปเดินเล่นในทุ่งหญ้ากลับปล่อยปละ ละเลยให้เดินวนเวียนทั่วท้องฟ้า สะเปะสะปะไปเรื่อย ทำให้เทพแห่งท้องฟ้าเห็นแล้วทรงกริ้วยิ่งนัก จึงแยกทั้งสองออกจากกัน เมื่อทำดังนั้น สาวทอผ้าได้อ้อนวอนร้องขอให้อภัยจนต้องร้องไห้ออกมาอย่างหนัก เมื่อเห็นดังนั้นจึงรู้สึกใจอ่อน และ เห็นแก่ความเป็นลูก จึงบอกไปว่า "จะให้พบกันอีกครั้งหนึ่ง แค่ทุกวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี" จึงพอทำให้นางคลายความเศร้าโศกลงได้บ้าง และเมื่อถึงกำหนดที่ทั้งสองจะได้มาเจอกัน กลับเจออุปสรรคอย่างคาดไม่ถึงคือ ไม่สามารถข้ามแม่น้ำทางช้างเผือกมาเจอกันได้เพราะไม่มีสะพาน ยิ่งทำให้นางเสียใจเป็นทวีคูณอย่างยิ่งจน นกกางเขน เห็นแล้วรู้สึกสงสาร จึงเข้าไปช่วยทอดร่างต่อกันเป็นสะพานให้แก่คนทั้งสองข้ามมาเจอกันในที่สุด ว่ากันว่าถ้าปีไหนมีฝนตก ทัังคู่อาจต้องรอไปพบกันใหม่ในปีหน้าเป็นเพียงตำนานและเรื่องราวที่ผู้เขียนแต่งเติมขึ้นมาบ้างเพื่อให้ผู้อ่านได้เพลิดเพลินบันเทิงใจไปกับเทศกาลที่กำลังมีขึ้นเท่านั้น แน่นอนในทุกๆที่ทั่วโลกย่อมมีธรรมเนียมปฎิบัติของแต่ละท้องที่และเราต้องให้ความเคารพและศรัทธาไปกับกิจกรรมนั้นๆที่เขาได้จัดทำรว่มมือร่วมใจสร้างมันขึ้นมาและร่วมมือกันทำด้วยความตั้งใจ เหมือนดังรูปด้านบนนี้นะครับ เขาก็จะมาช่วยกันแบกและโยกไปพร้อมกันและแห่ไปตามถนน จนถึงจุดนัดพบ และ ส่งกระดาษขอพรให้กับผู้ที่รอทำพีธีอยู่ด้านหน้าต้นไผ่ และเขาก็จะนำกระดาษนั้นไปติดให้ เป็นอันเสร็จพิธิ และทุกคนก็จะแยกย้าย หรือ ไปเฉลืมฉลองกันที่ไหนก็ว่ากันไปอีกที ครับหลังจากงานพิธีในช่วงเช้า เสร็จพิธีแล้ว ตอนเย็นๆ ผู้คนรวมทั้งนักท่องเที่ยวก็จะออกมาเดินกันเต็มถนนไปหมดเลยครับ งานนี้เขาเริ่มกันมาตั้งแต่วันที่ 7-9 กรกฎาคม ของทุกปีนะครับ ถ้าใครมาเที่ยวช่วงเดือนกรกฎาคม และอยากเจอเทศกาลนี้ก็ให้วางแผนไว้ล่วงหน้าหน่อยก็จะดีครับสำหรับผมเองมองว่ามันเป็นเทศกาลที่ดีที่วิถีของความเชื่อนี้ส่งผลให้ผู้คนทั้งที่รู้จักกันและไม่รู้จักกันมารวมตัวกันทำกิจกรรมนี้เพื่อขอพร และมันดูสนุกสนานและได้เหงื่อพอสมควร และก่อให้เกิดความสามัคคีของคนในท้องถิ่นและคนในชาติให้กลมเกลียวและอดทนต่อสู้กับอุปสรรคที่มันเกิดขึ้นไปด้วยกัน รูปภาพโดย ผู้เขียนGoddess Art Illustration Canva /จาก miadigital ภาพพื้นหลัง Flat Organic Starry Sky sketchify Inked Han Drawn Scalloped Edged Lined Starburst Frame พื้นหลัง/Dark Blue Minimal Handdrawn Night Sky Illustration Personal Canva Banner /CanvaCattle Head Illustration Gorkhs เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !