ความหลากหลายของตลาดรถยนต์ในไทยยุคสมัยนี้คงจะไม่มากมายเท่าไหร่นักครับ เพราะจะมีแบรนด์ดัง ๆ เพียงไม่กี่ยี่ห้อให้คนไทยได้เลือกซื้อกัน ยิ่งเป็นรถจากยุโรปด้วยแล้วยิ่งมีตัวเลือกน้อยมาก บางคนก็ลงทุนซื้อรถนำเข้าหรือรถ Grey เข้ามา ถ้าหากถามว่าในประเทศไทยมันเคยมียุครุ่งเรืองในเรื่องความหลากหลายของยี่ห้อรถบ้างไหม คำตอบก็คือใช่ครับ มันเคยมียุคหนึ่งที่มีรถหลายรุ่นจากทั่วโลกมาทำตลาดในไทย แต่ท้ายที่สุดแล้วพวกเขากลับต้องม้วนเสื่อกลับบ้านไปอย่างน่าเสียดาย พร้อมกับทิ้งแพอันใหญ่ให้ลูกค้าที่เผลอตัวซื้อไปอีกด้วยแล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้นไปได้เพราะหากจะย้อนไปยังยุคปลาย 80 ถึงปลาย 90 ถือว่าเป็นยุครุ่งเรืองเลยทีเดียวเพราะเราจะได้ยินชื่อรถยี่ห้อแปลก ๆ เช่น Fiat, Alfa Romeo, SAAB, Daewoo, Renault, Daihatsu, Jeep, Lancia, Opel เป็นต้น ก็เป็นผลมาจากนโยบายการเปิดเสรีการค้า ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ในสมัยนายกฯ อานันนท์ ปันยารชุน แต่จนแล้วจนรอด ในที่สุดก็เหลือเพียงแต่แบรนด์รถจากญี่ปุ่นที่ครองตลาดและแบรนด์ยุโรปกับอเมริกาอีกประปรายเท่านั้นครับที่มารูปภาพ: Matan Ray Vizel จาก Pixabayสาเหตุที่เป็นแบบนั้นมันมีหลายปัจจัยทีเดียวเริ่มจากปัญหาเศรษฐกิจของไทยในช่วงยุค 90 ถือว่าเป็นอะไรที่หนักหนาสาหัสมากครับ โดยเฉพาะธุรกิจยานยนต์จะส่งผลเป็นอันดับแรก เมื่อไม่มีคนซื้อรถก็ยิ่งทำให้บริษัทที่นำเข้ารถเริ่มขาดทุน ยิ่งเป็นแบรนด์รถทางเลือกที่ไม่ใช่เจ้าตลาดก็ทำให้การยืนระยะอยู่ได้ไม่นานครับ แม้ว่าตัวรถจะใช้งานดีแค่ไหนก็ตามอย่างเช่น Opel หรือ Jeep ที่ต้องถอยทัพกลับแผ่นดินแม่อย่างรวดเร็วสภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองแล้ว ในเรื่องของค่าใช้จ่าย ราคาค่าตัวรถก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ค่ายรถเหล่านี้ ม้วนเสื่อกลับบ้านแบบไม่คิดจะกลับมาอีก ด้วยราคารถที่มีราคาแพง ขณะที่รถยี่ห้อนี้ในประเทศต้นกำเนิดมีราคาไม่สูงนัก คุณภาพไม่ได้พรีเมี่ยมมากแต่ตั้งราคาไว้เหมือนเป็นรถหรู อีกทั้งราคาอะไหล่ก็เป็นอีกตัวการที่ทำให้ลูกค้าต้องเสียเงินมากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับรถระดับเดียวกันที่มารูปภาพ: Foulon Richard จาก Pixabayบางแบรนด์ก็เป็นรถที่ดีครับ กลับกันหากศูนย์บริการหรือระบบบริการหลังการขายที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ ต่อให้เป็นชั้นชั้นยอดขับดีแค่ไหน ก็ต้องยอมแพ้อยู่ดี เมื่อคุณขับรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนน้ำมันเครื่องหรือเปลี่ยนอะไหล่ แต่ต้องเจอกับราคาที่แพงเฉียดหลักหมื่น หรือต้องรอคอยอะไหล่นานนับเดือน รวมไปถึงการเซอร์วิสทีมช่างที่ไม่สามารถแก้ไขตรงจุดจุดนี้เลยทำให้ผู้คนเริ่มถอยห่างจากแบรนด์รถแปลก ๆ เนื่องจากผู้นำเข้ารถไม่สามารถบริการได้ตอบโจทย์พอ บางทีเพียงแค่ได้ยินชื่อผู้จัดจำหน่ายก็รู้สึกแหยงไม่อยากซื้อรถแล้วล่ะครับ กลายเป็นว่ารถดีแต่ชื่อเสียซะอย่างงั้นที่มารูปภาพ: dan evensen จาก Pixabay เมื่อมีรถยนต์ที่ขับดีมันก็ต้องมีรถบางยี่ห้อที่มีปัญหาจุกจิกเหมือนกันครับ อาจจะเป็นเพราะการนำรถ Spec จากแถบยุโรปมาใช้งานในแถบเอเชีย ซึ่งมีสภาพอากาศที่แตกต่างกัน ก็อาจทำให้อะไหล่หรือของเหลวบางอย่างเกิดการเสื่อมสภาพไวขึ้น อีกทั้งระบบเกียร์ในรถบางยี่ห้อที่ค่อนข้างเปราะบางต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ยิ่งทำให้ผู้ใช้ต้องเสียเวลาดูแลรถมากกว่าไปทำอย่างอื่นเมื่อเป็นแบบนี้หลายคนคงยอมตัดใจเลือกซื้อรถเอเชียที่ทนทานกว่า เหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทยมากกว่าครับ นั่นก็ทำให้ผู้นำเข้ารถยุโรป, อเมริกาหรือเกาหลีทั้งหลายต้องถอยกรูดอย่างช่วยไม่ได้ แถมยังปล่อยให้ลูกค้าที่ซื้อรถไปต้องเผชิญชะตากรรมกันเอง ต้องเสาะหาอู่นอกที่ไว้ใจได้ หรือรวมกลุ่มเป็น Club เพื่อช่วยเหลือเพื่อนผู้ประบภัยปัญหารถยนต์รุ่นเดียวกันที่มารูปภาพ: Dariusz Sankowski จาก Pixabayอีกกรณีหนึ่งคือดีลเลอร์แบกรับต้นทุนไม่ไหว มีปัญหาประสบสภาวะขาดทุนตลอด จนทำให้บริษัทแม่เล็งเห็นว่าทำอย่างไรก็คงไม่รอด สู้ถอนตัวไปเสียจะดีกว่า ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รถในเมืองไทยมีตัวเลือกน้อยลงไปอีก ล่าสุดกับเคสของ Chevrolet ครับที่ได้ตัดสินใจถอนตัวจากเมืองไทยอย่างถาวร โดยจะมีบริษัทจากจีนอย่าง Great Wall มารับช่วงต่อแทนก็เป็นอะไรที่น่าเสียดายเหมือนกันครับกับการไปอย่างไม่มีหวนกลับมาของยานยนต์เหล่านี้ เชื่อว่าถ้าหากได้ผู้จัดจำหจ่ายที่ดีมีมาตรฐาน ใส่ใจลูกค้า คนไทยคงจะมีตัวเลือกมากกว่านี้ มีรถหลายแบบวิ่งบนถนนมากกว่าเดิม ก็คงจะเป็นเพียงตำนานเป็นความทรงจำที่ว่า เมืองไทยเคยมีรถหลากหลายรูปแบบโลดแล่นบนถนนมาก่อนถึงอย่างนั้นความหวังก็ยังพอมีครับเพราะรถยนต์บางยี่ห้อที่เคยทำตลาดในไทยมาก่อน ก็เริ่มกลับมาบ้างแล้วอย่างเช่น Peugeot ที่เริ่มเปิดโชว์รูมและศูนย์บริการไปเมื่อปลายปี 2019 ที่ผ่านมาส่วนตัวแล้วผู้เขียนก็เคยอยากได้รถจำพวกนี้เหมือนกันครับ แต่เมื่อคิดให้ดีในเรื่องการดูแลรักษาระยะยาว ก็คงต้องตัดใจและเลือกซื้อรถที่เหมาะกับการใช้งานจริงเสียจะดีกว่า...ที่มารูปภาพปก: Skica911 จาก Pixabay