รีเซต

กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี ร่วมกับการแพทย์ฉุกเฉิน ซ้อมแผนส่งผู้ป่วยทางอากาศบนถ้ำนาคา

กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี ร่วมกับการแพทย์ฉุกเฉิน ซ้อมแผนส่งผู้ป่วยทางอากาศบนถ้ำนาคา
มติชน
26 เมษายน 2565 ( 13:16 )
89
กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี ร่วมกับการแพทย์ฉุกเฉิน ซ้อมแผนส่งผู้ป่วยทางอากาศบนถ้ำนาคา

เมื่อวันที่ 26 เมษายน กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี กองพลทหารราบที่ 3 ร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ อุทยานแห่งชาติภูลังกา โรงพยาบาลบึงโขงหลง กู้ชีพ อบต.โพธิ์หมากแข้ง ,อบต.ดงบัง ,ทต.บึงโขงหลง ,ภาคีเครือข่ายกู้ภัย บึงโขงหลง ภูลังกา HUB ,กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดบึงกาฬ(กอ.รมน.จว.บก) และทหารร้อย.สกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด ที่ 2 (มว.สกัดกั้นฯ ที่ 1) บก.ควบคุมที่ 2 (ร.13) บูรณาการซักซ้อมการส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ (MEDIVAC) โดยใช้ อากาศยาน แบบ ฮท.212 สำหรับส่งต่อผู้ป่วยวิกฤต และฉุกเฉินสำหรับการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติและฉุกเฉิน ในพื้นที่รับผิดชอบของ กกล.สุรศักดิ์มนตรี ระหว่างหน่วยบินกับหน่วยแพทย์ และหน่วยภาคพื้น บนยอดเขาอุทยานแห่งชาติภูลังกา (ถ้ำนาคา) ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ

 

โดยการสร้างภารกิจว่า มีทักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยว ที่บริเวณถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกา ได้ประสบอุบัติเหตุผลัดตกจากบันไดทางขึ้นไปยังถ้ำนาคา ส่งผลให้กระดูกต้นขาขวาหัก แทงทะลุผิวหนังออกมา ผู้ป่วยหายใจรวย ริน และเนื่องจากภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูงชัน การเดินทางโดยเท้าและรถยนต์ ของทีมแพทย์และพยาบาลต้องใช้ระยะเวลานาน ประกอบกับผู้ป่วยเสียเลือดมาก หากเข้ารับการผ่าตัดไม่ทันการ อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จำเป็นต้องใช้อากาศยานในการลำเลียง พร้อมแจ้งไปยังสายด่วนการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ขออนุมัติลำเลียงผู้ป่วย โดยใช้อากาศยาน แบบ ฮท.212 พร้อมนักบิน จาก กกล.สุรศักดิ์มนตรี และ จนท.รพ.ค่ายประจักษ์ศิลปาคม พร้อมทีมลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ (Sky Doctor) มารับผู้ป่วยที่สนาม ฮ. ชั่วคราว ถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกา ลำเลียงผู้ป่วยไปส่งต่อให้โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียงได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้การส่งกลับผู้ป่วยเจ็บในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง และให้การช่วยชีวิตผู้ป่วยมีความปลอดภัย ผู้ป่วยรอดชีวิต

 

ทั้งนี้การซักซ้อมแผนปฏิบัติดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารบก ที่ได้อนุมัติแนวทางการใช้อากาศยานของกองทัพบก ในการสนับสนุนภารกิจส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ ด้วยการปรับปรุงอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ มาพัฒนาขีดความสามารถให้เป็นเฮลิคอปเตอร์พยาบาล เพื่อสนับสนุนยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกในการช่วยเหลือประชาชน ผู้ป่วยในการส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ ซึ่งการฝึกซ้อมการส่งกลับผู้ป่วยวิกฤติทางอากาศของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงมีความสำคัญต่อชีวิตของประชาชน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง