ที่มาของภาพ wansuhaimee / pixabay•การจำแนกแผนตามระยะเวลาแบ่งออกเป็นแผนระยะสั้นแผนระยะปานกลางและแผนระยะยาว1 แผนระยะสั้น (short-range planning)เป็นแผนงานในรูปของกิจกรรมเฉพาะอย่างที่มุ่งหวังให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และสอดคล้องกับแผนระยะยาว โดยมากมักมีกำหนดเวลา 1 ปีหรือสั้นกว่า มักเรียก แผนประจำปี ในองค์การของราชการเรียกว่า แผนงบประมาณ โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม-เดือนกันยายนของปีถัดไป ส่วนรัฐวิสาหากิจใช้เวลาตามปีปฏิทิน คือ เดือนมกราคม-เดือนธันวาคม สำหรับภาคเอกชนไม่ค่อยมีแผน นอกจากจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ส่วนมากการผลิตและจำหน่ายสินค้าเป็นไปตามเหตุการณ์เฉพาะหน้า2 แผนระยะปานกลาง (medium-range planning)เป็นแผนที่มีระยะเวลาปฏิบัติการมากกว่า 1 ปี ตามปกติอยู่ในระยะ 3-5 ปี รัฐวิสาหกิจและราชการมีการใช้แผนระยะปานกลางในกิจกรรมขนาดใหญ่ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีระยะเวลา 5 ปี เป็นต้น3 แผนระยะยาว (long-range planning)เป็นแผนของกิจกรรมขนาดใหญ่ที่มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายฝ่ายหลายสาขา ต้องใช้กระบวนการวางแผนและการทำงานสลับซับซ้อนตลอดจนต้องใช้การศึกษาวิจัยเป็นเวลานานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป เช่น แผนสืบราชการลับ แผนพัฒนาอาวุธของทหาร แผนผลิตแพทย์และวิศวกร เป็นต้น ที่มาของภาพ wansuhaimee / pixabay•การจำแนกแผนตามระดับการบริหารประเทศการจำแนกแผนประเภทนี้ยึดพื้นที่เป็นหลักในการทำแผน ส่วนมากจะเป็นแผนของรัฐบาลหรือบริษัทขนาดใหญ่ แยกออกได้ดังนี้1 แผนระดับชาติเป็นแผนซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น นับเป็นแผนแม่บทที่สำคัญยิ่ง2 แผนระดับภาคเป็นแผนซึ่งครอบคลุมพื้นที่เฉพาะภาคใดภาคหนึ่งของประเทศ เช่น แผนพัฒนาภาคเหนือ แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เป็นต้น3 แผนระดับท้องถิ่นเป็นแผนซึ่งครอบคลุมพื้นที่เฉพาะแห่ง อาจเป็นในระดับจังหวัดหรืออำเภอเช่น โครงการสร้างงานในชนบท โครงการพัฒนากลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น ที่มาของภาพ Free-Photos / pixabay•การจำแนกแผนตามระดับขององค์การเนื่องจากองค์การเป็นระบบซึ่งมีระบบย่อยอยู่ในระบบใหญ่ เช่น องค์การระดับประเทศองค์การระดับรัฐบาล องค์การระดับกระทรวง สำหรับองค์การภาคเอกชน เช่น บริษัท ขนาดใหญ่ย่อมมีระบบย่อยเป็นสาขาของ บริษัท เป็นต้น ดังนั้นการวางแผนจึงมีตั้งแต่ระดับใหญ่จนถึงระดับย่อยซึ่งแยกออกได้ดังนี้1 แผนส่วนรวมหรือแผนแม่บทเป็นการวางแผนในระดับมหภาคขององค์การเป็นการกำหนดทิศทางขององค์การในระยะยาวหรือระยะปานกลาง เป็นแผนหลักขององค์การ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาบริษัท เป็นต้น2 แผนสาขาเป็นการวางแผนเฉพาะกลุ่มงานใหญ่หรือสาขาใหญ่ ๆ ของงาน เช่น แผนสาขาเกษตรกรรม แผนสาขาอุตสาหกรรม แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก สำหรับภาคเอกชนจะมีแผนการผลิต แผนการเงิน แผนการตลาด และแผนบุคคล เป็นต้น3 แผนงานโครงการหรือแผนปฏิบัติเป็นแผนระดับการปฏิบัติงานกำหนดกิจกรรมลงไปชัดเจนว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ใครเป็นผู้นำ และใช้เงินเท่าไร เช่น โครงการอบรมพนักงานการตลาด โครงการสัมมนาผู้ว่าราชการจังหวัด โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นต้น #อยากได้ความรู้ใหม่ๆ กรุณารอติดตามบทความต่อไป ขอบคุณครับที่มาของภาพ Wokandapix / pixabay เครดิตภาพหน้าปก StartupStockPhotos / pixbayเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !