(เครดิตภาพหน้าปก : Photo by Breakingpic from Pexels)อีเว้นท์ ออร์แกไนเซอร์(เครดิตภาพ : Photo by Abet Llacer from Pexels) ออร์แกไนเซอร์ หรือ อาชีพอีเว้นท์ ออร์แกไนเซอร์ นั้น เมื่อก่อนถ้าจะพูดถึงอาชีพนี้กับผู้ใหญ่หรือครูแนะแนวตามโรงเรียนต่าง ๆ ก็ต้องบอกว่าไม่น่าจะมีในหลักสูตรหรือที่ครูแนะนำเท่าไหร่ เนื่องจากอาชีพนี้นั้นไม่ค่อยมีคนรู้มากนัก ว่างานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เกิดจากการทำงานของอาชีพนี้ ซักเท่าไหร่ เช่น การจัดงานแต่งงาน คนส่วนใหญ่ที่รู้จักก็คือ ถ้าจะแต่งงานก็ไปหาร้านเช่าชุดสิ เดี๋ยวเค้าก็จัดให้ หรือ งานคอนเสิร์ตใหญ่ ๆ ที่จัดกัน ถ้าจะถามถึงคนจัด คนส่วนใหญ่จะรู้จักในนาม คนจัดคอนเสิร์ตซะส่วนใหญ่ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนั้น คือส่วนย่อยของอาชีพ อีเวนท์ ออร์แกไนเซอร์ กันทั้งสิ้น อีเว้นท์ ออร์แกไนเซอร์ คือ อาชีพที่จัดงานต่าง ๆ จัดการทุกอย่างให้เกิดขึ้น โดยส่วนย่อย ๆ หรืองานต่าง ๆ ในสายอาชีพนี้ มีตั้งแต่การจัดคอนเสิร์ต , การจัดงานแต่งงาน , งานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ , การจัดงานอีเว้นท์รื่นรมย์ทั่วไป หรือแม้กระทั่งการจัดบูธชงชิมก็ตาม (จริง ๆ มีงานย่อย ๆ อีกหลายประเภทมาก ๆ ถ้านำมาบอกทั้งหมดคงจะยาวเลย) สำหรับหลาย ๆ คนที่อยากมาทำอาชีพนี้นั้น เพราะดูเป็นอาชีพที่น่าสนุกมาก ๆ แต่ก่อนอื่นเลย ควรมี 5 ข้อนี้ก่อน ไม่อย่างนั้น อาชีพนี้อาจจะไม่ได้สนุกเหมือนที่คิด1. ทักษะส่วนตัว(เครดิตภาพ : https://pixabay.com/images/id-3641630/) ทักษาะส่วนตัวที่กล่าวมานั้น จริง ๆ ในทุก ๆ อาชีพควรมีติดตัวไว้ แต่อาชีพ อีเว้นท์ ออร์แกไนเซอร์นี้ มันจำเป็นมาก ๆ เพราะถ้าคุณใช้ทักษะส่วนตัวได้ดี จะทำให้การทำงานนั้นราบรื่นและประสบผลสำเร็จแน่ ๆ 1. การพูด / การเจรจาต่อรองเนื่องจากเป็นอาชีพที่ติดต่อกับบุคคลหลายส่วนมาก ๆ ดังนั้นการมีทักษะการพูดที่ดี จะทำให้การติดต่อกลายเป็นเรื่องง่ายดายเลย ยกตัวอย่างเช่นตำแหน่ง SALE หรือ AE ของอาชีพ อีเว้นท์ ออร์แกไนเซอร์นั้นจำเป็นต้องติดต่อลูกค้า อธิบายงาน เสนองาน อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการพูดจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ในการทำให้งานของเราขายผ่านได้โดยไว2. ความสามารถในการใช้โปรแกรมพื้นฐานความสามารถนี้ควรมี เพราะงานส่วนใหญ่ ก่อนที่จะเริ่มทำงานจริงจะมีขั้นตอนของ Pre-Production ซึ่งต้องใช้โปรแกรมในการทำงาน ซึ่งถ้าหากคุณมีพื้นฐานที่ดีแล้วนั้น จะทำให้การทำงานกับบุคคลอื่น ๆ ทำได้ค่อนข้างดี และ ผลงานที่ออกมาทำได้สะดุดตาเลย ยกตัวอย่างเช่น ตำแหน่ง Creative ถ้าหากคุณมีความสามารถในโปรแกรม Power Point หรือ Key note ได้ดีแล้วนั้นการทำ Presentation งานออกมาให้ลูกค้าสนใจงานของคุณ ก็จะทำให้ Sale ขายงานผ่านได้อย่างรวดเร็ว 3. ความอดทนความสามารถนี้ เป็นส่วนที่ผู้เขียนรู้สึกว่าจำเป็นมาก ๆ เพราะงาน อีเว้นท์ ออร์แกไนเซอร์นั้น ต้องทำงานนอกสถานที่เกือบ 90% ของงานเลยทีเดียว หากคุณไม่มีความอดทน ก็ต้องบอกว่างานนี้อาจจะไม่เหมาะกับคุณได้เลย2. อ่อนน้อมถ่อมตนBusiness photo created by pressfoto - www.freepik.com" />(เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-photo/elegant-director_5399559.htm#page=1&query=polite&position=3) การอ่อนน้อมถ่อมตนนั้น จริง ๆ ควรมีในทุกสายงาน แต่สำหรับอาชีพ อีเว้นท์ ออร์แกไนเซอร์นั้น ควรมีให้มาก ๆ เพราะการติดต่อกับบุคคลอื่น ๆ หลาย ๆ ฝั่งนั้น ถ้าเรามีข้อนี้ในตัว มันจะทำให้ทุกคนชื่นชอบเราและทำงานให้กับเราอย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างเช่น ในตำแหน่ง Project Coordinator ที่ต้องติดต่อกับ Supplier เพื่อให้มาทำงานในงานอีเว้นท์ของเรา ซึ่ง Supplier ส่วนใหญ่นั้น แก่และโตกว่าเราทั้งนั้น มีประสบการณ์ในสายงานอาชีพนี้มาก่อนเราทั้งนั้น ดังนั้นเราจึงควรอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไว้ สุดท้ายแล้วเราสั่งงานไปแค่ 10 เขาอาจจะทำมาให้เราเพิ่มเติมโดยที่เราไม่ต้องเสียเงินเพิ่มหรือขอร้องเพิ่มเลยก็ได้ การอ่อนน้อมถ่อมตน อาจจะรวมถึงการไม่โอ้อวดตัวเองด้วย เพราะถ้าเราไม่มีความรู้จริงและไปโอ้อวดต่อหน้าคนที่อาจจะมีความรู้เรื่องนี้ และ มีประสบการณ์เรื่องนี้มากอยู่แล้ว เราอาจจะกลายเป็นคนที่แย่ในสายตาของเขาเลยก็ได้ (เตือนด้วยความหวังดี เพราะมันมีจริง ๆ นะ จากประสบการณ์ส่วนตัว)3. พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา(เครดิตภาพ : https://pixabay.com/images/id-4229622/ ) เนื่องจากงานอีเว้นท์ เป็นงานที่ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากคุณเป็นคนที่พร้อมจะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลามันจะสามารถทำให้คุณพัฒนาศักยาภาพได้ดีมาก และ ทำได้ตลอดเวลา เช่น การนัดเจอ Supplier Lighting ระบบไฟต่าง ๆ หากคุณไปกับหัวหน้าแล้วเขาสั่งงานชิ้นนั้น ๆ มา แต่คุณดันไม่เข้าใจเลย สาเหตุอาจจะเป็นเพราะคุณยังใหม่ และในอุปกรณ์ระบบไฟในงานอีเว้นท์นั้น มีชื่อเรียกเยอะมาก ๆ ดังนั้นหากเป็นคนที่ไม่พร้อมเรียนรู้อาจจะงงอยู่ตรงนั้น แต่ลองคิดอีกซักนิด ลองเดินไปถามพี่ ๆ ทีมนั้น ๆ แค่ลองเข้าไปถามแล้ว ได้คำตอบมาอาจจะเป็นเกล็ดความรู้ใหม่ให้ได้ไปใช้ประโยชน์ในอนาคตก็ได้4. ยืดหยุ่น / รับได้ทุกสถานการณ์ (เครดิตภาพ : https://pixabay.com/images/id-791849/) ในงานอีเว้นท์นั้น ถ้ามีคนบอกว่า " งานอีเว้นท์ที่ฉันทำมาทั้งหมด ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ฉันเตรียมงาน 100% งานเหมือนที่ฉันเตรียม 100% เป๊ะเลย ! " ให้เชื่อว่าเขากำลังหลอกคุณ เพราะงานอีเว้นท์นั้น ไม่ว่าคุณจะเตรียมงานมา 100 หรือ 200% แล้วก็ตาม ภายในงานจะมีบางอย่างที่เกิดขึ้น อาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ต้องมีสิ่งที่จะต้องแก้ไขสถานการณ์หน้างานตอนนั้น ด่วน ๆ แน่นอน เพราะงานเป็นงานที่เกิดขึ้นแบบสด ๆ ตลอดเวลา มันสามารถเกิดปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้น การที่คุณเป็นคนยืดหยุ่น หรือ สามารถรับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดีแล้วละก็ ปัญหามันจะสามารถแก้ไขได้โดยที่ลูกค้าของเรายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า "เอ๊ะ! มีปัญหาเกิดขึ้นหรอ ?"5. งานไม่เป็นเวลา(เครดิตภาพ : Photo by Bich Tran from Pexels ) งานอีเว้นท์ อย่างที่ทุกคนทราบกัน วันหยุดของคนอื่นคือ วันทำงานของเรา เวลานอนของคนอื่นคือ เวลาทำงานของเรา งานอีเว้นท์เป็นงานที่เวลาการทำงานนั้น ไม่เป็นเวลาเอาซะเลย บางบริษัทอาจจะมีการกำหนดการเข้าทำงาน 09.00-18.00 น. บ้าง หรือ 10.00-19.00 น. บ้างแต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น กว่าจะได้กลับกันคือ 22.00 น. หรือช่วงไหนที่มีการเตรียมงานก่อนวันจริง บอกลาการกลับบ้านนอนไปได้เลย โดยเฉพาะฝ่ายที่เป็น Project หรือ Project Coordinator ที่จะต้องอยู่ Set up ให้เสร็จก่อนห้างเปิด นั้นหมายความว่าเวลาทำงานของคุณคือ 22.00-08.00 น. นะจ๊ะ (บริษัทอีเว้นท์ส่วนใหญ่ไม่มี OT เด้อ) เพราะฉะนั้นใครเป็นสายที่ ฉันต้องทำงาน เข้าตรงเวลา ออกตรงเวลา หรือ ฉันต้องนอนก่อน 22.00 น. บอกได้เลยว่าสายอาชีพนี้ ไม่เหมาะกับคุณแน่นอน อีเว้นท์ ออร์แกไนเซอร์ อาจจะเหมาะกับใครหลาย ๆ คนเพราะเป็นอาชีพที่อยู่กับความสนุกตลอดเวลา เป็นอาชีพที่ได้ทำอะไรหลาย ๆ อย่างไม่ซ้ำกันเลย ได้เดินทางตลอดเวลา เจอเรื่องใหม่ ๆ และปัญหาใหม่ ๆ ตลอดเวลา ถือเป็นความสนุกอีกรูปแบบหนึ่งในชีวิต ถ้าคุณสมบัติของคุณครบ และ ที่กำลังพยายามพัฒนาตัวเองให้ครบ เพื่อได้เป็นส่วนหนึ่งในวงการนี้ ขอให้คุณตั้งใจทำมันออกมาให้ดี เพื่อพัฒนาวงการนี้ให้ยิ่งใหญ่ ต่อไปนะครับ (เครดิตภาพ : Photo by Wendy Wei from Pexels)สุดท้ายนี้ ถ้าใครอยากจะทำงานด้านนี้ มีตำแหน่ง ๆ คร่าว ๆ มาบอกกันนะเผื่อบางคนยังไม่รู้ว่าชอบอะไร Creative : คนที่คิดธีมงาน ภาพรวมของงานทั้งหมด รวมถึงทำ Presentation เสนอลูกค้าSale / AE : คนที่ติดต่อประสานงานลูกค้า หาลูกค้า และ Present ต่อลูกค้าProject / Project Co : คนที่ทำสิ่งที่ Creative คิดออกมาให้เป็นของจริง Graphic Design : คนที่ออกแบบภาพรวมของงานทั้งหมด โดยใช้ Program และ แนวคิดจาก Creative