“ขลุ่ย” เครื่องดนตรีประเภทเป่าที่ทุกคนคงรู้จักและเคยได้ฟังเสียงมาบ้างแล้ว เสียงที่กังวานใสบ้างหวานแหบแต่โดยรวมแล้วมีเสน่ห์สามารถสะกดผู้ฟังได้เป็นอย่างดี ขลุ่ยนั้นสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ1. ขลุ่ยประเภทเป่าข้างหรือขลุ่ยผิวที่ผู้เป่าต้องเป่าจากด้านข้าง ขลุ่ยที่วางในแนวขนานกับใบหน้า ได้แก่ ขลุ่ยผิว DIZI (ขลุ่ยผิวจีน) ขลุ่ยผิวอินเดีย และฟลุต ขลุ่ยผิวเป็นขลุ่ยที่ต้องใช้ทักษะการบรรเลงชั้นสูง ควบคุมลมได้ยากภาพจากunsplash.com2. ขลุ่ยเป่าตรงที่ผู้บรรเลงต้องเป่าลมจากด้านหลังหรือปลายอีกด้านของท่อขลุ่ย อันได้แก่ ขลุ่ยญี่ปุ่น ขลุ่ยเซียว และขลุ่ยไทย ขลุ่ยประเภทนี้เป่าง่ายจึงเป็นที่นิยมในปัจจุบันภาพจากpixabay.comขลุ่ยไทยมีหลากชนิดหลากประเภทแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ แต่ที่นิยมบรรเลงและยังสามารถหาได้ในปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิด คือ1. ขลุ่ยหลิบหรือขลุ่ยหลีบภาพจากpixabayขลุ่ยหลิบเป็นขลุ่ยขนาดเล็กและให้เสียงแหลมกังวานใสที่สุดในบรรดาขลุ่ยที่ใช้บรรเลงร่วมวง มีขนาดความยาวสูงสุด 35 เซนติเมตร กว้างเพียง 2 เซนติเมตร มีรูบังคับเสียงด้านบน 7 รู รูบังคับเสียงด้านล่าง 1 รู ให้เสียงที่สูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 3 ระดับเสียง นิยมใช้บรรเลงในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องสายปี่ชวา เครื่องสายเครื่องคู่ เป็นต้น ทั้งยังนิยมนำไปบรรเลงในเพลงพื้นบ้านภาคเหนืออีกด้วย2. ขลุ่ยเพียงออภาพจากunsplash.comขลุ่ยเพียงออเป็นขลุ่ยที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีเสียงกังวานใสสามารถเล่นเสียงสูงใสและต่ำทุ้มได้ มีขนาดความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร กว้าง 2.5 เซนติเมตร มีรูบังคับเสียงเท่ากันกับขลุ่ยหลิบ นิยมใช้บรรเลงใน วงมโหรี วงเครื่องสายไทย วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์ไม้นวม และใช้บรรเลงในเพลงไทยลูกทุ่ง ปัจจุบันขลุ่ยเพียงออได้รับความนิยมในทุกภูมิภาคของไทย3. ขลุ่ยอู้ภาพจากunsplash.comขลุ่ยอู้นั้นเป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาขลุ่ยไทย ให้เสียงทุ้มต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออ 3 เสียง มีรูบังคับเสียงด้านบนเพียง 6 รู รูบังคับเสียงด้านล่างอีก 1 รู ในด้านมิติขลุ่ยนั้นมีความยาว 50 – 60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร ปัจจุบันขลุ่ยชนิดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยม จะมีใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ส่วนวัสดุที่นำมาทำขลุ่ยนั้น ในอดีตนิยมใช้ไม้ไผ่รวก และไม้เนื้ออ่อนชนิดอื่นเนื่องจากไม่มีเครื่องมือประเภทสว่านที่เที่ยงตรงพอจะเจาะไม้เนื้อแข็งได้ แต่ในปัจจุบันวิทยาการทางเทคโนโลยีเครื่องจักรกลก้าวหน้าไปมาก วัสดุทำขลุ่ยจึงนิยมใช้แก่นไม้เนื้อแข็ง เช่น แก่นไม้พยุง แก่นไม้ชิงชัน แก่นไม้ประดู่ แก่นไม้สาทร เป็นต้น ในบางครั้งก็มีการประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยด้วยการนำเอาท่อพลาสติกหรือPVC มาทำเป็นขลุ่ยด้วยเช่นกันภาพจากpixabay.comเครื่องดนตรีทุกชนิดมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาคุณภาพเสียงและตอบสนองต่อความต้องการฟังเพลงในรูปแบบใหม่ ๆ ของผู้ฟัง ขลุ่ยไทยก็จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพเช่นกัน ขลุ่ยไทยในปัจจุบันนี้มีการพัฒนาให้ระดับเสียงมีความเป็นสากลมากขึ้น ทำให้สามารถใช้บรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสากลได้อย่างกลมกลืน ทั้งนี้ขลุ่ยไทยจะยังคง “สืบเสียงสานศิลป์” ต่อไปได้ก็จำเป็นที่ต้องอาศัยเหล่าอนุชนคนไทยที่จะรักษาและสืบสานขลุ่ยไทยต่อไป อย่ารอให้ขลุ่ยไทยเป็นเพียงเรื่องเล่าในบทความขอบคุณภาพปกจากpixabay.com