เครดิตภาพ Pixabay พายุทอร์นาโดคือปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน เกิดจากลมร้อนและลมเย็นโคจรมาเจอกัน และเมื่อลมหมุนในระดับไม่คงที่ ทำให้ปลายด้านหนึ่งมาสัมผัสที่พื้น ส่วนมากจะเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกาครับ เพราะภูมิประเทศนั้นเอื้อต่อลมร้อนและลมเย็นให้มาเจอกันครับ ซึ่งจะไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งบนผืนดิน และในท้องทะเล แม้จะไม่สร้างความเสียหายเท่าและกินเวลาในการสร้างความเสียหายเฮอร์ริเคน แต่ก็เกิดโดยไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า อพยพไม่ทัน นอกจากว่าบ้านไหนที่มีที่หลบภัยใต้ดิน ถึงจะมีโอกาสรอด โดยปกติแล้วจะเกิดขึ้นโดยใช้เวลา 15 -20 นาที บางกรณีแย่หน่อยก็มากกว่า 1 ชั่วโมง แต่นอกจากพายุทอร์นาโดแบบลมหมุนที่เกิดช่วงฟ้าคะนองปกติ ก็จะมีบางกรณีที่มันมีไฟลุกขึ้นมาในพายุครับ อาจเกิดจากการพัดมาพบกับไฟป่า ทำให้ความเร็วลมหมุนถึง 169 กิโลเมตร/ชั่วโมง เครดิตภาพ Pixabay โดยความรุนแรงของพายุทอร์นาโดจะแบ่งความรุนแรงตามระดับ ดังนี้ 1. ระดับ F0 ความเร็วลม 40 - 72 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเสียหายที่เกิดได้เช่น กิ่งไม้หัก ต้นไม้ล้ม 2. ระดับ F1 ความเร็วลม 73 - 112 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเสียหายที่เกิดได้ เช่น หลังคาบ้านหลุด 3. ระดับ F2 ความเร็วลม 113 - 157 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ เช่น ต้นไม้ใหญ่ ๆ จะหลุดออกแบบถอรากถอนโคน สิ่งของปลิว 4. ระดับ F3 ความเร็วลม 158 - 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ รถยนต์พลิกคว่ำ หลังคาบ้านที่แข็งแรงหลุดออกมา ต้นไม้ในป่าหลุดเกือบหมด แทบจะเป็นหน้ากลอง รถที่มีขนาดหนัก ๆ สามารถลอยขึ้นจากพื้นได้เลย 5. ระดับ F4 ความเร็วลม 207-260 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ บ้านที่มีความแข็งแรง สามารถหลุดได้ทั้งหลัง บ้านที่โคงสร้างไม่แข็งแรงหลุดออกมาทั้งยวง 6. ระดับ F5 ความเร็วลม 261 - 320 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ เข้าใจง่าย ๆ ไม่มีอะไรเหลือเลยครับ วันนี้ผมเลยหยิบยก 5 ทอร์นาโดที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์มาครับ เครดิตภาพ Pixels อันดับที่ 5 ที่รัฐ Wisconsin ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1899 เป็นโชคร้ายของผู้คนในเมืองนี้มาก ๆ เพราะในเมืองมีการเปิดแสดงละครสัตว์ วันเดียวกันกับที่มีพายุพอดี ซึ่งความรุนแรง กวาดพาเอาบ้านเรือนกว่า 300 หลัง พังพินาศไปในพริบตา มีประชากรเสียชีวิตไปประมาณ 117 คน เครดิตภาพ Pixels อันดับที่ 4 ที่รัฐ Louisiana ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1908 เป็นพายุที่เกิดขึ้นเฉียบพลันในช่วงปลายเดือนเมษายน มีประชากรเสียชีวิตไปประมาณ 121 คน บาดเจ็บ 315 คน กินพื้นที่ความเสียหายยาวกว่า 165 ไมล์ เครดิตภาพ Freepik อันดับที่ 3 ที่รัฐ Mississippi ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1936 ทำลายบ้านเรือนไปกว่า 300 กว่าหลังตาเรือน มีผู้เสียชีวิตกว่า 180 คน อันดับที่ 2 ที่รัฐ Oklahoma ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1947 พายุลูกนี้เริ่มก่อตัวในเท็กซัส ความเร็วอยู่ที่ 169 กิโลเมตร/ชั่วโมง และไปสิ้นสุดที่ รัฐโอคลาโฮมา ในวันที่ 9 เมษายน ปี1947 โดยก่อนที่พายุลูกนี้จะพัดมาถึงปลายทางรัฐโอคลาโฮมา ได้พรากชีวิตประชากรชาวเท็กซัสไปกว่า 100 คน และเมืองถึงปลายทาง มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 คน และบาดเจ็บมากกว่า 1,000 คน บ้านเรือนพังพินาศราบเป็นหน้ากลอง เครดิตภาพ Pixabay อันดับที่ 1 ประเทศบังกลาเทศ เป็นพายุลูกประวัติศาสตร์ที่ทั้งใหญ่ ทั้งยาว เกิดขึ้นในปี 1989 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,300 คน มีความเร็วแล้วแรงในระดับ F5ในอาณาเขตกว้างกว่า 6 กิโลเมตร ในบริเวณที่พายุพัดผ่าน ความเสียหายที่สุดจะบรรยายครับ ต้นไม้ต้นน้อย ต้นใหญ่ โดนถอนรากถอนโคน บ้านเรือนพังพินาศราบเป็นหน้ากลองทั้งหมด ถือว่าประเทศไทยยังโชคดีนะครับ ที่ไม่มีพายุแบบนี้ เพราะถ้าเกิดขึ้น กว่าประเทศเราจะใช้เวลาฟื้นฟูได้ พายุลุกใหม่ก็คงมาพอดี 555 ส่วนพวกประเทศสหรัฐอเมริกา เค้าจะประสบเหตุกันบ่อยจนชิน แต่ก็ไม่มีใครต้องการให้เกิดความเสียหายแบบนี้แน่นอนครัย เพราะมันทำลายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และฝังเหตุการณ์สะเทือนใจไว้ไปตลอด