หนังสือ "How to be Better at (Almost) Everything" ของ Pat Flynn ได้ถูกเผยแพร่ในปี 2019 และมันบอกวิธีที่จะกลับมาเป็นคนที่ดีขึ้นในเรื่องทุกอย่างเกือบทุกอย่าง. สำหรับผู้เขียน, คนทั่วไปคือคนที่เก่งในอะไรก็ตามต่าง ๆ ไม่เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคนเก่งที่สุดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดย Pat Flynn เป็นนักเขียน, นักปรัชญา, นักดนตรี, และนักธุรกิจโดยเขาให้บริการในการให้คำปรึกษาทางธุรกิจออนไลน์และเป็นผู้ฝึกออกกำลังกายส่วนตัว ตัวเขายังเป็นผู้เขียนหนังสือ 4 เล่ม โดยหนึ่งในนั้นเขาเขียนไว้สำหรับลูกของเขา และเล่มอื่น ๆ เป็นหนังสือขายดี นอกจากนี้เขายังเป็นผู้เขียนของรายการพอดคาสต์ "The Pat Flynn Show" ที่เขาสอนเกี่ยวกับการมีทักษะรอบด้านหรือ Generalism ซึ่งเป็นหัวข้อหลักของหนังสือนี้ "รีวิวและสรุป"ในช่วงแรกของหนังสือจะมีสิ่งที่น่าสนใจคือการยกประเด็นของ Skill stacking กับ Specialization คือการมีทักษะหลายอย่างกับการเป็นเลิศด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งอธิบายผ่านมุมมองและประสบการณ์จริงของตัวนักเขียนอย่าง Pat Flynn เอง นำมาซึ่งการนำเสนอแง่มุมต่อยอดไปถึง Generalist กับ Specialist ที่อาจจะเปลี่ยนมุมมองของคนหลาย ๆ คน รวมถึงตัวผมเองด้วยเพราะว่าหนังสือค่อนข้างอวยในเรื่องของ Skill stacking เลยได้เห็นความคิดอีกด้านหนึ่ง ซึ่งในบทแรกจะเน้นการเล่าถึงความเจ๋งของการเป็น Generalist ผ่านการเติบโตในรั้วโรงเรียนมัธยมจวบจนเข้ามหาลัยของตัว Pat Flynn ที่จะทำให้เห็นความแตกต่างย่างมีนัยสำคัญของทั้ง 2 สิ่ง แล้วการเป็น Generalist นั้นดียังไง เป็นแล้วเจ๋งแบบไหน ทำไมคนถึงเชิดชูนักหนา ทำไมผู้คนถึงต้องการตัว ถ้ามันดีขนาดนั้นแล้วเราจะเป็นมันได้อย่างไร นำมาซึ่งสิ่งที่เป็นเนื้อหาหลัก ๆ ในบทต่อไปจะมีอยู่ในบทที่ 3 เป็นต้นไปนั่นคือ Becoming an Expert Generalist : 5 key principles ซึ่งได้แก่1. Skill Stacking > Specialization2. Short-Term Specialization3. The Rule of 80 Percent4. Integration > Isolation5. Repetition and ResistanceSkill Stacking > Specializationตามสถิติแล้วผู้คนจะพยายามการที่จะเป็นเลิศด้านใดด้านหนึ่งซึ่งต้องแลกด้วยเงื่อนไขมากมาย ไม่ว่าทางกาย และทางใจ สุดท้ายก็สูญเสียความสุขไป ผู้เขียนกำจะสื่อว่าแท้จริงแล้วทักษะบางอย่างจะส่งเสริมทักษะอีกอย่างได้ ซึ่งการผสมผสานทักษะหลากหลายมีพลังมากกว่าทักษะเดี่ยว นอกจากเรียกรู้ทักษะเเล้ว เราต้องเรียนรู้ที่จะผสมผสานมันเข้าด้วยกันShort-Term Specializationเป็นการยากที่จำหลายสิ่งพร้อม ๆ กันและจะเกิดความเครียดได้ จึงต้องผ่อนสิ่งใด สิ่งหนึ่งลง เพื่อสร้างสิ่งหนึ่งขึ้นมา เรียกว่า “Opportunity cost” คือการเสียสละบางอย่างเพื่อแลกมาซึ่งสมาธิที่จะจดจ่อกับอีกสิ่ง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพคือการฝึกสมาธิที่หากเราเสียสละเวลาเล่นกีต้ามาทำสมาธิ วันละ 5 นาที ไปเรื่อย ๆ จะเห็นได้ว่าเรามีสมาธิมากขึ้นเครียดน้อยแถมยังจดจ่อกับการเล่นกีต้าได้ดีขึ้นThe Rule of 80 %ในกฎนี้สามารถพูดได้เลยว่าเป็นกฎของ Generalist คือเราเก่งเกิน Average ของทักษะนั้นเช่นคนทั่วไปอาจอยู่ที่ 50% เราไม่จำเป็นต้องมีทักษะ 100 % เพราะว่า ทักษะมากกว่า 80% มักจะเป็นอะไรที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากและบงทีไม่คุ้มค่าพอ ดังนั้นเราฝึกฝนทักษะแค่ 80 % พอแล้วเอาเวลาไปผสมผสานกับทักษะอื่นดีกว่าIntegration > IsolationIntegration > Isolation นั้นีความคล้ายกับกฎ 80/20 หรือ การกำหนดขอบเขตที่แคบที่สุด การเน้นเอาสิ่งที่ต้องการ ดั่งเช่น คาราเต้มีท่าเตะ 1000 ท่า แต่เพื่อที่จะเป็นสุดยอดนักคาราเต้และล้มคู่แข่งได้ ไม่จำเป็นต้องเรียนทุกท่า เพียงแค่ 10 ท่า ก็พอ มันคือการคัดเอาสิ่งที่สำคัญจริง ๆ เพื่อนำเราไปสู่เป้าหมาย เพื่อกระจ่างยิ่งขึ้น Integration = การทำบางสิ่งในบริบทที่ถูกต้องและควรจะเป็นที่ถูกทางตามที่ตั้งใจไว้ กลับกัน Isolation = คือทำบางสิ่งด้วยตัวเองคนเดียวซึ่งดีแต่บางครั้งกลับไม่สร้างความคืบหน้าใด ๆ ซึ่งการที่รู้ Integration จะรู้ว่าต้อง Isolate เมื่อใดและอย่างไรนั่นเอง Repetition and Resistance ข้อนี้ค่อนข้างเข้าใจง่ายแต่ปฏิบัติตามยากคือ หากคุณต้องการพัฒนาสิ่งดไม่ว่าจะเป็นกล้าเนื้อหรือสมอง คุณจะต้องเพิ่มความยาก ความท้าทาย เพิ่มความโหด เข้าไป แน่นอนคุณจะทำสิ่งนั้นได้แย่ลงเพราะมันยาก แต่คุณจะพัฒนาและเก่งขึ้น และทั้งหมดนี้ต้องอาศัย วินัย แรงจูงใจ สมาธิ ตรรกะ และ ศรัทธา ซึ่งตัวหนังสือนี้ดีมากมีวิธีปฏิบัติและเช็คลิสต์ให้คุณได้ปฏิบัติตาม และถึงบททสุดท้ายก็มีแนะนำทักษะที่คิดว่าจำเป็น (พวก Meta skill) หากใครสนใจก็อ่านเก็บไว้เผื่อได้ใช้อีกด้วยอีกทั้งยังมีช่อง pod cast กับ channel youtube ด้วยเผื่อใครสนใจก็ไปติดตามได้ ภาพประกอบที่ 1 จาก นักเขียนภาพประกอบที่ 2 Pat Flynn (@PatFlynn) / X (twitter.com)ภาพประกอบที่ 3 Pat Flynn - YouTube7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์