ก่อนอื่นผมต้องกราบขออภัยผู้ติดตามบทความกฎหมายของผมเมื่อหลายเดือนก่อน ที่ผมอธิบายผิดเนื่องด้วยผมเองอาจจะยังไม่ค่อยได้ใช้สมองมาเกือบ 2 ปีหลังฟื้นจากโรคหลอดเลือดในสมอง หรือข้อกฏหมายดังจะอธิบายต่อไปหลอกผมเอง เพราะคำว่า “นิติบุคคล” ในสองกฎหมาย ได้แก่ ประมวลแพ่งและพาณิชย์ กับ ประมวลรัษฎากรที่กฎหมายทั้งสองฉบับได้กล่าวถึงคำดังกล่าวเหมือนกัน แต่มีวิธีใช้ที่ต่างกัน กล่าวคือ นิติบุคคลตามประมวลแพ่งและพาณิชย์คำว่า นิติบุคคล หมายถึง บุคคลสมมุติในสายตาของกฎหมาย อาทิ บริษัท ห้างหุ้นส่วน ซึ่งจะตรงข้ามกับบุคคลธรรมดา จึงน่าจะหมายถึง เรา ๆ ท่าน ๆ นั่นเองเหตุผลในการกำหนดให้องค์กรณ์ธุรกิจเป็นบุคคลสมมุติ(ตามกฎหมาย) เพื่อให้องค์กรธุรกิจดังกล่าวมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดตามกฎหมาย เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพ (ของตัวนิติบุคคลเอง) เช่น บริษัทสามารถซื้อ ขาย-เช่าทรัพย์สิน ได้ดุจสิทธิที่คนธรรมดาอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ มีสิทธิ แต่บางกรณี เช่น สิทธิการเลือกตั้ง การได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น นิติบุคคลย่อมไม่สามารถมีได้ มิฉะนั้น เรา ๆ ท่าน ๆ คงตกตะลึงที่จะเห็นตึกเดินมาลงคะแนนเลือกตั้ง ไม่ขนลุกก็วิ่งหนีสุดชีวิต และที่สำคัญนิติบุคคลจะมาแสวงสิทธิขอรับเงิน 5,000 บาท ก็คงดูแปลกมาก อย่างที่อธิบายไว้เบื้องต้น คือ บุคคลสมมุติย่อมมีสิทธิและหน้าที่เท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพของตัวเอง นี่จึงนำไปสู่เรื่องหน้าที่/ความรับผิดตามกฎหมายที่อาจแตกต่างกัน กรรมการ ผู้อ่านบางท่านอาจจะถามว่า ในเมื่อนิติบุคคลไม่มีสภาพบุคคลธรรมดา แล้วนิติบุคคลจะเข้ามารับผิดชอบอย่างไร กฎหมายกำหนดให้ “ผู้แทนนิติบุคคล” เข้ามาทำหน้าที่ในจุดนี้ เช่น บริษัท จะมีกรรมการ ทำหน้าที่แทนนิติบุคคล มิใช่ผู้ถือหุ้น ตามที่บางท่านเข้าใจ จำนะครับ ผู้แทนบริษัท คือ กรรมการ ไม่ใช่ผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นเจ้าของอนึ่ง กรรมการบริษัทที่ทำไปในขอบอำนาจของตนย่อมผูกพันธ์บริษัทโดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่าง บริษัทต้องการซื้อรถยนต์เพื่อใช้ประกอบธุรกิจ มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเห็นบริษัทไปลงนามเองเพื่อซื้อรถยนต์ แต่กรรมการบริษัทจะทำหน้าที่แทนเอง ในกรณีนี้ กรรมการที่เป็นบุคคลธรรมดา จะนำเงินของบริษัท (นิติบุคคล) ไปซื้อรถยนต์เป็นชื่อบริษัท ไม่ใช่ในนามตัวเอง ส่งผลให้สัญญาซื้อขายผูกพันธ์ระหว่าง ผู้ขาย (ศูนย์รถยนต์) และ ผู้ซื้อ (บริษัท) แม้ว่าคนที่ลงนามในสัญญาจะเป็นกรรมการก็ตาม แต่ถือเสมือนว่าบริษัทเข้าผูกพันในสัญญาเพราะคณะกรรมการทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนอย่างไรก็ดี เมื่อนิติบุคคล เช่น บริษัท อาจก่อให้เกิดความเสียทางแพ่ง เช่น ผิดสัญญา ปลดพนักงาน/ลูกจ้าง (เลิกจ้างอาจไม่เป็นธรรม) ทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก อาจเกิดคำถามว่าจะต้องรับผิดอย่างไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักไว้ว่า “นิติบุคคล” อาจรับผิดทางแพ่งแบบจำกัดหรือไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับว่าเป็นนิติบุคคล (องค์กรธุรกิจ) ประเภทใด เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน กฎหมายให้ความรับผิดทางแพ่ง แบบไม่จำกัด กลับกันหากเป็นองค์กรณ์ธุรกิจที่มีคำว่า “จำกัด” อาทิ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัท มหาชนจำกัด เป็นต้น เหล่านี้จะต้องรับผิด (ทางแพ่ง) แบบจำกัด ซึ่งเราสามารถขอตรวจสอบเอกสารจากกระทรวงพาณิชย์ได้ ว่าองค์กรธุรกิจแต่ละประเภทมีความรับผิด(ทางแพ่ง)อย่างไร ภาษี แต่ถ้ากล่าวถึง ภาษีเงินได้ นั้นก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่า ภาษีเงินได้ใช้ กฎหมายคนละฉบับกับความรับผิดทางแพ่ง หรือที่เราคุ้นเคยกับกฎหมายภาษีที่ชื่อ “ประมวลรัษฎากร” เมื่อใช้กฎหมายคนละชนิด เราสามารถอนุมานได้ว่า ความรับผิดย่อมต่างกันไปด้วย ในมุมของภาษี “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” (องค์กรณ์ธุรกิจประเภทหนึ่ง) ให้เสียภาษีเฉกเช่น บุคคลธรรมดา อ้างอิง ตาม https://bit.ly/2xBmliq แต่ผมขอย้ำว่า “ความรับผิดทางกฎหมาย” ที่ต่างชนิด/ประเภทกันให้ศึกษากฎหมายประเภทนั้น ๆ เช่น ประมวลรัษฎากรให้ห้างหุ้นส่วนสามัญ แม้จะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เสียภาษีในกรณีเดียวกับบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎร แต่ไม่ได้แปลว่า ตัวห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวจะเป็นบุคคลธรรมดา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ผิดนะ เพื่อไม่ให้สับสนผมขอสรุปว่า หากเป็นความรับผิดทางแพ่ง โปรดดูประมวลกฏหมายแพ่ง-พาณิชย์ แต่ถ้าเป็นความรับผิดทางภาษีโปรดดูประมวลรัษฎากร ยกตัวอย่างประกอบ/โจทย์ปัญหาห้างหุ้นส่วนสามัญ ก. ผิดสัญญากับนาย A กรณีนี้พิจารณากฎหมายแพ่ง-พาณิชย์ ไม่ดูประมวลรัษฎากรเลย แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนดังกล่าวมีหน้าที่ยื่นเสียภาษีแบบ “บุคคลธรรมดา” ทว่าแบบ/วิธีการยื่นภาษีไม่ทำให้ตัวองค์กรธุรกิจดังกล่าว กลายสถานะ/สภาพตามกฎหมายอีกประเภท จำนะครับว่า “ต้นทุนทางกฎหมาย” มันสูงดังนั้นมีปัญหาข้อกฎหมาย โปรดปรึกษานักกฎหมายไม่ใช่สื่อออนไลน์ มิเช่นนั้น คณะนิติศาสตร์คงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปอนึ่ง ภาพปก Cr: by Daniel Chen from https://bit.ly/2y3yL2w)และภาพที่ 1 นิติบุคคล (Cr: by evening_tao from https://bit.ly/2Kichxl)ภาพที่ 2 กรรมการ (Cr: by yanalya from https://bit.ly/2VlTxTP)ภาพที่ 3 ภาษี (Cr: by Inactive account – ID 905513 from https://bit.ly/2KivPBV)