การเลี้ยงปลาหมอแปลงเพศ เป็นอีกอาชีพที่หลายคนสนใจ เป็นปลาที่มีคนนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทอด ปิ้ง แกง ต้ม หรือจะทำเป็นปลาแดดเดียวก็อร่อย อีกทั้งยังแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ปลาหมอแปลงเพศเป็นปลาที่ได้รับฮอร์โมนแปลงเพศจากเพศผู้เป็นเพศเมียหรือเรียกอีกย่างว่าการทำหมันปลา ซึ่งทำให้ปลาโตเร็ว มีน้ำหนักและมีเนื้อมาก ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ ปลาหมอแปลงเพศเป็นปลาที่โตเร็วกว่าปลาน้ำจืดชนิดอื่น เลี้ยงเพียง 4-5 เดือนก็จะได้ปลาหมอไซส์ 6-7 ตัว/กิโลกรัม สามารถจับขายได้ในราคากิโลกรัมละ 100-150 บาท/กิโลกรัมการเลี้ยงปลาหมอแปลงเพศ แนะนำให้เลี้ยงในบ่อดิน เพราะบ่อดินสามารถสร้างอาหารธรรมชาติได้ดีกว่าบ่อปูนหรือบ่อผ้าใบ ขนาดของบ่อที่ใช้เลี้ยงปลาหมอส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ 1-3 งาน ความลึกประมาณ 1.5-2.0 เมตร และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง การเตรียมบ่อ บ่อเก่าต้องสูบน้ำออกให้แห้ง หว่านปูนขาว 150-200 กิโลกรัม/ไร่ ตากบ่อให้แห้งเป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคและกำจัดศัตรูปลา บ่อใหม่หว่านปูนขาว 100 กิโลกรัม/ไร่ ค่อยๆเติมน้ำเข้าบ่อให้มีระดับน้ำ 1.5-2.0 เมตร จากนั้นให้สร้างห่วงโซ่อาหารก่อนจึงปล่อยลูกปลาได้ การเลือกลูกปลา ควรเลือกลูกปลาที่มีขาด 2-3 เซนติเมตรหรือขนาดเท่าใบมะขาม ซึ่งลูกปลาขนาดนี้มีการลำเรียงที่สะดวก มีการจัดการดูแลง่ายและมีอัตรารอดสูงอัตราการปล่อย ลูกปลาที่มีขนาด 2-3 เซนติเมตร จะมีอัตราการปล่อยอยู่ที่ 20-40 ตัว/ตารางเมตรหรือประมาณ 25,000-30,000 ตัว/ไร่ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นช่วงเช้าหรือเย็น ก่อนปล่อยลูกปลาควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อก่อน โดยการนำถุงลูกปลาแช่ลงในบ่อเป็นเวลา 15-20 นาที จากนั้นจึงค่อย ๆ เปิดปากถุงแล้วเอาน้ำในบ่อใส่ลงไปในถุงทีละนิด เพื่อให้ลูกปลาปรับตัวเข้ากับน้ำใหม่ได้และเป็นการป้องกันภาวะปลาน๊อคน้ำการให้อาหาร จะแบ่งให้ตามช่วงอายุของปลา ช่วงอายุ เริ่มปล่อย < 30 วัน ให้อาหารกบโปรตีน 40%(เม็ดเล็กสุด) ควรแช่อาหารให้นิ่มก่อนให้ลูกปลากิน30-60 วัน ให้อาหารปลาดุกโปรตีน 32%60-90 วัน ให้อาหารปลาดุกโปรตีน 30%หลังจาก 90 วัน สามารถให้อาหารสำเร็จรูปสลับกับอาหารที่หาได้ในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็น รำ หยวกกล้วย หญ้าเนเปียร์ แหน เพื่อเป็นการลดต้นทุนรูปภาพประกอบจากผู้เขียน