หนึ่งในหนังสือที่เป็นกองดองของตัวเอง ซื้อมานานเป็นปี แต่ยังไม่ได้อ่านสักที เนื่องจากความหวั่นเกรงในชื่อหนังสือ "จิตวิทยาว่าด้วยเงิน" ให้ความรู้สึกว่าน่าจะเป็นหนังสือที่อ่านยากหรือเปล่า จะน่าเบื่อหรือไม่ แต่เมื่อได้ลองอ่านแล้ว อยากบอกทุกคนว่า "อ่านเถิดค่ะ" ไม่ใช่หนังสืออ่านยาก และหลังอ่านจบจะทำให้คุณรู้สึกว่า เออ จริงแฮะ เพราะเนื้อหาไม่เหมือนกับหนังสือที่เกี่ยวกับการเงินเล่มอื่น ๆ เลย สิ่งที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ คือ1.ในการบริหารเงินหรือการลงทุน Soft skill ซึ่งก็คือทักษะทางด้านอารมณ์และการบริหารจัดการความคิด มีความสำคัญกว่า Technical skill หรือทักษะวิชาการทางการเงิน การจัดการการลงทุนไม่สามารถเอาแนวทางของเกจิ หรือนักลงทุนที่มีชื่อเสียงมาใช้กับเราได้ทั้งหมด ไม่สามารถจะนำสูตรคำนวณหรือทฤษฎีมาเป็นเกณฑ์ได้ทุกช่วงเวลา เพราะมันมีเรื่องเกี่ยวกับจิตใจมาเป็นส่วนประกอบ ถ้าหากเรายังไม่เข้าใจ เราก็คงไม่อาจประสบความสำเร็จได้2. สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อทุก ๆ คน บนโลกใบนี้ คือ สุขภาพและเงิน แตกต่างกันที่ เรื่องของสุขภาพ ยิ่งรู้มากเรายิ่งได้ประโยชน์ คนเราอายุยืนขึ้น ต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บได้มากขึ้น แต่เรื่องเงิน กลับตรงข้ามกันยิ่งเราเรียนรู้ทฤษฎีการเงินมากเท่าไหร่ เราก็อาจเข้าใกล้ล้มละลายได้มากเท่านั้น"Morgan Housel" ผู้เขียนเรื่องนี้ เขียนเป็นบทความสั้น ๆ สรุปตามมุมมองของตัวเองได้ประมาณนี้ค่ะไม่มีใครบ้า แค่เราเติบโตมาในช่วงเวลาที่ต่างกัน อะไรที่เราเห็นว่าไร้สาระ แต่อาจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้อื่น ตัวอย่างง่าย ๆ สไตล์การลงทุนระหว่างรุ่นเรา กับ รุ่นพ่อแม่ เพราะในสมัยของพ่อแม่เรานั้น การออมเงิน การฝากธนาคารเป็นหนทางที่ปลอดภัย ถ้าจะให้เค้ามาลงทุนในหุ้น ย่อมเป็นความกังวลสำหรับคนวัยนี้อย่างแน่นอน ทุกคนมองโลกด้วยเลนส์ต่างกัน ดังนั้นอย่าไปตัดสินใครทุกผลลัพธ์ในชีวิต มีโชคและความเสี่ยงมาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ไม่มีอะไรที่ดูดีหรือดูแย่ขนาดนั้น ถ้าเราทำอะไรแล้วล้มเหลว ไม่ได้หมายความว่า เราไม่มีทักษะ ดังนั้น จงระวังการทำตามคนที่เราชื่นชม และระวังการดูถูกคนที่ล้มเหลว ไม่ใช่ทุกความสำเร็จเกิดจากการทำงานหนัก และไม่ใช่ทุกการล้มเหลวเกิดจากการเกียจคร้านพอให้เป็น ความเห็นส่วนตัว นี่น่าจะเป็นทักษะที่ฝึกที่ยากที่สุด ทำอย่างไรให้รู้สึกว่าควร "พอ" กับจำนวนเงินที่มี และไม่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงกับการสูญเสียสิ่งที่มีไปทั้งหมด การรู้จักพอ คือ จุดที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราจะไม่เสียใจภายหลัง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สำหรับตัวเอง พอใจกับการได้รับผลตอบแทน 2-3 % แลกกับความสบายใจกับการที่ตื่นมา ไม่ต้องเครียด นี่ถือว่าเพียงพอแล้ว ลงทุนแบบที่เราสบายใจ ไม่จำเป็นต้อง High Retern ก็ได้เรียนรู้พลังแห่งการทบต้นและเวลา การเริ่มต้นเล็ก สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่มหัศจรรย์ได้ และเวลาจะทำให้โชคกับความเสี่ยงและการตัดสินใจผิด ๆ ส่งผลกับเราได้น้อยลงวิธีทำให้รวย กับ วิธีรักษาความรวย แตกต่างกัน ความอยากรวยต้องกล้าเสี่ยง แต่ถ้าเราอยากรวยนาน ๆ เราต้องทำตรงข้ามนั่นคือ มัธยัสถ์และความรอบคอบในการลงทุนการมีอิสรภาพทางการเงิน ไม่ใช่การมีเงินเยอะ ๆ แต่เป็นการที่เราสามารถควบคุมชีวิตตัวเองได้มากกว่า มีอาหารให้กิน อยากทำ อยากเที่ยวอะไร ก็สามารถทำได้ยิ่งเราโชว์ให้คนอื่นเห็นว่าเรารวย มันจะเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุดที่จะทำให้เราจนลง เพราะฉะนั้น อย่าอวดรวยข้อนี้สำคัญ คือ มีแผนในการจัดการเมื่อไม่เป็นไปตามแผน เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้ การมีแผนสำรองจึงเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อสามปีที่แล้วก็คงไม่มีใครคิดว่าจะมีโควิด แล้วต้อง lock down ถูกมั้ยคะและนี่ก็เป็นข้อคิดบางส่วนที่ได้จากหนังสือ " The Psycology of Money - จิตวิทยาว่าด้วยเงิน" ลองหาอ่านกันดู เปิดประสบการณ์เกี่ยวกับจิตวิทยาการเงิน บางทีคุณอาจจะได้ข้อสรุปกับตัวเองว่า อะไรที่ทำให้ตัวเรามีผลลัพธ์ทางการเงินแบบที่เป็นอยู่ และเราจะสามารถเปลี่ยนแปลงมันได้หรือไม่ ขอให้สนุกกับการอ่านค่ะ The Psychology of Money - จิตวิทยาว่าด้วยเงิน : Morgan Housel เขียนสนพ.: Live Richภาพ 1-5 จาก Unsplash.com /ภาพปก : SKYภาพ 1 Alexander Mils /ภาพ 2 Konstantin Evdokimov /ภาพ 3 Towfiqu barbhuiyaภาพ 4 Nathan Dumlao / ภาพ 5 Brett Jordan 7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์