น้องๆหลายคนคงมีความฝันอยากจะเป็นเภสัชกร หลายคนอาจรู้จักอาชีพเภสัชกรจากการขายยาในร้านขายยาทั่วไปที่พบเห็นได้ หรืออาจจะเห็นเภสัชกรในบทบาทของผู้จ่ายยาในโรงพยาบาล แต่ในความเป็นจริงนั้น การสำเร็จการศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์สามารถเปิดโอกาสให้สามารถทำงานได้มากกว่าเพียงการจ่ายยาที่พบเห็นได้ทั้วไปจะมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย 1. คิดค้นและพัฒนายา(ที่มาของภาพ : https://www.freepik.com)จะเห็นได้ว่าการพัฒนายานั้นมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ที่มีส่วนสำคัญในการคิดค้นและพัฒนาตำรับยาเหล่านั้นก็คือเภสัชกรที่ทำงานในตำแหน่ง R&D หรือที่เรียกว่า Research and development นั่นเอง ซึ่งการทำงานในตำแหน่งนี้จะต้องมีความรู้ด้านโครงสร้างและเคมียาเป็นอย่างดี2. ควบคุมการผลิตในโรงงาน(ที่มาของภาพ : https://www.freepik.com)แน่นอนว่าการผลิตยาจากโรงงานยานั้นเป็นอีกส่วนสำคัญของระบบยา ซึ่งการควบคุมดูแลการผลิตยาจะมีเกณฑ์ที่เข้มงวดอย่างมาก แน่นอนว่าอาชีพอื่นสามารถเข้ามาทำงานในส่วนนี่ได้ แต่เภสัชกรจะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมคุณภาพและรับรองการผลิต หรือที่เรียกสั้นๆว่า QA (Quality assurance) หรือ QC (Quality Control) นั่นเอง3. ผู้แทนยา หรือ ตัวแทนจำหน่ายยา (Medical Representative)(ที่มาของภาพ : https://www.freepik.com)การนำยาเข้ามาขายในร้านยา หรือการนำยาเข้ามาในโรงพยาบาลนั้น จะได้รับการเสนอยาจากบริษัทต่างๆที่มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง โดยผู้แทนยาจะทำหน้าที่ในการให้รายละเอียดเกี่ยวกับยาเพื่อให้พิจารณาในการนำยาเข้ามาใช้ในโรงพยาบาลหรือร้านยา 4. คุ้มครองผู้บริโภคหลายคนอาจรู้จักองค์กรที่ชื่อว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ซึ่งมีหน้าที่ในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการบริโภคยาหรืออาหาร รวมทั้งการขอขึ้นทะเบียนยาและอาหาร ซึ่งเภสัชกรจะเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้เนื่องจากเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านยา และเภสัชกรที่ทำงานในองค์กรนี้จะมีบทบาทในการพิจารณาขึ้นทะเบียนตำรับยาอีกด้วย จะเห็นว่าอาชีพเภสัชกรนั้นไม่ใช่เพียงผู้จ่ายยาหรือขายยาให้ผู้ป่วยเท่านั้น แต่วิชาชีพเภสัชกรรมยังคงมีอีกหลายแขนงที่ทำงานอยู่เบื้องหลังและน้อยคนที่จะรู้ว่าอาชีพเภสัชกรสามารถทำงานได้หลากหลายกว่าที่คิด หากน้อง ๆ คนไหนสนใจอยากเป็นเภสัชกร ก็นับว่าเป็นอีกอาชีพที่เปิดช่องทางได้หลากหลายและน่าสนใจอีกอาชีพหนึ่งเลยทีเดียว