การทำโคมลอย มีหลากหลายพื้นที่ทั่วโลกทั้งฝั่งชาวตะวันตกและตะวันออก ถ้าฝั่งตะวันออกจะมีชื่อเสียงมากในประเทศจีน ส่วนประเทศไทยก็จะโดดเด่นทางภาคเหนือในประเพณียี่เป็งเดือนสิบสองงานประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่เป็นสัญลักษณ์แห่งการท่องเที่ยวที่โดดเด่นมาก แต่ขณะเดียวกันในภูมิภาคอื่นๆ ก็มีการปล่อยโคมลอยด้วยเช่นกันส่วนรูปทรงแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกันไป บางที่ทรงกลมคล้ายบอลลูน บางทีทรงกระบอก ทรงถังน้ำมัน ทรงสี่เหลี่ยม หรือทรงรูปร่างต่างๆ ตามที่ทำได้ ตรงปากโคมลอยใช้ไม้ไผ่หรือลวดยึด บางที่ก็ใช้เชื้อเพลิง บางที่แค่สุมควันไฟเป็นแรงดัน แตกต่างกันไปแล้วแต่วิธีการของแต่ละพื้นที่สำหรับโคมลอยกะเหรี่ยงที่นิยมทำกันในจังหวัดกาญจนบุรี นิยมทำแบบทรงกลม ปากโคมลอยอยู่ช่วงล่าง มีขนาดไม่กว้าง และใช้จุดเชื้อเพลิงในการปล่อยโคม โดยมีอุปกรณ์ที่ต้องใช้ดังนี้ 1. กระดาษสี กระดาษว่าว กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นต้น2. กรรไกร กาว มีดคัตเตอร์ 3. กระดาษทิชชู่ (ทำไส้โคมลอย)4. น้ำมันดีเซลและเศษเทียน (ทำไส้จุดสำหรับโคมลอย)5. เศษผ้าชุบน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงสุมควันโคมลอย6. เชือก ไว้สำหรับดึงโคมลอยแขวน7. ไม้ไผ่ ทำวงปากโคมลอย8. ลวด และซี่เหล็กจากร่มหรือเส้นเหล็กขนาดเล็กวิธีการทำโคมลอย มีวิธีการดังนี้1. ติดกระดาษสีที่ซื้อมาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนบน (หลังคา) ส่วนล่าง (ปากโคมลอย) และส่วนลำตัว 2. ส่วนบนและส่วนล่างให้ติดขนาดจำนวนเท่ากันให้เป็นรูปทรงจตุรัส ตัวอย่างขนาดปานกลาง ใช้กระดาษขนาด 5x5 (กว้าง 5 แผ่น x ยาว 5 แผ่น) 3. ส่วนลำตัวของโคมลอย ต้องติดเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดปานกลาง ขนาด 5x15 ( กว้าง 5 แผ่น x ยาว 15 แผ่น) 4. พับส่วนบนกับส่วนล่าง ตัดเป็นทรงกลม ส่วนบนทำตัวแขวนตรงกลางวงกลมด้วยเศษกระดาษยึดส่วนบน เพื่อใช้แขวนเมื่อแห้งดีแล้ว ส่วนด้านล่าง ตัดปากไม่เกินครึ่งของวงกลมส่วนล่างของโคมลอย 5. นำส่วนลำตัวโคมลอย ม้วนด้านยาวให้เหลือปลายกระดาษเพื่อนำมาแปะติดตามขอบทรงกลมของส่วนบนของโคมลอยที่ตัดไว้ โดยนำมาวางล้อมรอบทรงกลมและติดกาวรอบๆ เพื่อให้ยึดติดกัน ถ้ากระดาษเหลือให้ตัดออก ถ้าไม่พอก็แปะเพิ่มเติมจนแปะรอบขอบกลมของส่วนบนของโคมลอยจนแห้ง แล้วนำเชือกมัดด้านบนที่ติดไว้แขวนเพื่อปล่อยกระดาษที่ม้วนไว้ให้ห้อยลงมา 6. เหลาไม้ไผ่เพื่อดัดเป็นทรงกลม มัดเป็นทรงกลม แล้วนำไปติดกับปากโคมลอยในส่วนล่างที่ตัดไว้ โดยตัดปากโคมลอยเป็นซี่ๆ ฟัน เพื่อติดกาวแปะทับไม้ไผ่ที่เหลาทำทรงกลมไว้ นำเศษกระดาษมาแปะรอบๆ เพิ่มความแข็งแรงจนแห้ง 7. นำส่วนล่างมาวางพื้นแปะต่อกับส่วนตัวของโคมลอยที่ห้อยไว้จนครบรอบวงกลมนอกของส่วนล่าง แล้วค่อยแปะติดในส่วนของลำตัวด้านกว้าง สามารถตัดหรือติดเพิ่มเพื่อให้ติดเข้ากันเป็นทรงกระบอก ให้ลมเข้าทางด้านล่าง ตรงปากโคมลอยที่เดียว ปล่อยให้แห้ง แล้วค่อยพัดลมเข้าเช็ครอยรั่ว แล้วทำการปิดซ่อมแซม เมื่อแห้งดีแล้ว ก็สามารถพับเก็บหรือแขวนไว้สูงๆ ได้ เพื่อป้องกันเด็กหรือแมวทำลายได้ 8. ในส่วนสุดท้าย คือ การทำไส้โคมลอย เดิมทีใช้เศษผ้าหรือเศษจีวรเก่าแช่น้ำมันหรือเปลือกยางจากธรรมชาติจนผ้าแข็งเป็นเวลา 1-2 เดือน แต่ปัจจุบันปรับมาเป็นกระดาษทิชชู่ โดยต้มเศษเทียนผสมน้ำมันดีเซล ชุบกระดาษทิชชู่ โดยดูตามขนาดของโคมลอย ถ้าขนาดเล็กก็ใช้ทิชชู่เล็ก ขนาดโคมลอยใหญ่ ก็ใช้ทิชชู่หลายอันมัดติดกัน เวลาไปจุดเวลาปล่อยโคมลอยวิธีการปล่อยโคม1. ในวันที่ปล่อยโคมลอย ต้องนำเหล็กหรือลวดขนาดใหญ่มัดหรือเสียบให้กลายเป็นกากบาทตรงไส้เทียน และมัดติดกับไม้ไผ่ตรงปากโคมลอย 2. ใช้ไม้ไผ่ขนาดยาวเสียบตรงหัวคล้องส่วนบนที่ไว้เกี่ยวยกขึ้นสูงๆ เพื่อทำการพัดให้ลมเข้าจนพองตัว3. นำผ้าที่ชุบน้ำมันจุดไฟไปสุมโคมลอยตรงปากโคมลอยด้านล่างจนสามารถพองตัวได้เต็มที่4. เมื่อควันไฟดันตัวโคมลอยได้ทรงแล้ว ค่อยจุดไส้โคมลอยเพื่อเลี้ยงแรงดันภายในโคมลอย และดันตัวโคมลอยขึ้นได้เอง โดยมีคนคอยจับตรงปากโคมลอยเพื่อรู้แรงดันของไฟ และปลดไม้ไผ่ในส่วนบนของโคมลอย เพื่อทำการปล่อยต่อไป ขนาดของโคมลอย ไม่แน่นอน แล้วแต่จะทำขนาดไหน เมื่อขนาดส่วนบนและส่วนล่างใหญ่ขึ้น ลำตัวโคมลอยก็ใหญ่ขึ้นตาม เช่นกัน ถ้าขนาดใหญ่มาก เช่นทำจากหนังสือพิมพ์ขนาด 200 แผ่น ก็แบ่งเป็น 40 (ส่วนบน) 40 (ส่วนล่าง) และส่วนลำตัว (120) ก็ต้องทำปากโคมลอยให้ใหญ่ขึ้น ไส้โคมลอยก็มากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลออกพรรษาของชาวกะเหรี่ยงในตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี นิยมทำปล่อยกันในช่วงกลางคืนเพราะบางที่ยังมีฝน ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องไหม้เวลาที่โคมลอยตก และส่วนใหญ่ก็จะไหม้จนหมดและดับกลางอากาศ จากร่องรอยที่เคยมีคนเห็นมา แต่ถ้าช่วงไหนฝนตกกลางคืนก็สามารถปล่อยตอนกลางวันได้เช่นกัน และขณะเดียวกันการทำโคมลอยแบบทรงบอลลูนก็มีไม่ค่อยมากแล้ว บางปีก็ไม่ทีคนทำ หรือบางทีก็ซื้อแบบสำเร็จรูปแบบทรงโคมลอยภาคเหนือหรือโคมลอยถุงมาปล่อยกันเพราะสะดวกมากกว่า แต่ความตื่นเต้นหรือการมีส่วนร่วมเวลาปล่อยก็จะน้อยกว่าที่ทำขึ้นเอง ยิ่งขนาดใหญ่ก็ยิ่งน่าดู สมัยก่อนก็สามารถนำโคมไฟขนาดเล็กใส่เทียนได้ ปล่อยขึ้นห้อยตามขึ้นไปได้เช่นกัน โดยมีความเชื่อการปล่อยโคมลอยถือเป็นการสะเดาะเคราะห์ ปล่อยสิ่งไม่ดีออกไป ขณะเดียวกันก็มีการปล่อยใบอธิษฐานในงานบุญออกพรรษาที่ต้องอ่านข้อความให้จบก่อน แล้วปล่อยขึ้นไปกับโคมลอย ความทรงจำในวัยเด็กกับการเห็นโคมไฟที่ปล่อยช่วงงานบุญออกพรรษาจึงเป็นช่วงประทับใจ และสานต่อการทำโคมลอยเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ต่อไปทุกภาพประกอบ โดยผู้เขียนขอบคุณ Canva ใช้ตกแต่งภาพปก เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !