หากรถยนต์ยังมีระบบไร้คนขับแล้ว รถบรรทุกไร้คนขับ จะเป็นอย่างไร ?ในปัจจุบันโลกของเรากับการก้าวเข้าสู่โลกของ "Autonomous" หรือระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการทำงานด้วยระบบเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนเอง ซึ่งเรามักคุ้นชินกับคำว่า Autonomous car หรือ ระบบรถยนต์ไร้คนขับ โดยแบรนด์รถยนต์ยี่ห้อดังที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของระบบไร้คนขับอย่าง "Tesla" นั้น เป็นตัวจุดประกายให้คนทั่วไปได้รู้จักและสร้างความสนใจอย่างล้นหลามไปทั่วโลก ซึ่งในระบบการทำเหมือง หรือ Mining Process ก็เริ่มมีการนำระบบไร้คนขับมาใช้กันภายในเหมืองด้วยเช่นกัน โดยนวัตกรรมนี้เกิดจากปัญหาด้านพลังงานน้ำมัน และความต้องการใช้พลังงานสะอาดซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในการใช้รถบนท้องถนนทั่วไป รวมถึงรถยนต์หรือรถบรรทุกที่เรากำลังให้ความสนใจนี้ในเหมืองเช่นกัน โดยกลไกการทำงานด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยแรงบิดของมอเตอร์ไฟฟ้าโดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่สร้างมาจากแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้ารูปแบบอื่นๆ โดยเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างรถไฟฟ้า และรถที่ใช้น้ำมันทั่วไปมีอยู่ 2 ส่วน คือแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นตัวเก็บพลังงานของรถยนต์ไฟฟ้า ที่ปัจจุบันใช้แบบ Lithium-Ion ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ชนิดเดียวกับที่ใช้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งยังคงมีราคาสูงอยู่ และต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าชิ้นส่วนในระบบส่งกำลัง เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า ตัวแปลงกระแสไฟฟ้าการเปลี่ยนแปลงเมื่อ รถไฟฟ้า เข้าแทนที่ รถน้ำมัน รถบรรทุกแบบไฟฟ้าและแบบไร้คนขับนั้นจะเป็นจุดเปลี่ยนให้กับการขนส่งแร่ภายในเหมืองทั้งในไทยและทั่วโลก แถมยังส่งผลต่อเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมการทำเหมือง เพราะการเปลี่ยนรถยนต์จากเดิมที่มีการใช้น้ำมันเป็นระบบไฟฟ้านั้น ช่วยลดต้นทุนของกระบวนการขนส่งลงไปได้ เนื่องจากในปัจจุบันราคาน้ำมันโลกนั้นมีราคาที่จะสูง และน้ำมันนั้นยังส่งผลกระทบหรือผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมนั้นในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใหญ่หรือเล็กนั้น ต้องคำนึงถึงผลกระทบเป็นสำคัญ ดังนั้นการที่รถไฟฟ้าเข้ามาแทนที่รถน้ำมันทำให้ ไม่เกิดการปล่อยแก๊สหรือเชิ้อเพลิงจากการเผาไหม้สู่บรรยากาศ รถบรรทุกไร้คนขับ กับ การลดต้นทุนแรงงานการที่มีการผลิตรถบรรทุกไร้คนขับนั้น จะสามารถลดหรือแก้ไขปัญหาการคลาดแคลนพนักงานขับรถได้ จากสถิติที่พบว่า ค่าจ้างขั้นต่ำของพนักงานขับรถบรรทุกนั้นได้รับรายได้น้อย แต่การทำงานกับเข้มงวด มีกฏหรือข้อบังคับในการขับ รวมถึงการวิ่งรอบให้ได้ปริมาณหินที่ผู้ผลิตต้องการจะทำการผลิตให้ทัน ส่งผลให้ลูกจ้างนั้นถอดใจและเลือกที่จะไม่ทำงานนี้ ดังนั้นการเปลี่ยนรถบรรทุกในการขนส่งแร่ในเหมืองจากรถที่ต้องใช้คนขับ เป็น ระบบไร้คนขับนั้นสามารถลดต้นทุนแรงงงานลงได้ถึง 60% และอัตราการเกิดอุบัติเหตุลงได้ รวมถึงต้นทุนรวมในการการทำเหมืองอีกด้วยถึงแม้ว่าการทำเหมืองในปัจจุบันของไทยนั้น ยังคงมีเพียงการใช้รถบรรทุกไฟฟ้าในการขนส่งแร่ แทนรถน้ำมัน แต่ในอนาคต เมื่อโลกก้าวเข้าสู่เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ หรือที่เรียกว่า " Internet Of Things-loT" รถบรรทุกไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือรถบรรทุกไฟฟ้าไร้คนขับจะเข้ามาแทนที่ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า และแม้ว่าการพัฒนาจะยุ่งยาก แต่ในระยะยาวจะสามารถแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อกระบวนการการทำเหมืองเครดิตภาพ :ภาพปกทำเองจากเว็บไซต์ canva.comภาพประกอบหน้าปก ภาพที่ 1 จาก Canva.comภาพที่ 1 โดย Image by senivpetro on Freepik">Senivpetro / Freepik.comภาพที่ 2 โดย Skitterphoto / Pixabay.comภาพที่ 3 โดย Francesco Bovolin / Pixabay.comภาพที่ 4 โดย Alexander Fox | Planet Fox / Pixabay.comเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !