แนวคิดนี้คือผลการศึกษาของ Dr.Albert Mehrabian ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแคลิเฟอเนียในลอสแอนเจลลิส ที่ว่า “ความรู้สึก ทัศนคติ และความเชื่อของผู้ฟัง เป็นผลมาจากคำพูดของผู้พูดเพียงส่วนน้อย แต่จะมาจากน้ำเสียงและภาษากายของผู้พูดเป็นส่วนใหญ่” และได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Silent Messages ปี 1971 ว่า “ความเข้าใจในความหมาย อารมณ์ และความรู้สึกของผู้ฟังนั้น ร้อยละ 7 มาจากคำพูด, ร้อยละ 38 มาจากน้ำเสียง, และร้อยละ 55 มาจากภาษากายของผู้พูด ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากธรรมชาติต้นกำเนิดของมนุษย์ที่สื่อสารและทำความเข้าใจกันด้วยอวจนภาษากันมาตั้งแต่ก่อนจะมีภาษาพูด สัญชาตญาณในการทำความเข้าใจจากอวจนภาษาได้ฝังลึกอยู่ในสมองและจิตใต้สำนึกของมนุษย์ แม้ในภายหลังเมื่อมนุษย์ได้พัฒนาขึ้นจนมีภาษาพูดใช้แล้วก็ตาม เมื่อใดที่คำพูดและอวจนภาษาของผู้พูดไม่สอดคล้องกัน ผู้ฟังมักจะเชื่ออวจนภาษามากกว่าคำพูด”"กฎ 7, 38, 55" มักถูกอ้างถึงว่าเป็นแนวคิดการสื่อสาร แม้ว่าจะไม่ใช่กฎที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและอาจมีความแตกต่างกันในการตีความ แต่เพื่อชี้นําให้เห็นว่าการสื่อสารไม่ใช่เพียงเนื้อหาคำพูดเท่านั้น หากแต่ต้องประกอบด้วยสามองค์ประกอบต่อไปนี้จึงจะสมบูรณ์:แนะนําว่ามีเพียง 7% ของการสื่อสารที่ถ่ายทอดผ่านคําพูด ซึ่งหมายถึงเนื้อหาที่แท้จริงของสิ่งที่พูด แนวคิดในที่นี้คือตัวเนื้อหาของสิ่งที่พูดเองมีบทบาทค่อนข้างน้อยในการสื่อสารเมื่อเทียบกับปัจจัยอื่นๆแนะนําว่า 38% ของการสื่อสารถูกถ่ายทอดผ่านองค์ประกอบของเสียง เช่น โทนเสียง ระดับเสียง และความเร็ว รวมไปถึงการหยุดเว้นวรรค สิ่งนี้เน้นย้ำถึงความสําคัญของการพูดอะไรบางอย่าง รวมถึงน้ําเสียงและการเน้นที่คําบางคําส่วนที่ใหญ่ที่สุด 55% มาจากองค์ประกอบที่เป็น non-verbal เช่น ภาษากาย การแสดงออกทางสีหน้า และท่าทาง องค์ประกอบนี้เน้นย้ำถึงความสําคัญของสัญญาณที่ไม่ใช่คําพูดในการสื่อสาร เป็นส่วนที่มีความสำคัญสูงสุดในการสื่อสารซึ่งตัวผมเองได้นำแนวคิดนี้ไปใช้แล้วพบว่า ในบางกรณีที่ผมมีองค์ความรู้ในการถ่ายทอดที่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากผู้รับฟัง หากมีความมั่นใจใช้น้ำเสียงที่น่าเชื่อถือ และมีท่าทางที่เชื่อในแนวคิดนั้นจริงๆ ผมก็สามารถจูงใจให้คนที่รับฟัง เชื่อและจดจำองค์ความรู้นั้นๆได้ แม้จะขัดกับองค์ความรู้และวัฒนธรรมที่เคยทำมาก่อนหน้า และยิ่งหากเป็นหัวข้อที่ทุกคนเห็นด้วยอยู่แล้วยิ่งเพิ่มความสนใจและประสิทธิภาพของการพูดในเรื่องนั้นๆ ไปได้อีกเยอะเลยผมเลยอยากนำหัวข้อนี้มาพูดคุยให้เพื่อนๆได้รู้และเข้าใจ ทั้งในมุมมองของผู้คิดค้น ผู้ไม่เห็นด้วย และจากมุมมองผู้ใช้ ซึ่งผมได้นำวิธีการตามสัดส่วน โดยจากปกติที่ให้เวลากับการเตรียมเนื้อหาในการพูดเป็นหลัก เปลี่ยนมาเป็นการใส่ใจในการแต่งตัว บุคลิกท่าทาง หน้าผม และใส่ใจในการซักซ้อมการพูดทั้งในเรื่องการแบ่งจังหวะ วรรคตอน น้ำเสียงในการพูด ท่าทางและสีหน้าประกอบในระหว่างการพูด ซึ่งส่งผลต่อผู้รับฟังแบบแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจนขึ้นแต่ก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันในเชิงวิชาการว่าเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอนและแนวคิดของกฎนี้อาจไม่เป็นความจริงในทุกบริบท เนื่องจากการสื่อสารเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์ขององค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเปอร์เซ็นต์เหล่านี้อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์ วัฒนธรรม และความชอบส่วนบุคคล ยกตัวอย่างเช่น ป้ายห้ามต่างๆ ที่เราพบเห็นถึงแม้จะมีเพียงภาพหรือสัญลักษณ์ ก็สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพให้เราเข้าใจว่าต้องการอะไรสุดท้ายนี้ถึงแม้ว่า "กฎ 7, 38, 55" อาจยังมีการคัดค้านไม่เห็นด้วย แต่ก็เป็นกฎที่มาย้ำเตือนเราว่าการสื่อสารนั้นจะอาศัยแค่ข้อความที่ดีไม่ได้ ยังต้องเน้นในเรื่องของโทนเสียง อารมณ์ และภาษากายเพื่อช่วยให้เราสื่อสารได้อย่างเกิดความเข้าใจสูงที่สุด เพราะฉนั้นการพัฒนาบุคลิกภาพ น้ำเสียง รวมไปถึงท่าทางในการพูดยิ่งมีส่วนสำคัญมากกว่าเนื้อหาเสียอีก ผมจึงอยากเชิญชวนเพื่อนๆ มาลองใช้ทฤษฎี 7,38,55 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารให้สูงมากขึ้นไปด้วยกันนะครับ ภาพปก โดยผู้เขียน Terrain /Canva.com ภาพจาก RyanMcGuire /Pixabayภาพที่ 1 จาก https://ericberne.com/albert-mehrabian-biography/ภาพที่ 2 จาก https://www.changequest.co.uk/resources/empathy-assertiveness-project-environment/ภาพที่ 3 จาก StockSnap /Pixabayภาพที่ 4 จาก Tony-Media /Pixabay อ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ4ขั้นตอนตามหาPassion สำหรับคนหมดไฟวิธีเอาตัวรอด และป้องกันจากเหตุกราดยิงรีวิวหนังสือ The power of output3ขั้นตอน เปลี่ยนไอเดียให้เป็นจริง เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !