การหาภาพฟรีนั้นสามารถหาใช้งานได้จากภาพประเภท Creative Commons และ Public Domain โดยทั้งสองประเภทนี้ถือเป็นที่ยอมรับกันโดยสากล และภาพฟรีนั้นนอกจากจะหาได้จากเว็บไซต์ใหญ่ที่รู้จักกันดีแล้วยังสามารถหาภาพฟรีได้จาก Google ซึ่งได้บันทึกใบอนุญาตไว้ และมีการใช้งานดังนี้Creative Commons หรือ CC เป็นองค์กร NGO ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 ที่สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นการตกลงร่วมกันในการใช้สื่อตามข้อตกลง และมีคู่สัญญากว่า 50 ประเทศทั่วโลก โดยไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศคู่สัญญา จัดทำขึ้นตามความร่วมมือของ สำนักกฎหมายธรรมนิติ สถาบัน ChangeFusion และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการใช้งาน Creative Commons นั้นจะครอบคลุมสื่อทุกชนิดทั้งในส่วนของ รูปภาพ, วีดีโอ, บทความ ฯลฯ โดยในที่นี้จะแนะนำถึงการใช้งานภาพฟรี ซึ่งมีหลักที่ต้องทราบในการใช้งานดังนี้สำหรับการค้นหาบน Google ใช้การค้นหาดังนี้ ทำการค้นหาผ่านแถบค้นรูป จากนั้นจึงเลือกที่แถบ เครื่องมือ > สิทธิ์ในการใช้งาน และ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License) หากเป็นภาษาอังกฤษให้เลือกดังนี้ Images > Tools > Usage Rights > Creative Commons Licenseจากนั้นกดดูที่รูปภาพที่ต้องการ และกดเลือกที่ รายละเอียดใบอนุญาต จะแสดงใบอนุญาตตามที่เจ้าของภาพได้สัญญาไว้ ซึ่งจะมีสัญลักษณ์ที่ต้องเข้าใจดังนี้ (โดยใช้ร่วมกันทุกที่ไม่ว่าจะเป็น Wikimedia commons, flickr ฯลฯ)1. Attribution (BY) อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ได้ และต้องแสดงแหล่งที่มาทุกครั้ง2. NoDerivatives (ND) อนุญาตให้ใช้ภาพตามแบบต้นฉบับนี้เท่านั้น ห้ามดัดแปลงผลงานชิ้นนี้ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม หากต้องการดัดแปลงต้องแจ้งเจ้าของสิทธิ์ก่อนทุกครั้ง3. ShareAlike (SA) อนุญาตให้กระทำการใด ๆ กับภาพก็ได้ ไม่ว่าจะดัดแปลง หรือแก้ไข แต่หลังกระทำแล้ว ภาพที่ออกมาใหม่ต้องมีสิทธิ์ CC เดียวกันกับภาพต้นแบบนี้เท่านั้น4. NonCommercial (NC) ไม่อนุญาตให้ใช้ในเชิงพาณิชย์ ห้ามไม่ให้ใช้ในโฆษณาเพื่อการค้า หรือนำไปใช้แล้วเกิดรายได้จากช่องทางใด ๆ ก็ตามดังนั้นการใช้งานจะมีลักษณะตัวอย่างดังนี้ภาพมีสัญญาตามสัญลักษณ์ Attribution (BY) - ShareAlike (SA) แปลว่า ภาพนี้จะต้องแสดงแหล่งที่มา (BY) หากมีการแก้ไขภาพเป็นของตัวเองสามารถทำได้ แต่ภาพนั้นจะต้องสามารถนำไปใช้งานต่อได้ โดยห้ามถือสิทธิ์เป็นของตัวเองแต่เพียงผู้เดียวตามเจตนาของเจ้าของภาพต้นแบบ (SA) หรือหมายความว่า หากเรานำไปทำแผ่นโฆษณาของเราเองจะต้องลง CC ในแบบ SA ต่อไป และผู้อื่นสามารถเอาไปทำต่อได้ในบางกรณีจะพบว่าเป็น Copyright-Only Dedication (based on United States law) หมายถึงเจ้าของภาพให้สัญญาในแบบ Public DomainPublic Domain (PD) คือลิขสิทธิ์สาธารณะ ใช้สัญลักษณ์ C ขีดฆ่า หรือ PD ซึ่งถือเป็นอีกภาพฟรีที่ใช้งานได้เต็มรูปแบบ โดยเกิดจากการหมดอายุของลิขสิทธิ์ไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศ ซึ่งมีเงื่อนไขที่สอดคล้องกันดังนี้อายุลิขสิทธิ์นั้นเริ่มต้นนับแต่ผู้สร้างเริ่มการสร้างกระทั่งเสียชีวิต และนับต่อไป หรือเริ่มนับเมื่อผู้ร่วมสร้างคนสุดท้ายเสียชีวิตลง โดยแต่ละประเทศมีอายุที่แตกต่างกันไป สามารถดูได้ที่นี่ และมีอายุสูงสุดที่ 100 ปี แต่อาจน้อยกว่านั้นในกรณีนิติบุคคล และจะมีรายละเอียดของภาพดังตัวอย่างสำหรับตัวอย่างอายุลิขสิทธิ์ในประเทศไทย ตาม พรบ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 กรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยสรุปดังนี้อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในไทยมีเวลา 50 ปีหลังผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย หรือผู้ร่วมสร้างสรรค์คนสุดท้ายเสียชีวิตลง แต่หากเป็นงานนิติบุคคล เช่น ภาพยนตร์ จะมีอายุ 50 ปีนับแต่โฆษณา หรือออกฉายครั้งแรก (ขึ้นกับสิ่งใดมาก่อน) และหากเป็นศิลปะประยุกต์ มีอายุ 25 ปีนับแต่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น เช่น ลายภาพบนผ้าห่ม หรือลวดลายบนแก้ว เป็นต้นดังนั้นแล้ว จึงมีวิธีคิดคร่าว ๆ ว่า หากภาพดังกล่าวมีหลักฐานยืนยันว่าอายุเกิน 200 ปี ให้นับเป็น Public Domain ด้วยเหตุผลอายุผู้สร้างสรรค์ 100 ปี บวกอายุคุ้มครอง 100 ปี และการสร้างสรรค์ใด ๆ จากงาน Public Domain ที่ไม่มีองค์ประกอบสร้างสรรค์เพิ่มเติมก็จะไม่ก่อให้เกิดลิขสิทธิ์ใหม่ ยังคงเป็น Public Domain เช่น การถ่ายภาพโดยตรงจากโปสเตอร์ หรือแสกนภาพจากหนังสือที่เป็นลิขสิทธิ์สาธารณะไปแล้ว หรือนำแจกันอายุ 500 ปี มาถ่ายโดยไม่มีองค์ประกอบเพื่อสร้างสรรค์เพิ่มเติมใด ๆ ในภาพเลย เป็นต้นCreative Commons และ Public Domain จึงถือเป็นงานสาธารณะที่หยิบมาใช้ได้ โดยให้ตรวจดูตามสัญลักษณ์ข้างต้น ซึ่งใช้ได้กับสื่อทุกรูปแบบตามที่ปรากฏ แต่ยังคงมีงานอีก 2 แบบที่นิยมใช้กันคือในแบบของ Fair use (การใช้งานโดยชอบธรรม) คือการใช้งานโดยไม่ให้เจ้าของลิขสิทธิ์เสียประโยชน์ เช่น การใช้งานภาพประกอบภาพยนตร์ ภาพโฆษณาเพื่อวิจารณ์ และเป็นการใช้งานภาพในความละเอียดต่ำ เป็นต้น และ Orphan work (ลิขสิทธิ์กำพร้า) คือลิขสิทธิ์ที่ไม่สามารถหาตัวเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริงได้ เช่น ภาพในนิตยสารเก่า สำนักพิมพ์เลิกกิจการ และไม่ได้ลงระบุผู้ถ่ายไว้ โดยไม่อาจหาเจ้าของสิทธิ์ที่แท้จริงได้ ซึ่งในสองข้อหลังนี้แล้วแต่การพิจารณาของผู้ใช้งานขอบคุณภาพประกอบภาพ ปก/1/4/5/6/7/8/9 - creativecommonsภาพ 2/3 - google ภาพ 10 - wikimedia commons เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !