เมื่อประเทศเยอรมันแพ้สงคราม ความสูญเสียที่เกิดขึ้นต่อประเทศเยอรมัน ไม่ได้เกิดแค่การสูญเสียชีวิตของพลเมืองและทหาร หรือการโดนทั่วโลกประณามว่าเป็นผู้ก่อสงคราม หรือความวุ่นวาย แต่รวมไปถึงข้อจำกัดและหนี้สินที่ประเทศเยอรมันได้รับหลังจากลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายกับประเทศอังกฤษ ทั้งข้อจำกัดการรวมกำลังคน การควบคุมอาวุธที่ในครอบครองที่คนในประเทศเยอรมันมีได้ไม่เกิน 5 ชิ้น แต่หมายรวมไปถึงหนี้สินของสงครามที่ประเทศเยอรมันต้องแบกรับ ที่คิดเป็นเงินไทย คือเงินจำนวน 8.4 ล้านล้านบาทในปี 1923 ค่าเงินมาร์คของประเทศเยอรมันได้มีการเฟ้อมาก ชนิดที่ว่าจำนวนเงิน 4 หมื่น 2 พัน มาร์ค มีค่าเทียบเท่ากับเงินจำนวน 1 เซน ของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ทำให้ประเทศเยอรมันไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าหนี้ชดเชยสงครามได้จึงได้คิดนโยบายคิดเงินสกุลใหม่มาใช้แทนเงินสกุลเดิม แต่การชดใช้ยังมีต่อไป แต่ความคิดนี้ถูกยกเลิกไปในปี 1928 เพราะประเทศเยอรมันก็ยังประสบปัญหาในการหาเงินมาใช้หนี้สงครามแผนการของคนใหม่ที่มาแทนที่คนที่ทำงานในตำแหน่งเดิม ก็คือลดหนี้สงคราม ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเยอรมัน กระเตื้องขึ้นมาในระดับหนึ่งแต่น่าเสียดายที่ในยุคสมัยนั้นตรงกับยุค greatest depression พอดีที่เกิดในปี 1929 ซึ่งเป็นยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุดยุคหนึ่งกลุ่มประเทศพันธมิตรก็เลยลงนามกันที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ที่จะยกเลิกหนี้สงครามของประเทศเยอรมัน แต่ประเทศสหรัฐอเมริกากลับปฏิเสธที่จะเห็นชอบความคิดนี้หลังจากนั้นไม่นาน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกในปี 1933 เขาสั่งยกเลิกงานปฏิกรรมสงครามทั้งหมด นอกจากไม่จ่าย เขายังสั่งล้มล้างสนธิสัญญาทุกๆฉบับที่เคยลงนามกับทุกๆประเทศที่ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1และการกระทำนี้ก็ได้รับความยกย่อง ชื่นชม และเห็นด้วยจากคนในประเทศ เพราะคนในประเทศมองว่าหนี้ชดใช้ที่ต้องจ่ายจากการพ่ายแพ้สงคราม เป็นเรื่องที่น่าอัปยศ อดสู และสร้างความเป็นอยู่หรือฐานะที่ลำบากให้กับพวกเขาเป็นอย่างมากแน่นอนว่าพวกเขาแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง คนจำนวน 8 ล้าน 8 แสนคนเสียชีวิตลงจากสงครามโลกครั้งที่สอง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฆ่าตัวตาย และจักรวรรดิไรซ์ที่สามล่มสลายลงและประเทศเยอรมันต้องเผชิญหน้าการเรียกร้องให้จ่ายหนี้สงครามจากกลุ่มประเทศพันธมิตรอีกครั้ง เพียงแต่การจ่ายในครั้งนี้ ไม่ใช่การจ่ายในรูปแบบของเงิน แต่เป็นการรื้อถอนทรัพย์สินทางปัญญาและการจับเชลยทางสงครามไปใช้แรงงานเป็นล้านๆคนตอนนี้เองที่ประเทศเยอรมันได้แบ่งแยกออกมาเป็นประเทศเยอรมันตะวันตกและประเทศเยอรมันตะวันออกโดยมีกำแพงเบอร์ลินกั้นตรงกลางไว้ในปี 1948เนื่องจากนี้คือเรื่องที่เกิดขึ้นจริงทางประวัติศาสตร์ แหล่งอ้างอิงของข้อมูลค่ะ Site.googlesขอขอบคุณเครดิตรูปภาพ หน้าปก / Canvaรูปภาพประกอบที่ 1 โดย Clker-Free-Vector-Images/ 2 โดย VISHNU_KV/ 3 โดย LoboStudioHamburg / Pixabayเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !