รีเซต

จ่อเคลียร์ "ไทยชนะ" หลังครบ 60 วัน ศบค.เผยยังไม่เคยใช้ข้อมูล เหตุไม่พบติดเชื้อโควิด-19

จ่อเคลียร์ "ไทยชนะ" หลังครบ 60 วัน ศบค.เผยยังไม่เคยใช้ข้อมูล เหตุไม่พบติดเชื้อโควิด-19
มติชน
26 มิถุนายน 2563 ( 16:02 )
64
จ่อเคลียร์ "ไทยชนะ" หลังครบ 60 วัน ศบค.เผยยังไม่เคยใช้ข้อมูล เหตุไม่พบติดเชื้อโควิด-19
จ่อเคลียร์ “ไทยชนะ” หลังครบ 60 วัน ศบค.เผยยังไม่เคยใช้ข้อมูล เหตุไม่พบติดเชื้อโควิด-19

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.พลววรรธน์ วิทูรย์กลชิต เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสารและสื่อสังคมออนไลน์ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)(ศบค.) กล่าวถึงการใช้แพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ในประชาชนคนไทย ว่า การประเมินกิจการ/กิจกรรมที่ได้รับการอนุญาตให้เปิดได้ประมาณกว่า 20 กิจการ พบว่า 5 กิจการ ที่ประชาชนประเมินคะแนนเฉลี่ยที่ค่อนข้างต่ำลง ได้แก่ 1.ตลาดนัด 2.ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีกส่ง 3.การจำหน่ายสินค้าเพื่อการอุปโภค บริโภค 4.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ และ 5.ร้านค้าปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจาก 1.ลักษณะทางกายภาพ 2.พฤติกรรมของคนที่เดินไปแล้วไม่ได้เดินกลับมาดูว่ามีมาตรการเหล่านั้นหรือไม่ 3.ประชาชนจำนวนมาก หนาแน่น 4.การสวมหน้ากากอนามัย

 

นพ.พลววรรธน์ กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีการอัพเดตแอพพ์ฯ ไทยชนะ ให้มีการจองก่อนเข้าใช้บริการในสถานที่ เช่น อุทยานแห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์ หรือสถานที่ที่มีผู้เข้าใช้บริการจำนวนมาก โดยจะมีการปรับเปลี่ยนในผู้ให้บริการ สามารถเข้าไปเพิ่มระบบการจองเข้าสถานที่ได้ โดยสามารถเลือกเป็นรอบ หรือ เป็นวัน โดยกำหนดได้ว่าจะให้มีการจองได้สูงสุดร้อยละเท่าไหร่ของจำนวนการจุคนทั้งหมดของสถานที่ ซึ่งสูงสุดให้จองได้ที่ร้อยละ 40 อีกร้อยละ 60 เป็นการเข้าเช็กอิน หากมีการจองแล้วผู้ใช้บริการไม่มา ทางระบบจะมีการตัดและเกลี่ยจำนวนให้

 

“เราไม่ต้องการเกิดความแออัดในจุดบริการ และเพื่อให้เกิดระยะห่างทางสังคม ผู้ประกอบการสามารถเข้าเว็บไซต์ไทยชนะ เหมือนที่ลงทะเบียน และเข้าไปแก้ไขเพิ่มเติม โดยประชาชนสามารถสามารถเข้าค้นหาร้านและทำการจองได้ และจะมีคิวอาร์โค้ดให้สำหรับเช็กอิน” นพ.พลววรรธน์ กล่าว

นพ.พลววรรธน์ กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม ยังไม่มีการเรียกใช้ข้อมูลในระบบ เนื่องจากยังไม่มีการป่วยเกิดขึ้น และเมื่อครบ 60 วัน จะมีการลบครั้งแรก ดังนั้นจะเน้นย้ำว่า ไทยชนะ คำนึงถึงความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว โดยหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา จะมีเพียงผู้ที่เสี่ยงเท่านั้นที่รับทราบข้อมูล โดยไม่ต้องเปิดเผยกับสาธารณะ

 

นพ.พลววรรธน์ กล่าวว่า การติดสแปม iMessage ในระบบ IOS ของบริษัท Apple ขอย้ำว่าไม่เกี่ยวกับไทยชนะ เนื่องจากได้เรียกทางบริษัทดังกล่าวมาแล้ว 2 รอบ และรอบที่ 3 ได้ส่งหนังสือเตือนแล้ว แต่ยังไม่มีการตอบรับหรือแก้ไขเรื่องนี้ โดยการส่งใน iMessage เป็นการส่งแบบไม่เสียเงิน จึงทำให้มีผู้ที่ไม่หวังดีใช้ช่องทางนี้ในการส่งข้อมูลเข้ามายังประเทศไทยในช่วงนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง