สวัสดีชาวทาสแมวทุกคนค่ะ การเลี้ยงสัตว์หนึ่งตัวมีรายละเอียดที่เราต้องศึกษาเยอะแยะมากมายเลยล่ะค่ะ ทั้งพฤติกรรม ลักษณะนิสัยส่วนตัวหรือแม้กระทั่งโรคภัยต่าง ๆ ทั้งในแง่การป้องกันและรักษาโรค หนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในแมวคือ "กระเพาะปัสสาวะอักเสบ" ป่วยขึ้นมาที ทาสกระเป๋าสตางค์ฉีกได้เลยค่ะ ทาสแมวอย่างเราเองก็เคยเผชิญกับช่วงเวลานั้นมา บอกเลยว่ายากลำบากกว่าที่คิดเอาไว้พอสมควร พี่ ๆ ทาสแมวมาทางนี้ค่ะ วันนี้เราจะมารีวิวอาการแมวป่วยด้วยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ รวมถึง วิธีสังเกตอาการและป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในแมวตัวผู้และตัวเมีย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Feline lower urinary tract disease (FLUTD) 3 สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้แก่การมีนิ่วอุดตันในทางเดินปัสสาวะ ทำให้ช่องทางเดินปัสสาวะอุดตันหรือแคบลงตามขนาดของก้อนนิ่วการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในระบบทางเดินปัสสาวะ พบได้บ่อยในแมวที่อายุมากเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ มีแมวมากกว่า 50% ที่มีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โดยไม่ทราบสาเหตุ และมีโอกาสเกิดโรคซ้ำได้สูงกว่าสองข้อข้างต้นสำหรับน้องแมวของเรา คุณสัตวแพทย์แจ้งว่าเป็นโรคกระเพราะปัสสาวะอักเสบ แบบไม่ทราบสาเหตุเช่นกันค่ะรีวิวอาการแมวป่วยด้วยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ รวมถึง วิธีสังเกตอาการและป้องกันสำหรับประวัติของน้องคร่าว ๆ มีดังนี้ค่ะ ชื่อ : หมูอ้วน เพศ : เมีย พันธุ์ : ไทย อายุ : 6 ปี ทำหมันแล้ว น้ำหนัก 5.6 กิโลกรัมอาการที่พบและวิธีสังเกตอาการเข้าออกห้องน้ำบ่อยจนผิดสังเกตสำหรับน้องแมวบางบ้านจะใช้กะบะทรายเป็นหลักใช่ไหมคะ แต่สำหรับหมูอ้วนจะชอบเข้าห้องน้ำแบบคนเลยค่ะ นั่นก็คือ การนั่งปัสสาวะและขับถ่ายบนชักโครก เราสังเกตว่าน้องเข้าออกห้องน้ำบ่อย และโดยปกติถ้าน้องเข้าห้องน้ำ เราเองจะต้องเข้าไปทำความสะอาด โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในทันทีค่ะ เพราะเป็นการใช้ร่วมกันระหว่างคนกับสัตว์ด้วย แต่ในช่วง 2-3 วันนั้น หลังจากน้องออกจากห้องน้ำก็พบว่าไม่มีร่องรอยการปัสสาวะหรืออุจจาระแต่อย่างใด ปัสสาวะเรี่ยราด ไม่เป็นที่เป็นทาง โดยปกติแล้ว น้องค่อนข้างมีนิสัยรักสะอาดและไม่ใช้กะบะทรายกับแมวตัวอื่นเลยค่ะ น้องเป็นตัวเดียวในบ้านที่ใช้ห้องน้ำร่วมกับคน แต่ในช่วงวันที่ 3-4 ที่เริ่มสังเกตอาการ ต้องเริ่มเข้าไปใช้กะบะทรายกับแมวอีก 2 ตัวในบ้าน โดยน้อยครั้งมาก ๆ ที่จะเป็นแบบนั้นปัสสาวะปนเลือดหรือเป็นเลือดจากข้อ 1 และ 2 เราสังเกตอาการต่อเนื่อง จนในที่สุดก็พบว่ามีคราบหยดสีแดง ๆ อยู่บริเวณชักโครกปนมากับน้ำสีเหลืองที่คาดว่าจะเป็นปัสสาวะของน้อง ชอบเลียขนบริเวณหน้าท้องส่วนล่างลงไปถึงอวัยวะเพศจุดนี้เป็นจุดสังเกตที่ดีเลยค่ะ เวลาน้องแมวมีอาการเจ็บปวดบริเวณไหน เค้าจะเลียตรงนั้นบ่อยมาก ๆ หมูอ้วนก็เช่นกันค่ะ น้องเลียบริเวณอวัยวะเพศบ่อยมาก เดิน ๆ อยู่จู่ ๆ ก็นั่งลงแล้วเลีย วนลูปอยู่แบบนั้นทั้งวัน ปัสสาวะติดขัดหรือปัสสาวะไม่ออกเป็นอาการหลักอีกหนึ่งอย่างของโรคนี้ ซึ่งเคสของหมูอ้วนจะเป็นอาการปัสสาวะติดขัดและมีเลือดปนออกมาค่ะเข้าวันที่ 4 ทาสอย่างเราก็อยู่ไม่สุข ไม่มีสมาธิทำงานแล้วค่ะ โทรนัดกับทางคลินิก หยิบกุญแจและสตาร์ทรถ ไปพบคุณหมอกัน! คลินิกที่เราพาน้องไปชื่อว่าศิริพงศ์ รักษาสัตว์ เป็นคลินิกใกล้บ้าน ตั้งอยู่ใน อ.เมือง จ.ขอนแก่นค่ะ หลังจากคุณหมอซักประวัติต่าง ๆ แล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนการวินิจฉัยโรคค่ะ เราเองได้แจ้งอาการที่กล่าวไว้ด้านบนให้คุณหมอฟัง คุณหมอจึงแจ้งกลับมาว่า ปัญหาน่าจะอยู่ที่ช่องท้องแน่นอน ขั้นตอนต่อไปก็คือการโกนขนหน้าท้องออก เพื่อทำการอัลตร้าซาวด์ดูช่องท้องค่ะ ผลจากการอัลตร้าซาวด์พบว่า ในส่วนของกระเพาะปัสสาวะของน้องมีฝ้าขาว ๆ อยู่ ซึ่งเป็นไปได้ทั้งการติดเชื้อบางอย่างหรือการเป็นแผลในส่วนนั้น โชคดีที่อาการยังไม่หนักมาก จึงได้ยามารับประทาน ยาตัวที่ 1 ชื่อ ROWATINEX KapszulaRowaลักษณะเป็นเม็ดแคปซูลกลมสีเหลือง ด้านในเม็ดบรรจุเป็นของเหลวคล้าย ๆ น้ำมันค่ะ โดยรับประทานวันเว้นวัน ครั้งละ 1 เม็ด สรรพคุณของยานี้ คือ ช่วยขับนิ่ว ละลายนิ่ว ช่วยเพิ่มการขับปัสสาวะ เคสของหมูอ้วนจะใช้ในกรณีช่วยเพิ่มการขับปัสสาวะค่ะยาตัวที่ 2 ชื่อ ENROCINTAB Enrofloxacin 50 mg. ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีไข่ เป็นยาปราบเซียนเพราะคุณเค้ามีรสขมเหมือนยาคนเลยค่ะ กว่าน้องหมูอ้วนจะกินได้ ทาสเหงื่อตกไปครึ่งลิตร แถมยังต้องรับประทานทุกวัน วันละ 1 เม็ดไปอี๊ก สรรพคุณของยาตัวนี้ คือ รักษาการติดเชื้อในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ผิวหนังติดเชื้อ ทางเดินปัสสาวะ ซึ่งแน่นอนว่าในกรณีเราใช้ในกรณีของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะค่ะการกินยาพาร์ทของการกินยา ไม่อยากจะเล่าเลยค่ะ มันยากกว่าที่คิดมาก ตัวทาสเองทั้งเครียดและสงสารน้องมาก ๆ การกินยาของแมวแต่ละตัวจะใช้วิธีที่แตกต่างกันไป แล้วแต่ลักษณะนิสัยของแมวเลยค่ะ บางตัวกินง่าย บางตัวกินยาก สำหรับหมูอ้วนก็คือ หลวงตา is calling สุด ๆ จริง ๆ คุณหมอให้ที่ป้อนยามานะคะ แต่พอน้องรู้ว่านี่คือการกินยาที่ไม่อร่อย ก็คือ กัดปากแน่นสุด ๆ ยาไมเกรนต้องเข้าทาส ไม่เป็นไร ไหนลองเอาไปผสมอาหารเปียกดูละกัน แน่นอนว่าน้องกินอาหารเปียกหมดค่ะ แต่! เหลือส่วนที่ผสมยาไว้เล็กน้อย//😭 จนสุดท้ายยังคงต้องใช้ที่ป้อนยาเหมือนเดิม และป้องกันไม่ให้น้องดิ้นด้วยการใช้ผ้าห่อตัว เรียนเชิญคุณอามาจับให้แน่น ส่วนทาสทำหน้าที่ป้อนยา ในส่วนของเม็ดยาก็ต้องพยายามให้เข้าไปลึกที่สุด เค้าจะบได้คายไม่ได้ ถามว่าเป็นความพยายามครั้งที่เท่าไหร่กว่าจะสำเร็จ ขออนุญาตหัวเราะทั้งน้ำตาและบอกว่าไม่ต่ำกว่า 10 รอบเลยจ้า 😂หลังรับประทานยาเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งที่น้องตอบสนองต่อยาไวมากค่ะ วันที่ 3-4 น้องไม่มีปัสสาวะที่ปนเลือดแล้ว ค่อย ๆ ปัสสาวะได้มากขึ้น จน 1 สัปดาห์ การปัสสาวะเป็นปกติ แต่ก็ยังคงทานยาต่อไปจนครบและไปพบคุณหมอตามนัด เพื่ออัลตร้าซาวด์ช่องท้อง จนอาการปกติ 100% ค่ะการป้องกันไม่ใหเกิดโรคปัสสาวะอักเสบในแมว การดูแลสุขภาพและปรับพฤติกรรมช่วยกระตุ้นให้น้องแมวทานน้ำให้มากขึ้น เช่น การวางชามน้ำไว้ใกล้ ๆ กับชามอาหาร เปลี่ยนน้ำเสมอ เพราะถ้าเป็นน้ำเก่า ๆ เค้าจะไวต่อกลิ่นมาก เหม็นจ้า เราไม่กินน้าทาส 🤣น้องบางตัวไม่ชอบน้ำนิ่ง ๆ ค่ะ อาจใช้น้ำพุแมวช่วยดึงดูดน้องก็ได้ ให้อาหารเป็นเวลาและปริมาณเหมาะสม ถ้าให้อาหารแบบบุฟเฟ่ต์ พวกไขมันต่าง ๆ สามารถไปสะสมบริเวณท่อทางเดินปัสสาวะได้ จนเกิดเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ค่ะ ดูแลรักษาความสะอาดห้องน้ำหรือกะบะทรายของน้องอย่างสม่ำเสมอ นิสัยของแมวรักสะอาดเป็นทุนเดิมอยู่แล้วล่ะค่ะ ความสกปรกนอกจากจะทำให้เค้าไม่อยากเข้าไปทำธุระแล้ว ยังก่อให้เกิดความเครียดได้อีกด้วยพยายามไม่ให้น้องแมวเครียด ความเครียดทำให้น้องกังวลจนไม่อยากกิน ไม่อยากเข้าห้องน้ำ จนทำให้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในบ้านที่เปลี่ยนไป การย้ายบ้าน การมีสมาชิกใหม่ ทั้งน้องหมาน้องแมวตัวใหม่หรือบุคคลในบ้านเพิ่มขึ้นก็ล้วนแต่เพิ่มความเครียดให้น้องหมดเลยค่ะ ถ้าจำเป็นจะต้องมีสิ่งไหนเปลี่ยนแปลง ทาสอย่างเราก็ต้องปลอบประโลมเค้าเยอะ ๆ ให้น้องผ่อนคลายน้า ดูแลเรื่องน้ำหนัก นอกจากอาหารที่มีผลต่อน้ำหนักแล้ว แมวบางตัวก็ไม่ชอบเดิน ไม่ชอบขยับตัว 1 วันมี 24 ชม. คุณเค้านอนไปแล้ว 23 ชม. อีก 1 ชม.คือลุกมากิน ไม่ได้ค่ะเจ้านาย เรียนเชิญมากเล่นกัน ให้เบิร์น ๆ ก่อนจ้า พาน้องขยับตัวเยอะ ๆ ค่ะ ไม่ว่าจะพาไปเดินเล่น หรือชวนเล่นของเล่นก็ได้ เพื่อลดการสะสมของไขมันนั่นเอง ในส่วนของดูแลสุขภาพและการปรับพฤติกรรมทั้ง 5 ข้อนี้ แม้ว่าจะหยุดรับประทานยาไปแล้ว และอาการต่าง ๆ ก็หายแล้ว แต่ยังต้องทำอย่างต่อเนื่องค่ะ เพราะว่าโรคนี้สามารถเป็นซ้ำได้ทุกเมื่อเลย ยิ่งหากปล่อยปะละเลย ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้สูงขึ้นไปอีก หวังพี่ ๆ ทาสคนไหนดูแลแมวป่วยอยู่ก็สู้ ๆ นะคะ ส่งกอดอุ่น ๆ ไป🫂💜 ส่วนพี่ ๆ ทาสที่น้องแมวยังแข็งแรงดีก็อย่าลืมหมั่นสังเกตอาการน้องและป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่าง ๆ ด้วยนะคะ 😻ภาพปกและภาพประกอบโดยผู้เขียน ตกแต่งโดย canva