‘Passion’ หรือ ‘แพชชั่น’ แปลเป็นไทยได้ว่า ‘ความหลงใหล, แรงผลักดัน’ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องมี เพราะมันจะช่วยเป็นแรงกระตุ้นในการที่เราจะอยากทำอะไรสักอย่าง เช่น เป็นคนชอบใช้เงินเยอะ ก็จะขยันทำงานหาเงิน เป็นต้น และสำหรับหัวข้อในวันนี้ ไรท์ก็จะมาพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับ ‘Passion’ เนี้ยแหละค่ะ แต่เป็นในการทำงาน กับหัวข้อ ‘หมด Passion ในการทำงาน’ ควรทำยังไงดี? เนื่องจากการทำงานของแต่ละบุคคล มีความแตกต่างกันออกไป แต่แน่นอนว่าในทุก ๆ การทำงาน ‘ความหลงใหล’ และ ‘แรงผลักดัน’ ของ ‘Passion’ มีผลกระทบต่อเนื้องานที่เราจะกระทำออกมา ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่าย ก็เหมือนคนไปทำงานด้วยความกระตือรือล้น เพราะมี ‘Passion’ ในการทำงาน กับอีกคนที่มาทำงานด้วยความเบื่อหน่าย เพราะไม่มี ‘Passion’ ในการทำงาน เป็นต้นเครดิต : https://www.pexels.comซึ่งวันนี้เราก็จะมาพูดถึงวิธีการแก้ไขปัญหานี้กันนะคะ แต่ไรท์ก็ต้องขอออกตัวบอกก่อนเลยว่า ทุก ๆ อย่างมันขึ้นอยู่กับตัวบุคคล และอาชีพของบุคคลนั้น ๆ ด้วย เพราะแน่นอนว่าคนเราแต่ละคนทำงานไม่เหมือนกัน งานบางคนคือเอกสาร ทำวนเวียนอยู่แต่เรียงเอกสาร ตรวจเอกสาร เช็คความถูกต้องของเอกสาร อนุมัติไม่อนุมัติ แล้วทำแบบนี้มาแบบเป็นสิบ ๆ ปี แน่นอนว่าเป็นใครก็ต้องเบื่อแหละค่ะ เพราะมันค่อนข้างจำเจ ต่างกับงานของบางคนที่ต้องออกอีเว้นท์บ่อย ๆ ขับรถไปที่นั่นที่นี้ เจอผู้คนมากมาย มีสถานการณ์ต่าง ๆ เขามาให้แก้ไขอยู่ตลอดเวลา มันก็คงจะไม่เบื่อถูกไหมค่ะ เพราะงานมันมีความท้าทายนั่นเองแบบแรกเลยสำหรับผู้ที่ ทำงานซ้ำซากจำเจ ในบางสายอาชีพ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงยาก เพราะมองไปทางไหนก็มีแต่รูปแบบเดิม ๆ เช่น งานธุรการ งานเอกสาร งานทะเบียน ประเภทนี้หากคุณรู้สึกหมด ‘Passion’ ก็บอกเลยว่าไม่แปลกค่ะ เพราะมันอยู่กับที่จริง ๆ ทำให้หลาย ๆ คนต้องทนทำงานเพียงเพราะเหตุผลทางการเงินเท่านั้น แบบนี้แนะนำให้มองหาอะไรอย่างอื่นทำแทนนะคะ หากเป็นไปได้ แต่ก็อย่าลืมเช็คตัวเองก่อนว่าเราจะเดือดร้อนไหม หากต้องเปลี่ยนงาน เป็นต้นเครดิต : https://www.pexels.comส่วนอีกแบบหนึ่งก็คือ สายงานที่ไม่ได้จำเจซ้ำซาก ต้องพบผู้คนแปลกตาอยู่บ่อย ๆ หรือออกนอกสถานที่อยู่บ่อย ๆ เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายประสานงาน ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ เป็นต้น หากคุณรู้สึกหมด ‘Passion’ แบบกลับกันกับงานแบบแรกคือ อยากอยู่กับที่บ้าง อยากทำงานที่ไม่ต้องออกไปไหน ไม่ต้องเดินทางบ่อย ๆ ก็ลองเปลี่ยนงานดูค่ะ หรือลองหาอะไรใหม่ ๆ ที่ท้าทายตนเองขึ้นมา เช่น ทำงานที่ยากขึ้น ไปเรียนเสริมเพิ่มเติมทักษะให้ตนเอง จะได้หาลูกค้าได้หลากหลายกลุ่มขึ้น เช่น เรียนภาษาต่างประเทศ เพื่อให้สื่อสารขายงานให้ลูกค้าต่างชาติได้ เป็นต้นจ้าแต่หากเป็น สายงานบันเทิง เช่น ครีเอทีฟ เบื่องหลัง ออกกอง ที่เป็นงานที่ค่อนข้างไม่น่าเบื่อ และผลตอบแทนก็ค่อนข้างดี แต่คุณก็ยังเบื่อและไม่อยากมาทำงาน เพราะอะไรหลาย ๆ อย่าง อาจจะเพราะ เพื่อร่วมงานน่าเบื่อ หัวหน้าน่าเบื่อ หรือคุณอยากมีธุรกิจของตนเองรึเปล่า หรืออยากออกมาเป็นฟรีแลนซ์ ทำงานอิสระ หรือมองเห็นปลายทางของงานแล้วยังไม่เป็นที่พึงพอใจ ก็แนะนำให้ลองมองหาหนทางอื่น ๆ ดูนะคะ เผื่อว่าจะเจอที่พอดีกับตัวเองค่ะหรือเทริน์ตัวเองออกมาเป็นสายฟรีแลนซ์ เพื่อที่จะเลือกรับงานได้ แล้วยังมีเวลามาทำอะไรที่ตนเองยังอยากทำ ก็จะดีนะคะ เพราะอย่างน้อยเราก็ไม่ได้ทิ้งงานเก่าที่น่าเบื่อไปเลย เผื่ออะไรที่เราออกมาทำมันไม่เวริค์ก็จะได้กลับไปทำได้อยู่ ประมาณนี้จ้า เซฟไว้ก่อนเครดิต : https://www.pexels.comก็ประมาณนี้นะคะ สำหรับการแนะนำจากความคิดเห็นส่วนตัวของไรท์ ในหัวข้อ ‘หมด Passion ในการทำงาน’ ควรทำยังไงดี? ก็จะออกมาเป็นแบบนี้เนอะ ก็หวังว่าเพื่อน ๆ พี่ ๆ หรือน้อง ๆ หลาย ๆ คนที่รู้สึกเบื่องานจะได้ประโยชน์กับบทความนี้นะคะ และอยากผากทิ้งท้ายไว้หน่อยว่า ‘เบื่องาน เพราะ หมด Passion’ กับ ‘เบื่องาน เพราะ เลือกงาน, เกี่ยงงาน, ไม่สู้งาน’ มันมีเส้นคั่นบาง ๆ อยู่นะคะ เพราะฉะนั้นแยกมันให้ออก สำหรับหลาย ๆ คนที่ทำงานแบบแป๊บ ๆ ลาออก แบบนี้ไม่ดีเลยนะคะ งานทุกงานมีข้อดี และข้อเสีย หากเราจะเอางานที่ดีพึ่งพอใจทุกอย่าง มันเป็นไปได้ยากแน่นอน และที่สำคัญที่สุด คือเราต้องมองตัวเองก่อน ว่าเราเก่งพอไหม ดีพอไหม กับงานที่เราต้องการ ฝากไว้ให้คิดจ้าเครดิตภาพหน้าปก : https://www.freepik.com