รีเซต

‘ส.ภัตตาคารไทย’ เผยธุรกิจอาหารไทยโกยเงินต่างชาติกว่า 7 แสนล้านบาท แต่เข้าไม่ถึงมาตรการช่วยเหลือของรัฐ

‘ส.ภัตตาคารไทย’ เผยธุรกิจอาหารไทยโกยเงินต่างชาติกว่า 7 แสนล้านบาท แต่เข้าไม่ถึงมาตรการช่วยเหลือของรัฐ
มติชน
13 กรกฎาคม 2563 ( 12:53 )
52
‘ส.ภัตตาคารไทย’ เผยธุรกิจอาหารไทยโกยเงินต่างชาติกว่า 7 แสนล้านบาท แต่เข้าไม่ถึงมาตรการช่วยเหลือของรัฐ

‘ส.ภัตตาคารไทย’ เผยธุรกิจอาหารไทยโกยเงินต่างชาติกว่า 7 แสนล้านบาท แต่เข้าไม่ถึงมาตรการช่วยเหลือของรัฐ

นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีรายได้จากภาคการท่องเที่ยว 3.3 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจอาหารกว่า 20% หรือมูลค่าประมาณ 7 แสนล้านบาท ส่วนการบริโภคในประเทศ มีมูลค่าประมาณ 4 แสนล้านบาท ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารไทย แบ่งเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารหาบเร่แผงลอย รถเข็นต่างๆ หรือรวมเป็นร้านอาหารแบบสตรีทฟู๊ด มีจำนวน 4.2 แสนราย ผู้ประกอบการแบบมีสถานที่ตั้งขายบนพื้นที่ตั้งแต่ 50-200 ตาราเมตรขึ้นไป มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย มีจำนวน 1.2 แสนราย ซึ่งแม้ธุรกิจอาหารไทยจะมีมูลค่าตลาดเกินกว่า 1 ล้านล้านบาท แต่ยังไม่มีการสนับสนุนจากรัฐบาลเท่าที่ควร แตกต่างจากธุรกิจประเภทอื่น ที่มีการดูแลและมีองค์กรมหาชนสนับสนุนจำนวนมาก

“ปัญหาของผู้ประกอบการร้านอาหารจำนวนมาก มีกระแสเงินสด แต่ไม่มีการจัดทำระบบบัญชี และไม่มีการจดทะเบียนการค้า ทำให้เมื่อรัฐบาลมีมาตรการแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ออกมา ผู้ประกอบเหล่านี้จึงไม่สามารถเข้าถึงได้ รวมถึงแรงงานในร้านอาหารไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ทำให้มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลเข้าไม่ถึงแรงงานกลุ่มนี้” นางฐนิวรรณกล่าว

นางฐนิวรรณกล่าวว่า ธุรกิจร้านอาหารมีแรงงานไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคน ซึ่ง 50% ของแรงงานทั้งหมดเป็นต่างด้าว โดยผลกระทบของโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการต้องเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก เพราะต้องปิดกิจการชั่วคราว และเมื่อกลับมาเปิดได้อีกครั้ง ก็มีความต้องการแรงงานจำนานกว่า 1.5 ล้านคน จึงพยายามที่จะจ้างแรงงานไทยที่ว่างงานเป็นจำนวนมากแทนต่างด้าว แต่พบปัญหาเรื่องความไม่อดทนของแรงงานไทย อาทิ มีร้านอาหารกลับมาเปิดได้ 1 เดือน จ้างลูกจ้างคนไทย ในระยะ 1 เดือน เปลี่ยนลูกจ้างแล้วกว่า 8 ชุด จึงต้องหาวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของแรงงานผู้ว่างงาน เพราะความจริงแล้ว ผู้ประกอบการก็ไม่ได้อยากจ้างแรงงานต่างด้าว แต่เพราะคนไทยทำงานไม่ทนเท่าที่ควร การจ้างแรงงานต่างด้าวจึงเกิดขึ้น

นางฐนิวรรณกล่าวว่า คนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำร้านอาหารในจังหวัดกรุงเทพมหานคร สามารถขายอาหารได้ง่าย โดยเฉพาะหาบเร่แผงลอย หรือรถเข็นต่างๆ ซึ่งหากพิจารณาตามความเป็นจริง ต้องยอมรับว่าร้านอาหารสตรีทฟู๊ด ไม่ได้มีมาตรฐานเทียบเท่าร้านอาหารหรือภัตตาคาร เพราะแม้จะไม่มีมาตรฐานก็ขายได้ในหมู่คนไทย จึงอยากให้หาวิธีปรับพฤติกรรมของประชาชน ให้สนใจเรื่องมาตรฐาน และมีความตื่นตัวมากขึ้น ซึ่งการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เข้ามาเป็นส่วนช่วยให้ประชาชนตื่นตัว ป้องกันตนเอง และให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยมากขึ้น โดยโควิด-19 ส่งผลกระทบให้พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอยเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัด ต้องปิดตัวลงกว่า 50,000-60,000 ราย จึงอยากให้รัฐบาลหาทางคืนคนเหล่านี้กลับสู่ชนบท เพื่อประกอบอาชีพที่ท้องถิ่นของตนเองแทน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง