การลาออกของพนักงานตามรูปแบบสัญญาจ้างมี 2 แบบ คือ 1.สัญญาจ้างแบบมีระยะเวลา เช่น ลูกจ้างเซ็นสัญญาไว้ 1 ปี จะไม่สามารถลาออกก่อนกำหนดได้ หากต้องลาออกด้วยความจำเป็นใด ๆ ก็ตาม ลูกจ้างต้องจ่ายค่าเสียหายให้นายจ้างตามข้อตกลง 2.สัญญาจ้างแบบไม่กำหนดระยะเวลา คือสัญญาจ้างงานของลูกจ้างประจำทั่วไป ลูกจ้างสามารถลาออก เมื่อใดก็ได้ โดยทำตามกฎหมาย และระเบียบของบริษัทที่ไม่ขัดต่อข้อกฏหมายลาออกอย่างไรจึงถูกกฏหมาย เป็นธรรมทั้งฝ่ายลูกจ้าง และนายจ้าง1. กฏหมายแรงงานว่าด้วยการลาออก หรือการบอกเลิกสัญญาจ้าง...หลักกฏหมายแรงงานนั้น หากลูกจ้างทำงานด้วยสัญญาว่าจ้างแบบทั่วไปไม่กำหนดระยะเวลาสามารถแจ้งการลาออกต่อนายจ้างได้ล่วงหน้า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง (ตาม ม.17 ว2 แห่ง พรบ. คุ้มครองแรงงาน) โดยแจ้งเป็นหนังสือลาออกหรือแจ้งด้วยวาจา (ฎีกาที่ 6701/2549) โดยทั่วไปนายจ้างจะระบุในระเบียบของบริษัทให้พนักงานแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน แม้กฏหมายไม่ได้กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อให้มีเวลาพอในการสรรหาว่าจ้างพนักงานใหม่ มีเวลาพอในการสะสางงานที่คั่งค้าง และโอนถ่ายงาน2. ลูกจ้างต้องเขียนใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่...การลาออกไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ในทางปฏิบัติ การแจ้งลาออกแบบเป็นลายลักษณ์อักษรส่งผลดีกับลูกจ้าง เรื่องสิทธิประกันสังคม สิทธิกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสิทธิอื่น ๆ อันพึ่งมี ส่วนผลดีกับนายจ้าง คือเป็นการป้องกันการฟ้องร้องค่าชดเชยอื่นใดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และสะดวกในการดำเนินการด้านเอกสารกับหน่วยงานราชการในการแจ้งลาออกของลูกจ้าง เพราะฉะนั้นลูกจ้างเขียนใบลาออกเถอะดีกว่าไม่เขียนแน่นอน3. การลาออกจำเป็นต้องระบุเหตุผลการลาออกหรือไม่...ไม่จำเป็น หากไม่บอกเหตุผลการลาออกนั้นถือว่าสมบูรณ์เช่นกัน 4. การลาออกของลูกจ้างมีผลเมื่อใด ต้องรอให้นายจ้างอนุมัติก่อนหรือไม่...การลาออกของลูกจ้างเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ลูกจ้างมีต่อนายจ้าง เมื่อแจ้งความประสงค์แล้วถือว่าบอกเลิกสัญญาสมบูรณ์ในวันที่ลูกจ้างกำหนดไว้ (ก่อนวันจ่ายเงินค่าจ้าง 1 งวด) ไม่ต้องรอการอนุมัติของนายจ้างอีกแต่อย่างไร (ฎีกาที่ 6020/2545)5. นายจ้างมีสิทธิในการระงับการลาออกของลูกจ้างหรือไม่...นายจ้างไม่มีสิทธิระงับใบลาออก เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออก แจ้งวันที่มีผลบังคับแล้วถือว่าการลาออกนั้นสิ้นสุด หากแต่การลาออกของลูกจ้างส่งผลเสียหายต่อนายจ้าง นายจ้างมีสิทธิฟ้องต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายได้ 6. นายจ้างมีสิทธิระงับการจ่ายเงินเดือนของลูกจ้าง กรณีลาออกได้หรือไม่...นายจ้างไม่มีสิทธิในการระงับการง่ายเงินเดือน ต้องจ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างจนถึงวันสุดท้ายที่ลูกจ้างทำงาน หรือวันสิ้นสุดสัญญาตามที่ลูกจ้างแจ้งไว้ ในส่วนของบริษัท เมื่อพนักงานแจ้งลาออกแล้ว บริษัทมีหน้าที่พึงต้องปฏิบัติหลายอย่าง เช่น แจ้งลาออกจากกองทุนประกันสังคม กองทุนเงินสำรองเลี้ยงชีพ ต้องออกเอกสารหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือ 50 ทวิ ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ตามสิทธิอย่างครบถ้วน จะหลีกเหลี่ยงไม่กระทำไม่ได้ ในทางปฏิบัติ และถือเป็นมารยาท การลาออกควรเขียนจดหมายลาออก แจ้งความประสงค์การลาออกพร้อมเหตุผล แจ้งวันที่มีผลบังคับให้ชัดเจน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีไว้กับบริษัทเป็นเรื่องไม่เหนือบ่ากว่าแรง เพราะในอนาคตเราอาจต้องติดต่อกับบริษัทเพื่อสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของเรา หรืออาจได้กลับมาร่วมงานกันอีกวันใดวันหนึ่ง หรืออาจได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในอนาคต เรื่อง BUTR CLUB ภาพหน้าปกปรับแต่งด้วย Canva ภาพจาก RoadLight /Pixabayภาพประกอบ ภาพที่ 1 จากmohamed_hassan /Pixabayภาพประกอบ ภาพที่ 2 จาก mohamed_hassan /Pixabayภาพประกอบ ภาพที่ 3 จาก mohamed_hassan /Pixabayภาพประกอบ ภาพที่ 4 จาก mohamed_hassan /Pixabay ภาพประกอบ ภาพที่ 5 จาก mohamed_hassan /Pixabay *STAR COVER"อย่ามัวแต่ดูมาดังกัน"* ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ขอชวนทุกคนมาสนุกโคฟเวอร์ พร้อมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 บาท (5 รางวัล) โคฟคนที่ใช่ ไลค์คนที่ชอบ`ร่วมสนุกได้ที่ ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ห้อง cover บนแอปทรูไอดี`คลิกเลย >> https://ttid.co/UAnK/7y9jfqkqอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://bit.ly/3O1cmUQร่วมสนุกตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2565 - วันที่ 3 สิงหาคม 2565