หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้จักกับคำว่า GNSS (Global Navigation Satelite System) แต่ถ้าถามถึงคำว่า GPS (Global Positioning System) ซึ่งเป็นระบบหนึ่งของ GNSS หลาย ๆ คนก็คงตอบว่ารู้จัก และรู้จักในฐานะผู้นำทาง แต่จริง ๆ แล้ว GNSS หรือ GPS มีบทบาทสำคัญในด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากการนำทางอีก เช่น การระบุค่าพิกัด ณ ตำแหน่งนั้น โดยวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการระบุค่าพิกัดด้วย GNSS หรือที่เรียกกันว่า RTK GNSS NetworkRTK GNSS Network คืออะไร ?การสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ หรือ Real Time Kinematic คือ การระบุค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ ณ เวลาทำการสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียม ถูกคิดค้นในปี ค.ศ. 1990 ปัจจุบันการสำรวจรังวัดแบบ RTK ถูกทำให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นโดยการใช้ระบบเครือข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียมถาวร (Continuos Operating Reference Station : CORS) หลักการของทั้งสองแบบยังคงเหมือนเดิม แต่ต่างกันที่ต้องขอรหัสผู้ใช้ (user name) จากผู้ให้บริการเครือข่าย เพื่อเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเรียกว่า การสำรวจรังวัดด้วยระบบโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ หรือ RTK GNSS Network RTK GNSS Network มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ?สถานีรับสัญญาณดาวเทียมถาวร (Continuos Operating Reference Station : CORS)ศูนย์ควบคุม (Control Center)เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ (Rover) หลักการทำงานของ RTK GNSS Network คืออะไร ?สถานีรับสัญญาณดาวเทียมอ้างอิง (CORS) จะรับสัญญาณดาวเทียมตลอด 24 ชั่วโมง จากนั้นจะส่งข้อมูลที่ได้กลับไปยังศูนย์ควบคุม (Control Center)ผู้ใช้งานทำการเชื่อมต่อระบบโดยเข้ารหัสจากผู้ให้บริการเครือข่าย จากนั้นเครื่องรับสัญญาณ (Rover) จะส่งค่าพิกัดโดยประมาณไปยังศูนย์ควบคุม (Control Center)ระบบจะสร้างตำแหน่งสถานีอ้างอิงเสมือน (Virtual Reference Station : VRS) มาให้ใกล้ ๆ กับตำแหน่งเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมของผู้ใช้งาน (Rover)การทำงานจะเหมือนการรังวัดดาวเทียมแบบจลน์ คือ มีเส้นฐานสั้น ๆ จากสถานีอ้างอิงเสมือน ทำให้ผู้ใช้งานจะได้ค่าพิกัดที่มีความถูกต้องสูง ณ เวลานั้น หากผู้ใช้งานเคลื่อนที่ออกห่างจากสถานีอ้างอิงเสมือนมากเกินไป ระบบก็จะทำการคำนวณและสร้างสถานีอ้างอิงเสมือนให้ใหม่ ณ ตำแหน่งใกล้เคียงกับเครื่องรับ ข้อดีในการใช้งานระบบ RTK GNSS Network มีอะไรบ้าง ?สามารถรับสัญญาณและประมวลผลจากดาวเทียมได้ทุกระบบความถูกต้องแม่นยำสูง (คลาดเคลื่อนไม่เกิน 4 เซนติเมตร)เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพียงเครื่องเดียวก็สามารถทำงานได้ ทำให้มีความสะดวก รวดเร็ว และได้ค่าพิกัดในทันทีช่วยลดต้นทุน ลดระยะเวลาและขั้นตอนในการทำงานลงไปได้มากข้อจำกัดในการใช้งานระบบ RTK GNSS Network มีอะไรบ้าง ?ต้องมีรหัสผู้ใช้ของผู้ให้บริการเครือข่าย (ซึ่งในประเทศไทยผู้ให้บริการ คือ กรมที่ดิน)เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจำเป็นต้องสามารถทำงานบนระบบ Internet ได้ ในตอนนี้เทคโนโลยี RTK GNSS Network อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก อาจจะเป็นเพราะกรมที่ดินพึ่งเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีนี้ในการรังวัดรูปแปลงแผนที่ แต่ในอนาคตผู้เขียนมองว่าเทคโนโลยี RTK GNSS Network จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศมากขึ้น เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ให้ค่าพิกัดที่มีความละเอียดแม่นยำสูง และการใช้งานไม่ยุ่งยากอีกด้วย ซึ่งเหมาะกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นมากมายในอนาคต ขอบคุณเครดิตภาพปก โดย Valeria Fursa จาก Unsplashภาพที่ 1 โดย Valeria Fursa จาก Unsplashภาพที่ 2 โดย Valeria Fursa จาก Unsplashภาพที่ 3 จาก สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ภาพที่ 4 จาก กรมที่ดินเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !