เวลาอ่านโพสต์ กระทู้ คอมเมนต์ต่าง ๆ ในสื่อทั้งหลาย สิ่งที่ต้องเจอบ่อยมากที่สุดก็คือ "...นะค่ะ" อ่านแล้วหงุดหงิดกันมั้ยคะ บางคนที่ใช้ก็เป็นคนใกล้ตัวด้วย ที่เวลาพูดกับเรา เค้าก็พูดลงท้ายว่า นะคะ แต่เวลาพิมพ์แชท หรือโพสต์อะไรก็ตามแต่ ทำไมเค้าต้องเป็น "นะค่ะ" ตลอดเลยเด็กหญิงพิมมี่เลยลองหาคำตอบจากการประมวลผลความรู้ทางภาษาไทย ในที่สุด ก็พอจะได้ข้อสรุปที่ตอบความสงสัยและช่วยลดความหงุดหงิดใจลงได้บ้างค่ะ วันนี้เด็กหญิงพิมมี่ก็เลยจะเอามาแชร์ให้ทุกคนลองอ่านดูนะคะ ว่าคิดเหมือนกันมั้ยเอ่ยเริ่มต้นกันที่พยัญชนะไทยจะมีระดับวรรณยุกต์สูงสุด 5 เสียง (สามัญ เอก โท ตรี จัตวา) ผันได้ 4 รูป ( ่ ้ ๊ ๋) จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้1. กลุ่มอักษรกลาง = พยัญชนะที่ผันได้ 4 รูป ครบ 5 เสียง มีแค่ 9 ตัวเท่านั้น คือ ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ ยกตัวอย่างสังเกตว่า รูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกันค่ะ อันนี้ไม่มีปัญหา2. กลุ่มอักษรสูง = พยัญชนะที่ผันได้เพียง 3 เสียง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห รูปและพื้นเสียงบางตัวจะไม่ตรงกัน ยกตัวอย่าง3. กลุ่มอักษรต่ำ = พยัญชนะที่ผันได้เพียง 3 เสียง มีจำนวนมากถึง 24 ตัว ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮโดยจะแบ่งย่อยเป็น อักษรต่ำเดี่ยว (อักษรที่ต้องจับคู่กับ ห เพื่อผันให้ครบ 5 เสียง) คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ และอักษรต่ำคู่ (อักษรที่สามารถจับคู่กับอักษรสูง เพื่อผันให้ครบ 5 เสียง) คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮซึ่งต่อไปนี้จะเน้นที่อักษรต่ำคู่ค่ะ ซึ่งการผันระดับเสียงก็จะแตกต่างไปตามสระเสียงสั้นและยาว เริ่มจากสระเสียงยาวก่อน สามารถผันคู่กันได้ครบ 5 เสียง แต่ไม่ตรงรูป มาดูที่สระเสียงสั้นบ้าง แม้ว่าจะมีอักษรต่ำและสูงคู่กัน แต่ก็ผันได้ไม่ครบเสียงอยู่ดี ยกตัวอย่างคำที่เด็กหญิงพิมมี่เกริ่นมาแต่แรกนะคะ ก็คือ คะ ค่ะ นี่แหละค่ะ มาดูกันนะคะตรงนี้เลยที่เป็นปัญหา เพราะคำว่า คะ จริง ๆ แล้วเป็นเสียงตรี เวลาออกเสียงมันจะก้ำกึ่งระหว่างตรีกับโท แต่เวลาเขียนนิสิคะ คนส่วนใหญ่จะสับสนว่ามันจะเขียนรูปวรรณยุกต์ยังไงให้ตรงกับเสียง ก็จะมีคำว่า ค่ะ นี่แหละที่เสียงโทแต่เป็นรูปเอก คนส่วนมากก็เลยเข้าใจไปว่า เขียน นะคะ ต้องเติมไม้เอก ค่ะ ให้เป็น นะค่ะ เพื่อออกเสียงเป็น นะคะไม่ใช่แค่คำในอักษรต่ำคู่อย่าง คะ ค่ะ เท่านั้นนะคะที่เป็นปัญหา ยังมีคำในอักษรต่ำเดี่ยว อย่างคำว่า หน้า กับ น่า ที่มีปัญหาเรื่องใช้ผิดเช่นกัน เพราะเป็นคำที่มีเสียงเดียวกันแต่ใช้คนละรูป และความหมายก็ต่างกัน เลยป็นอีกคำที่คนก็ใช้สลับกันตลอด เช่น น่ารัก ก็เขียนเป็น หน้ารัก หน้าตา ก็เขียนเป็น น่าตา ถึงตรงนี้เด็กหญิงพิมมี่ว่า หลาย ๆ คนคงพยายามขยับปากออกเสียงตามแล้วแน่ ๆ ว่าเสียงมันจะออกมาแบบไหน จริง ๆ ปัญหามันก็เกิดจากการที่คำพวกนี้เป็นพยัญชนะในกลุ่มอักษรต่ำ ที่รูปกับเสียงมันไม่ตรงกันนี่แหละค่ะ ทำให้เกิดความสับสน ถ้ามีพื้นฐานเรื่องผันเสียงวรรณยุกต์ไม่แน่นพอ ก็จะเขียนผิดเขียนถูกแบบนี้ค่ะ หวังว่าจะคลายข้อสงสัยกันบ้างนะคะ ส่วนคนที่เขียนคำเหล่านี้ผิด เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้ว จะเข้าใจในหลักการสะกดตามวรรณยุกต์มากขึ้นนะคะ พบกับบทความดี ๆ มีสาระกับเด็กหญิงพิมมี่กันในโอกาสหน้าค่ะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะภาพประกอบทั้งหมดจัดทำโดยผู้เขียนเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !