สวัสดี น้องๆ หรือ ผู้ปกครองทุกท่าน ที่เข้ามาอ่านบทความนี้นะครับ ก่อนอื่นพี่ก็ขอแนะนำตัวก่อนเลย พี่ ชื่อ อินดี้ ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 ภาควิชา นิวเคลียร์และรังสี คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พี่จัดทำบทความนี้ขึ้นมา เพราะว่า เนื่องด้วยภาควิชานี้ในระดับ ปริญญาตรี มีเพียง จุฬา ที่เปิดหลักสูตรนี้ แล้วก็ยังเปิดได้ไม่นานนัก ทำให้หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ได้ยากมากๆ พี่ก็เลยได้ไปรวบรวมข้อมูลจากอาจารย์หลายๆท่านในภาควิชา ทำให้พี่สามารถสรุปออกมาให้เข้าใจง่าย ฉบับคนขี้เกียจอ่านอะไรยากๆ งั้นเรามาเริ่มกันเลย !!! 1. สายงาน ของ วิศวกร ถ้าให้ต้องเริ่มที่สายงานแรกก็คงจะต้องเป็น งานในส่วนของ วิศวกร เพราะยังไงพื้นฐานเราก็เรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยในภาควิชานี้ จะมุ่งเน้นไปที่การเรียนเกี่ยวกับ รังสีต่างๆ และ การทำงานของมัน ทำให้เมื่อเราเรียนจบไปเราสามารถทำงานได้หลากหลายมากโดยพี่จะแบ่งเป็นหัวข้อย่อยหลักๆดังนี้ ด้านอุตสาหกรรม : ปัจจุบันหลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่ารังสีได้ถูกนำมาใช้อย่างหลากหลายในงานด้านอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น การผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การใช้รังสีเพื่อวัดปริมาณของเครื่องดื่มให้ได้ตามมาตรฐาน การถนอมอายุของ อาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ด้วยรังสี และยังมีอื่นๆอีกมากมาย ทำให้เรามามีความสำคัญในการควบคุมดูแลอุปกรณ์เหล่านี้ด้านการแพทย์ : ในทางการแพทย์มีการใช้รังสีในงานหลายส่วนแต่อย่างแรกก็ต้องนึกถึง เครื่อง x-ray หรือ เครื่องฉายรังสีต่างๆ และยังมีการใช้ สารรังสี มาช่วยในเรื่องของ การรักษาหรือ การวินิจฉัยโรค ตัวอย่าง I-131 ถูกนำมาใช้ในการรักษาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ทำให้เราต้องมาคอยควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ หรือ ในการเตรียมสารรังสี ด้านความปลอดภัย : รังสีได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการตรวจสอบพัสดุ เพราะ สามารถตรวจสอบสินค้าได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ โดยที่ไม่ต้องแกะ หรือ เปิด ผนึกก่อนตรวจสอบโดย ตัวอย่างสำคัญ ก็จะเป็นเครื่องแสกนที่ใช้กันในสนามบินนั่นเอง ด้านความมั่นคง : ด้วยความที่ถึงปัจจุบัน วัสดุทางนิวเคลียร์และรังสี ได้ถูกนำมาใช้ในงานหลายด้าน แต่ด้วยความอันตรายของมันก็ยังคงมีอยู่ จึงต้องคอยมีหน่วยงาน ไม่ว่าจะภายในประเทศ อย่าง สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ หรือในต่างประเทศ อย่าง IAEA ที่คอยทำหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้า ส่งออก สารรังสี เป็นต้น ทำให้เราที่มีความรู้ทางด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับ วัสดุทางนิวเคลียร์และรังสี สามารถมาทำงานตรงส่วนนี้ได้ 2. สายงาน ของ นักวิจัย ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวกับ นิวเคลียร์ เป็นที่ต้องการอย่างมากในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาเตาปฏิกรณ์เพื่อมาใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจสอบรังสี หรือ อย่างเทคโนโลยีการป้องกันรังสี เป็นต้น แต่บุคลากรที่มีความรู้ในด้านนี้ในไทยยังถือว่าขาดแคลนเป็นอย่างมาก จึงทำให้เป็นที่ต้องการ และไม่ใช่แค่มีความสำคัญในไทย แต่ในต่างประเทศก็ยังเป็นที่ต้องการเช่นกัน ทำให้มีโอกาสได้ไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งในบางครั้งก็อาจทำให้ได้รับทุนไปเรียนต่อในระดับ ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก ไปพร้อมกับการทำงานวิจัยในมหาลัยชั้นนำของประเทศต่างๆ ซึ่งจากที่พี่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของสายงานที่น้องๆสามารถเลือกที่จะทำได้ถ้ามาเรียนใน ภาควิชา นิวเคลียร์และรังสี คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถ้าในภาควิชามีการเรียนเนื้อหาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนเกี่ยวกับ การเขียนโปรแกรม การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เรียนเกี่ยวกับทางด้านสถิติ ทำให้มีพื้นฐานที่ดีสามารถไปต่อยอดในสายงานอื่นๆได้ สุดท้ายนี้พี่ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับ น้องๆ หรือ ผู้ปกครองทุกท่าน ที่มาหาข้อมูลเกี่ยวกับภาควิขานี้นะครับ ^ ^ ภาพที่ 1 จาก : Kateryna Babaieva / pexels.com ภาพที่ 2 จาก : Anna Shvets / pexels.com ภาพที่ 3 จาก : Pixabay / pexels.com ภาพที่ 4 จาก : Mathias Reding / pexels.com ภาพที่ 5 จาก : Pixabay / pexels.com เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !