ถ้าคุณชอบขีดๆเขียนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทกลอน คำคม หรืออะไรก็แล้วแต่ ถ้าวันนึงคุณอยากเกิดแต่งเพลงหรืออยากเป็นนักเขียนเพลงขึ้นมา คุณอาจจะไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน หรือมีหลักการยังไง ในบทความนี้เรามีไอเดียในการเริ่มต้นเป็นนักเขียนเพลงมาฝาก เผื่อใครอยากจะเป็นนักเขียนเพลงขึ้นมา เผลอๆ เพลงที่คุณเขียน อาจจะดังเป็นพลุแตกก็ได้ ไปติดตามอ่านกันเลยครับ1. หาแรงบันดาลใจการแต่งเพลงหรือเขียนเพลงนั้น ก็เป็นศิลปะอย่างนึง จำเป็นที่เราจะต้องมองหาแรงบันดาลใจ หรือมองหาสิ่งที่จะจุดประกายความคิดนั่นเอง การหาแรงบันดาลใจเป็นขั้นแรกที่ง่ายที่สุด เราสามารถแรงบันดาลใจได้ตลอดเวลา และทุกสถานที่เราอาจจะหาแรงบันดาลใจด้วยการฟังเพลงศิลปินคนโปรดที่คุณชอบซัก 2-3 เพลง ลองจดบันทึกองค์ประกอบของเพลงเฉพาะส่วนที่คุณชอบ ลองฟังดูว่าท่อนเพลง เมโลดี้ไหนดึงดูดความรู้สึกคุณเข้าไปในเพลง แล้วลองสร้างมันขึ้นมาใหม่โดยอ้างอิงตัวอย่างจากเพลงนั้นๆหรือแม้แต่การได้เสพงานศิลปะด้านอื่นๆ เช่น ภาพวาด ลองแปลออกมาเป็นอารมณ์ที่คุณรู้สึก แล้วลองเขียนมันออกมาเป็นเพลงก็ได้การไปชมวิวทิวทัศน์ของธรรมชาติ หรือแม้แต่การชมภาพยนตร์ ก็สามารถสร้างอารมณ์และจุดประกายแรงบันดาลใจให้คุณตีความอารมณ์ความรู้สึกออกมาเป็นเพลงได้เช่นกัน 2. เครื่องมือในการสร้างเพลงถ้าคุณอยากเป็นนักแต่งเพลง การทำความคุ้นเคยกับซอฟต์แวร์ด้านดนตรีจนชำนาญ ก็จะทำให้ไอเดียในหัวคุณ สร้างออกมาเป็นรูปเป็นร่างเร็วขึ้น มีซอฟต์แวร์ด้านดนตรีมากมายให้คุณเลือกใช้ ใช้มันให้คล่องเพื่อถ่ายทอดจินตนาการของเราออกมาให้เร็วที่สุดก่อนจะลืมมันหรือถ้าคุณเป็นนักเขียนเพลง การมีสมุดบันทึกหรือ Tablet ใกล้ๆ ตัว ในยามที่ไอเดียต่างๆ แล่นเข้ามาในหัว ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่หรือเวลาใด คุณก็สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นเนื้อเพลงได้ไวยิ่งขึ้น3. คิดนอกกรอบซะบ้างบางครั้งการทำอะไรตามรูปแบบคนอื่น ก็ไม่ทำให้เพลงของเราโดดเด่นขึ้นมาได้เลย การทดลองหรือกล้าที่จะนำเสนออะไรใหม่ๆ อาจจะทำให้รูปแบบเพลงของคุณมีเอกลักษณ์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเพลงที่ใช้ภาษาแปลกออกไป หรือการเขียนดนตรีที่ใช้รูปแบบและเสียงที่ต่างออกไปจากกรอบเดิมๆ ก็อาจจะทำให้คุณทำงานง่ายขึ้นในแบบที่เป็นตัวของคุณเอง4. ใช้เว็บไซต์ให้เป็นประโยชน์มีข้อมูลด้านต่างๆ มากมายในโลกอินเตอร์เน็ต คุณสามารถค้นหามันเพื่อเป็นตัวช่วยในงานเพลงของคุณได้อย่างไม่ยาก ไม่ว่าจะเป็น Youtube หรือเว็บสอนออนไลน์ต่างๆ เว็บไซต์ให้ความรู้เรื่องดนตรี หรือแม้แต่เว็บไซต์ที่บรรดากลุ่มนักแต่งเพลง-เขียนเพลงแชร์ความรู้และไอเดียซึ่งกันและกัน การหาเครื่องมือทำเพลงต่างๆ คุณก็สามารถค้นหาได้ในโลกอินเตอร์เน็ตเช่นกัน5. ทำงานร่วมกับเพื่อนๆบางทีการรวมหัวกันคิด ก็ดีกว่านั่งงมอยู่คนเดียว อาจจะมีสิ่งที่คุณทำไม่ได้ แต่เพื่อนของคุณทำได้ ลองหาเพื่อนสนิทซักคน ถามดูว่าสนใจจะมารวมหัวกันทำเพลงกับคุณมั้ย และไม่จำเป็นที่เพื่อนของคุณจะต้องเป็นนักดนตรีเสมอไป เค้าอาจจะเป็นคนที่มีจินตนาการดี มีไอเดียเจ๋งๆ คุณก็จะได้แลกเปลี่ยนมุมมองในการทำเพลงซึ่งกันและกัน6. แนวคิดหรือคอนเส็ปห์อย่าทำงานเพลงแบบไปเรื่อยๆ จับต้นชนปลายไม่ได้ เพราะเพลงของคุณอาจจะออกมามั่วซั่ว จืดชืดสนิท เขียนแนวคิดของคุณลงไปก่อนที่จะเริ่มลงมือทำ มีหลายวิธีในการบันทึกแนวคิด เช่น เขียนเป็นเรื่องสั้น เขียนบรรยายอารมณ์ความรู้สึก หรือแม้แต่ทำภาพประกอบก็ได้เมื่อได้แนวคิดที่ชัดเจนแล้ว เรียงลำดับแนวคิดก่อน-หลัง ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำเพลง ซึ่งจะทำให้การทำเพลง-เขียนเพลงของคุณนั้นง่ายขึ้นมากเลยทีเดียว7. ลองฟังสิ่งใหม่ๆ ดูบ้างอย่ากลัวที่จะลองเปิดใจฟังแนวเพลงใหม่ๆ หรือแนวเพลงที่คุณไม่คุ้นเคย การปิดกั้นจะทำให้มุมมองของคุณแคบลง บางครั้งคุณอาจจะเจออะไรเด็ดๆ ในแนวเพลงที่คุณไม่คุ้นเคย คุณก็สามารถนำมาผสมผสานกับแนวเพลงของคุณได้ ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งรูปแบบเพลงใหม่ๆ ของคุณก็ได้ และไอเดียของคุณก็ยังเปิดกว้างและยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้การทำงานเพลงของคุณพัฒนามากยิ่งขึ้นด้วย อย่ากลัวที่จะลองอะไรใหม่ๆ8. ขุดไอเดียเก่าที่ยังค้างไว้ในช่วงเวลาที่คุณลงมือเขียนเพลงเก่าๆ ที่เคยทำไว้ และเลิกทำไป เนื่องด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ลองรื้อมันออกมาปัดฝุ่นใหม่ ในบางครั้งเมื่อคุณกลับไปเจอไอเดียเก่าๆ อาจจะทำให้คุณมีมุมมองเพิ่มเติมหรือไอเดียใหม่ๆ ณ ปัจจุบันผสมผสานลงไปในโครงการเก่าๆ ที่ค้างคานั้นๆ หรือบางครั้งพอกลับไปฟังอีกครั้ง คุณอาจจะพบว่า เฮ้ย! มันก็เจ๋งนี่หว่า คุณอาจจะอยากทำมันต่อให้เสร็จ หรือเอามันมาดัดแปลงเพิ่มเติม และคุณก็ได้เพลงใหม่เพิ่มมาอีกเพลง จากเพลงเก่าๆ ที่คุณเกือบจะทิ้งมันไปก็ได้9. ดัดแปลงรูปแบบเดิมบางครั้งคุณก็ไม่จำเป็นต้องคิดอะไรใหม่ๆมากจนเกินไปจนหัวแทบระเบิด ใช้รูปแบบหรือสไตล์ของศิลปินต่างๆ มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับงานเพลงของคุณ แต่ในที่นี่ไม่ได้หมายความให้คุณไปลอกเลียนงานคนอื่นนะ คุณอาจจะใช้ รูปแบบ อารมณ์ บรรยากาศ หรือเสียงในงานของศิลปินคนอื่นๆ อ้างอิงการทำเพลงของคุณ ปรับเปลี่ยนให้มันเป็นตัวคุณมากที่สุด การผสมผสานอ้างอิงจากงานเพลงของศิลปินคนอื่นๆ บางครั้งก็ทำให้เกิดไอเดียแปลกใหม่ได้เช่นกัน ไม่จำเป็นจะต้องสร้างรูปแบบ สไตล์อะไรหลุดโลกมากเกินไปก็ได้10. อย่าคิดจนรกสมองบางครั้งการสะสมโครงการหรือไอเดียในการทำเพลงจนมากเกินไป ก็อาจจะทำให้คุณมึนงงจนจับต้นชนปลายไม่ถูก เมื่อคุณวางแนวคิดแบบไหนไว้ แนวคิดใดที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่จำเป็นพยายามโยนทิ้งไปให้หมดอย่าเสียงดาย เพราะคุณสามารถค้นหาแนวคิดใหม่ๆ ได้ตลอดเวลาบางครั้ง คุณอาจจะคิดมากไปจนคิดอะไรไม่ออก วางทุกสิ่งไว้ก่อน แล้วออกไปสูดอากาศข้างนอกบ้าง ไปเดินเล่น ฟังเพลงโปรด หรือหาอะไรอร่อยๆ ทาน ก็ช่วยให้สมองปลอดโปร่งและสามารถกลับมาทำงานเพลงได้ต่อไป หรือบางครั้งคุณอาจจะทำงานเพลงจนใกล้เสร็จแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่ามันดีพอหรือยัง ให้หยุดพัก เอาตัวเองห่างออกมาซักพัก เมื่อพักผ่อนจนสมองโล่งแล้ว ลองกลับไปฟังหรือตรวจทานมันอีกครั้ง บางครั้งคุณอาจะพบข้อบกพร่องหรือไอเดียวเพิ่มเติมก็ได้ อย่าทำงานดนตรีแบบตึงเครียดมากเกินไป เพราะผลลัพธ์มันอาจจะออกมาไม่เข้าท่าเลยก็ได้เป็นยังไงกันบ้างครับ กับแนวทางต่างๆ ในการเริ่มเป็นนักแต่งเพลง-เขียนเพลง ไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่มั้ยครับ ในบทความนี้อาจจะเป็นแนวคิดบางส่วนเท่านั้นในการทำงานเพลง ยังมีเรื่องที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมกันอีกหลายอย่าง ไว้บทความต่อๆ ไป ผมจะเอาแนวคิดและความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับดนตรีมาฝากกันอีกนะครับ สวัสดีครับPHOTO CREDIT :https://www.pexels.com/th-th/photo/2027394https://www.pexels.com/th-th/photo/355952https://www.pexels.com/th-th/photo/34088https://www.pexels.com/th-th/photo/2681319https://www.pexels.com/th-th/photo/imac-1029757https://www.pexels.com/th-th/photo/2479320https://www.pexels.com/th-th/photo/1761362https://www.pexels.com/th-th/photo/unitra-6399https://www.pexels.com/th-th/photo/159376https://www.pexels.com/th-th/photo/838696https://www.pexels.com/th-th/photo/818563