รู้หรือไม่บนดาวเคราะห์ที่มนุษย์อาศัยอยู่ ไม่มีเพียงแต่การหมุนรอบตัวเองกับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ยังมีการขยับของแผ่นเปลือกโลกอีกด้วย มันขยับตัวจริงหรอทำไมไม่รู้สึก มันขยับตัวได้อย่างไร มันขยับตัวตอนไหน ขยับไปเท่าไหร่ ในบทความนี้มีคำตอบ ในยุคปัจจุบันวิทยาศาสตร์สามารถหาคำตอบทั้งที่อยู่ใกล้ตัวเราและอยู่ไกลตัวเรา โดยใช้ทฤษฎีในการอธิบายสิ่งๆนั้น ดังนั้นการขยับตัวของเปลือกโลกเราจะใช้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ในการอธิบาย นั้นคือทฤษฎีธรณีแปลสัณฐาน (Plate Tectonics Theory) เป็นทฤษฎีที่ถูกยอมรับในการอธิบายการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกที่ดีที่สุด โดยเราสามารถอธิบายคร่าวๆได้ คือ " การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค(แผ่นเปลือกโลกกับเนื้อโลกชั้นบนสุด )เกิดขึ้นจากการพาความร้อนของหินหนืดในชั้นเนื้อโลก เมื่อหินหนืดมีอุณหภูมิสูงขึ้นจะเกิดการขยายตัวและลอยตัวขึ้นออกห่างแก่นโลก แต่เมื่อหินหนืดมีอุณหภูมิลดลงจะเกิดการจมตัวลงกลับไปรับความร้อนอีกครั้ง เกิดเป็นวัฏจักรที่ทำให้เปลือกโลกเคลื่อนที่ได้ หรือที่เรียกว่า “กระบวนการธรณีแปลสัณฐาน” (Plate Tectonics)"แผ่นธรณีภาค ก็สามารถแบ่งออกได้เป็นแผ่นธรณีภาคทวีป และแผ่นธรณีภาคมหาสมุทร ในปัจจุบัน โลกของเราประกอบด้วยแผ่นธรณีภาคขนาดใหญ่ 7 แผ่น ได้แก่แผ่นธรณีภาคแปซิฟิกแผ่นธรณีภาคอเมริกาเหนือแผ่นธรณีภาคอเมริกาใต้แผ่นธรณีภาคยูเรเซียน แผ่นธรณีภาคแอฟริกาแผ่นธรณีภาคอินเดีย–ออสเตรเลียแผ่นธรณีภาคแอนตาร์กติกและยังมีแผ่นธรณีภาคขนาดเล็กราว 8 แผ่นแทรกตัวอยู่บนแผ่นธรณีภาคต่างๆ ซึ่งทฤษฎีนี้ได้แบบประเภทของการเคลื่อนตัวไว้3ประเภทการเคลื่อนที่แยกออกจากกัน (Divergent)การเคลื่อนที่ชนกันหรือเข้าหากัน (Collision)การเคลื่อนที่ผ่านกันหรือสวนกัน (Transform) การเคลื่อนที่แยกออกจากกัน (Divergent) เกิดจากการแยกตัวกันของแผ่นธรณีภาค2แผ่นเคลื่อนตัวออกจากกัน ส่วนมากจะเกิดกับกรณี แผ่นธรณีภาคมหาสมุทรกับแผ่นธรณีภาคมหาสมุทร แยกออกจากกัน การเคลื่อนที่ชนกันหรือเข้าหากัน (Collision) แบ่งเป็น3แบบแผ่นธรณีภาคทวีป-ทวีป แผ่นที่มีความหนาแน่นสูงจะหมุดตัวลงและแผ่นที่มีความหนาแน่นน้อยจะเกยสูงขึ้น ทำให้เกิดภูเขา แผ่นธรณีภาคทวีป-มหาสมุทร แผ่นธรณีภาคมหาสมุทรมีความหนาแน่นมากกว่าแผ่นธรณีภาคทวีป ดังนั้นแผ่นธรณีภาคมหาสมุทรจะมุดตัวลง ในขณะที่แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรมุดตัวลง จะเกิดกระเปาะหินหนืดลอยขึ้นสู่แผ่นธรณีภาคทวีป ถ้ากระเปาะหินหนืดไม่อยู่ในลักษณะของแข็งจะทำให้ออกมาในลักษณะการประทุของภูเขาไฟ ภาคมหาสมุทร-มหาสมุทร แผ่นที่มีความหนาแน่นสูงจะหมุดตัวลงและแผ่นที่มีความหนาแน่นน้อยจะเกยสูงขึ้น และในระหว่างนั้นจะเกิดการรั่วไหลของกระเปาะหินหนืดลอยผสมกับวัตถุที่กั้นจะประทุในลักษณะโคนภูเขาไฟทำให้เกิดแนวหมู่เกาะ หรือเกาะต่างๆ การเคลื่อนที่ผ่านกันหรือสวนกัน (Transform)มักเกิดบนแผ่นธรณีภาคมหาสมุทรและเมื่อแผ่นธรณีภาคทั้งสองเคลื่อนที่ผ่านกัน จึงทำให้เกิดรอยเลื่อนขนาดใหญ่ ลักษณะของรอยเลื่อนแบ่งได้ 2 แบบ รอยเลื่อนในแนวดิ่ง (Dip-slip fault) ถ้าเกิดรอยเลื่อนลักษณะนี้จะทำให้เกิดหน้าผาสูงชันที่พังทลายได้ง่าย รวมถึงพื้นที่ราบที่เกิดจากการทรุดตัวตามแนวดิ่งของหน้าผาสูงรอยเลื่อนในแนวราบ (Strike-slip fault) การเคลื่อนที่แนวนี้จะก่อเกิดรอยเลื่อนขนาดใหญ่หรือร่องลึกตามรอยเลื่อนของการเคลื่อนที่ ตัวอย่าง : รอยเลื่อนซานแอนเดรียแล้วเปลือกโลกขยับไปเท่าไหร่ ? เปลือกโลกเคลื่อนที่โดยเฉลี่ย 2 เซนติเมตรต่อปี แต่บริเวณที่มีการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกอย่างฉับพลัน หรือแผ่นดินไหว โดยการเกิดหนึ่งครั้ง เปลือกโลกสามารถขยับได้ 3เซนติเมตรถึง เกือบ1เมตรเลยทีเดียว ซึ่งบริเวณที่เกิดบ่อยคือ Ring of fire ตามที่กล่าวมาเกี่ยวกับ ทฤษฎีธรณีแปลสัณฐาน และกระบวนการธรณีแปลสัณฐาน ทำให้เราได้รู้ว่าเปลือกโลกเคลื่อนที่ได้อย่างไรและเมื่อไหร่ และเคลื่อนที่ไปเท่าไหร่ จะสรุปได้ว่าเปลือกโลกจะเคลื่อนที่ได้เมื่อการพาความร้อนขอหินหนืดชั้นเนื้อโลก หรือ กระบวนการธรณีแปลสัณฐาน โดยการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกด้วยอัตราคงที่ 2 ซม./ปี และเคลื่อนที่อย่างฉับพลันต่อหนึ่งครั้ง(แผ่นดินไหว) 3-6 ซม. ขอบคุณรูปจาก pixabay ภาพหน้าปกภาพที่1 รอยต่อของแผ่นอเมริกาเหนือกับแผ่นยูเรเซีย ที่เกิดบนแผ่นธรณีภาคทวีป และแผ่นธรณีภาคมหาสมุทรภาพที่2 ภาพเทือกเขาหิมาลัย ภาพที่3 Andes Mountainsภาพที่4 Aleutian Islandsภาพที่5 ภูเขาเซียร์ราเนวาดา (Sierra Nevada)