ภาพปก https://media-public.canva.com/MADQ5HrmfY0/1/thumbnail_large-1.jpg ความตื่นตระหนกของผู้คนในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ยิ่งทำให้เกิดความ “กระหาย”ที่จะเปิดรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง , สถานที่ที่พบผู้ป่วยรายใหม่ , ช่องทางการติดต่อ รวมถึงความคืบหน้าการคิดค้นหาตัวยาช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ขอบคุณภาพ freepik https://www.freepik.com/free-photo/sick-woman-wearing-protective-mask-home_3506669.htm#page=1&query=virus&position=15 ทำไมผู้คนถึงตื่นตัวต่อข่าวแบบนี้ คำตอบคือ “เป็นเรื่องใกล้ตัว” และเป็นเรื่องที่จะส่งผลกระทบมาถึงตัวเองและคนในครอบครัวได้ ยิ่งได้รับรู้ข้อมูลใหม่ ๆ ก็อยากจะร่วมแบ่งปันไปสู่เพื่อนฝูง คนรู้จัก หรือญาติพี่น้อง บางคนมีความภาคภูมิใจอยู่ลึก ๆ ว่าได้เป็นคนแจ้งข่าวสารให้กับคนอื่นได้ก่อนใคร ๆ ซึ่งแสดงถึงความรอบรู้, ช่ำชองในวงการข่าวสารกว่าคนทั่วไป ขอบคุณภาพ freepik https://www.freepik.com/premium-photo/friends-connection-digital-devices-technology-network-concept_3646428.htm#page=1&query=social%20online&position=42 คนกลุ่มนี้เองที่มักตกเป็นเหยื่อของ “ข่าวลวง”หรือ Fake news ซึ่งเป็นข้อมูลปลอม ,เรื่องโกหกหรือข่าวที่บิดเบือนทั้งแบบจงใจและไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งอาจมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งอาทิ ต้องการโจมตีหรือทำลายความน่าเชื่อถือ (Discredit) รัฐบาล , สร้างความตื่นตระหนกให้มากก่อนใช้เป็นช่องทางแสวงหาประโยชน์ให้ตัวเอง เช่นการปล่อยข่าวว่า หน้ากากอนามัยกำลังจะขาดตลาดเพื่อจะรีบนำสินค้าออกขายให้ได้มาก ๆ ในราคาสูง ๆ เป็นต้น ขอบคุณภาพ freepik https://www.freepik.com/free-photo/close-up-portrait-male-surgeon_6515831.htm#page=1&query=mask&position=3 คนที่ตกเป็นเหยื่อของ Fake news นอกจากจะหลงเชื่อข้อมูลลวง แล้วยัง”ส่งต่อ”ข้อมูลปลอมนี้ ไปให้กับคนอื่น ๆ ซึ่งก็จะมีคนที่หลงเชื่อและส่งต่อตาม ๆ กันจนทำให้ข่าวลวงแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว และอาจสร้างผลกระทบในวงกว้างได้มาก ผลกระทบจาก Fake news ที่ต้องระวัง การตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องระวังในการส่งต่อข้อมูลที่เข้าข่าย Fake news เพราะอาจทำตนเองให้เป็นผู้ร่วมกระจายข้อมูลเท็จไปถึงผู้อื่น ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบในอนาคตได้ เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ,ชีวิตและทรัพย์สิน ข้อมูลปลอมเกี่ยวกับสรรพคุณของอาหาร,ยา หรือสมุนไพรต่าง ๆ หากหลงเชื่อแล้วรีบหามาบริโภคตาม อาจทำให้เกิดผลกระทบแบบที่คาดไม่ถึงได้ เช่น ในช่วงที่คนกำลังหวาดวิตกกับไวรัสโคโรน่า หากมีข้อมูลแชร์ต่อ ๆ กันว่า พืชบางชนิด ช่วยสกัดหรือป้องกันไวรัสตัวนี้ได้ ก็อาจมีคนหลงเชื่อและไปหาพืชชนิดนั้นมากินโดยไม่ได้ตรวจสอบข้อมูล หากพืชนั้นมีผลต่อร่างกายที่ไม่แข็งแรงหรือมีโรคอื่น ๆ อยู่ก็จะทำให้ร่างกายทรุดลงได้ สร้างความตื่นตระหนก ข้อมูลปลอมบางเรื่องที่ทำให้เชื่อได้ว่าจะเกิดผลต่อชีวิต ความเป็นอยู่ หรือวิถีดั้งเดิม ย่อมสร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคมได้ง่าย เช่นการปล่อยข่าวปลอม ( Fake news) ว่ารัฐจะเก็บภาษีสินสอดงานแต่งงาน และปล่อยข้อมูลปลอมว่าน้ำอัดลมเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ทำให้ผู้คนตื่นตระหนกกันมากในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ ทำให้ผู้ถูกพาดพิงถึงได้รับความเสียหาย จนอยู่ในสังคมได้ยาก ปัจจุบันมีความพยายามจะข้อมูลทำร้ายบุคคลอื่นผ่านสื่อออนไลน์ โดยที่ไม่มีข้อเท็จจริงและทำให้เกิดความเสียหาย ,เกิดผลกระทบต่อจิตใจ,การใช้ชีวิตในสังคม ถือเป็นหนึ่งในวิธีการกลั่นแกล้งรังแกผ่านโลกอินเตอร์เนต (Bully) เรื่องนี้ได้ส่งผลรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ปรากฏเป็นข่าวทำร้ายตัวเองเพราะไม่สามารถรับแรงกดดันจากสังคมได้หลังมีการกลั่นแกล้งผ่านทางสื่อโซเชียล หวังผลทางการเมือง เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นได้บ่อยมาก เพราะข้อมูลต่างๆ สามารถทำให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งทางการเมือง หรือผลต่อคู่แข่ง จึงมีการใช้ข้อมูลปลอม ( Fake news) โจมตีฝ่ายตรงข้ามเพื่อสร้างแนวร่วมของผู้คนเป็นพลังมวลชนขึ้นมา ขอบคุณภาพ freepik https://www.freepik.com/free-photo/fake-news-headline-newspaper_2894243.htm#page=1&query=fake%20news&position=3 เราสามารถเลี่ยงการเป็นเหยื่อของ Fake news ได้ด้วยการเช็คข้อมูลให้ชัดเจนก่อนส่งต่อ ด้วยวิธีการหลากหลายเช่น การตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งที่มาว่าเชื่อถือได้หรือไม่ และตรวจสอบจากสำนักข่าวหลักก่อนแชร์ข้อมูล ตั้งสติ และพิจารณาทุกข้อมูลอย่างรอบคอบเสมอ