รีเซต

ชาวบ้านแห่ตักน้ำผุด เชื่อดื่มแล้ว-สดชื่น คาดเป็นบ่อน้ำพุโบราณ สสจ.เร่งพิสูจน์

ชาวบ้านแห่ตักน้ำผุด เชื่อดื่มแล้ว-สดชื่น คาดเป็นบ่อน้ำพุโบราณ สสจ.เร่งพิสูจน์
ข่าวสด
27 มีนาคม 2563 ( 18:05 )
175
ชาวบ้านแห่ตักน้ำผุด เชื่อดื่มแล้ว-สดชื่น คาดเป็นบ่อน้ำพุโบราณ สสจ.เร่งพิสูจน์

ชาวบ้านแห่ตักน้ำผุด เชื่อดื่มแล้ว-สดชื่น คาดเป็นบ่อน้ำพุโบราณ สสจ.เร่งพิสูจน์

วันที่ 27 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังฝนทิ้งช่วงนานในพื้นที่จังหวัดสตูล ส่งผลให้น้ำในลำห้วยลูโบ๊ะบาตู ที่เชื่อมกับคลองมำบัง แห้งขอดในบางจุด ทำให้เห็นตาน้ำผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตรงจุดกลางลำห้วยลูโบ๊ะบาตู หมู่ที่ 1 ต.บ้านควน อ.เมือง จ.สตูล ซึ่งเป็นพื้นที่ของนายหมาด อาดำ อายุ 81 ปี

โดยวันนี้ชาวบ้านในพื้นที่ต่างช่วยทำนำกระสอบทรายกันพื้นที่ทำฝายเล็กๆรอบบ่อน้ำ เพื่อกักน้ำไว้ใช้ ติดป้าย “น้ำพุโบราณ”ลูโบ๊ะบาตู เพื่ออนุรักษ์ไว้ โดยมีชาวบ้านต่างเดินทางเข้ามาชม และดื่มน้ำ ซึ่งมีความใสสะอาด พร้อมตักใส่ขวดแจกจ่ายสำหรับผู้ที่ต้องการไปดื่มใช้ที่บ้าน บ้างก็เชื่อว่าดื่มแล้วจะหายเมื่อย สดชื่น ผ่อนคลาย ล่าสุดทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ได้น้ำตัวอย่างไปตรวจว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายไหมหากดื่มเข้าไป ซึ่งจะทราบผลในเร็วๆนี้

นายหมาด เจ้าของที่ กล่าวว่า ทราบมาตั้งแต่เด็กๆแล้วว่าบริเวณนี้ตาน้ำผุดขึ้นมา และน้ำไม่เคยแห้งเลย แต่เมื่อมีการขุดลอกคลองตรงจุดนี้ก็มีน้ำเต็ม ก็คิดว่าตาน้ำที่ผุดขึ้นมาในอดีตนั้นหายไปแล้ว แต่เมื่อช่วงแล้งในปีนี้น้ำลดลงมากจนมองเห็นตาน้ำผุดขึ้นมาเห็นได้ชัดมาก ก็ดีใจและ ยังคงเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านได้ใช้น้ำกันเหมือนเดิม ไม่ปิดกั้นอะไร เพราะชาวบ้านในหมู่บ้านมาใช้กันอยู่

เกาะติดข่าวโควิด กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account

นายรอฮีม กาสา เลขานุการนายก อบต.บ้านควน กล่าวว่า อบต.บ้านควน ได้มีแนวคิดหาจุดเด่นในแต่ละหมู่บ้าน มาเขียนเป็นหนังสือตำนานหมู่บ้านเรื่อง “เรียงร้อยเล่าขานตำนานหมู่บ้าน” แล้วมาเจอตาน้ำตรงนี้ จึงมีแนวคิดที่จะอนุรักษ์ไว้และปรับปรุงพื้นที่ จัดภูมิทัศน์พัฒนาส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้ลูกหลานได้ดู

โดยจะสร้างทางน้ำใหม่เพื่อแยกน้ำที่จะผ่านบ่อน้ำพุโบราณ อีกทั้งมีแนวคิดที่จะสร้างสะพานข้ามให้ผู้คนสามารถตักน้ำไว้ใช้ได้ สำหรับตรงจุดนี้ มีน้ำผุดขึ้นมาตลอดเวลา ช่วยบรรเทาภัยแล้งให้กับประชาชนรอบๆ สำหรับพื้นที่ หมู่ 1 บ้านลูโบ๊ะบาตู ต.บ้านควน อ.เมือง จ.สตูล มี 705 กว่าครัวเรือน ประชาชนกว่า 200 คน ที่ใช้น้ำในจุดนี้ได้เพื่อบรรเทาเมื่อเกิดภัยแล้ง