สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ส่งผลกระทบในทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก พร้อมกันนั้นยังส่งผลกระทบต่อการทำมาหากินของคนหาเช้ากินค่ำอีกด้วย ทางรัฐบาลได้มีมาตรการเยียวยาผู้ประกอบอาชีพอิสระ ลูกจ้าง แรงงาน พร้อมกับมาตรการเยียวยาเกษตรกรเป็นเงิน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน โดยเป็นเม็ดเงินที่อยู่ใน พรก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ทำให้กระทรวงการคลัง ออกพันธบัตรรัฐบาลรุ่น "เราไม่ทิ้งกัน" เพื่อระดมทุนในการบรรเทาผลกระทบ และแก้ไขปัญหา เยียวยา ฟืนฟูเศรษฐกิจ และสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในวงเงินการจำหน่ายทั้งหมด 50,000 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังจะกล่าวต่อไปนี้พันธบัตรรัฐบาลคืออะไร?ก่อนที่เราจะลงในรายละเอียดผมของอธิบายก่อนนะครับว่า พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ รัฐบาลมีฐานะเป็นลูกหนี้ โดยผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะได้รับการชำระหนี้ และผลประโยชน์อื่น ๆ ที่มาพร้อมกัน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล มีความเสี่ยงต่ำเพราะค้ำโดยรัฐบาล เงินต้นไม่หาย โดยปกติจะได้รับผลตอบแทนดีกว่าฝากออมทรัพย์และฝากประจำ เมื่อครบกำหนดเวลาการลงทุน เช่น 3 ปี 5 ปี 7 ปี 10 ปี ก็จะได้เงินคืนพร้อมกับดอกเบี้ย โดยปกติแล้วหากออกโดยกระทรวงการคลังในมุมมองของนักลงทุนถือว่า “มั่นคงสูงสุด”พันธบัตรรัฐบาลรุ่น "เราไม่ทิ้งกัน" มีรายละเอียดอย่างไร?พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ออกมาโดยความประสงค์ของรัฐบาลที่จะมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลของงบประมาณในการบรรเทาผลกระทบ และแก้ไขปัญหา เยียวยา ฟืนฟูเศรษฐกิจ และสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 โดยพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แบบไร้ใบตราสาร (Scripless) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 5 ปี และ 10 ปี มีอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได โดยมีดอกเบี้ยดังรายละเอียดต่อไปนี้พันธบัตรรัฐบาลออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” รุ่น 5 ปี เริ่มในปีที่ 1 ร้อยละ 2.00, ปีที่ 2 - 3 ร้อยละ 2.25, ปีที่ 4 ร้อยละ 2.50, ปีที่ 5 ร้อยละ 3.00, เฉลี่ย 5 ปี ร้อยละ 2.40 ครบกำหนดการไถ่ถอน 14 พฤษภาคม 2568พันธบัตรรัฐบาลออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” รุ่น 10 ปี เริ่มในปีที่ 1 – 3 ร้อยละ 2.50, ปีที่ 4 - 8 ร้อยละ 3.00, ปีที่ 9 ร้อยละ 3.50, ปีที่ 10 ร้อยละ 4.00, เฉลี่ย 10 ปี ร้อยละ 3.00 ครบกำหนดการไถ่ถอน 14 พฤษภาคม 2573โดยดอกเบี้ยจะจ่าย 2 ครั้งต่อปี คือ 14 พฤษภาคม และ 14 พฤศจิกายนของทุกปี จนกว่าพันธบัตรจะครบกำหนดการไถ่ถอน งวดแรกของพันธบัตรรัฐบาลออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” จะจ่ายดอกเบี้ยงวดแรกวันที่ 14 พฤษจิกายน 2563สำหรับผู้ที่สนใจอยากซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แบบไร้ใบตราสาร (Scripless) จะแบ่งออกเป็น 3 รอบประกอบด้วยรอบแรก เปิดให้ผู้มีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในวันที่ 14 – 20 พฤษภาคม 2563 ขั้นต่ำ 1,000 บาท และไม่เกิน 2 ล้านบาทรอบที่สอง เปิดให้บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย รวมถึงนิติบุคคลที่ไม่แสวงหาผลกำไรเข้าซื้อ ในวันที่ 21 – 27 พฤษภาคม 2563 ขั้นต่ำ 1,000 บาท และไม่เกิน 2 ล้านบาทรอบที่ 3 เปิดให้บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย รวมถึงนิติบุคคลที่ไม่แสวงหาผลกำไรเข้าซื้อ ในวันที่ 21 – 27 พฤษภาคม 2563 ขั้นต่ำ 1,000 บาท ในวันที่ 28 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน 2563 สำหรับช่องทางการเข้าซื้อผ่านแอปพลิเคชัน BOND DIRECT Application จากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ดาวน์โหลดได้ที่ลิงก์นี้ iOS [คลิก] , Android [คลิก] ชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ATM, Internet Banking ของตัวแทนจำหน่าย 4 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ได้เลยนะครับพันธบัตรรัฐบาลรุ่น "เราไม่ทิ้งกัน" ซื้อดีไหม?ในมุมมองของผมต้องมองที่วัตถุประสงค์ของเงินที่เข้าซื้อพันธบัตรด้วยครับ เพราะมีระยะเวลาค่อนข้างนาน ดังนั้นหากเราต้องรีบใช้เงิน หรือเงินก้อนนี้ต้องหมุนในส่วนอื่น ๆ ก็คงไม่คุ้มครับ แต่ถ้าใครมีเงินเย็น หรือเงินเหลือที่เราไม่ได้ใช้ในเร็ววัน หรือนำไปหมุนในเร็ว ๆ นี้ ผมมองว่า ข้อดีของพันธบัตรเมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝากและเงินฝากประจำแล้ว อัตราผลตอบแทนดีกว่าอย่างแน่นอนครับ โดยปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ประมาณ 0.30% - 0.50% ถ้าเป็นเงินฝากประจำมากกว่า 2 ปี ที่ดอกเบี้ยประมาณ 0.75 % - 1.20% ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลรุ่น "เราไม่ทิ้งกัน" เฉลี่ยรุ่น 5 ปี ร้อยละ 2.40 และเฉลี่ยรุ่น 10 ปี ร้อยละ 3.00 ถือว่าผลตอบแทนดีกว่ามากในส่วนของข้อเสีย เป็นเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ หากเงินมีมูลค่าสูงขึ้น การที่เรานำเงินไปซื้อพันธบัตรไว้แบบนั้นก็อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าของเงินจำนวนนี้อีกด้วย โดยปกติเงินเฟ้อประมาณปีละ 1% – 2% หากไม่เฟ้อเกินกว่านี้เงินในพันธบัตรของเราก็ไม่ได้มีมูลค่าหายไปแต่อย่างใดสุดท้ายแล้ว การเข้าซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ต้องอยู่ที่ดุลยพินิจของแต่ละคนครับ หากเรามีเงินเย็นที่นอนอยู่ในธนาคารเฉย ๆ ผมคิดว่าเอาออกมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลครั้งนี้ก็ได้รับผลตอบแทนที่ดีครับ แต่ถ้าไม่ได้มีเงินเย็น เราต้องนำเงินส่วนนั้นไปหมุนธุรกิจ หรือส่วนต่าง ๆ ทางภาระการเงินก็ไม่เหมาะสมที่จะนำมาลงทุน ด้วยต้องใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างนานและการเอาเงินออกมาก็ค่อนข้างยากครับอ้างอิงข้อมูล :https://www.pdmo.go.th/th/bond-channelshttps://www.bot.or.th/Thai/DebtSecurities/SalestoIndividuals/Documents/Factsheet-SBST63.pdfภาพถ่ายที่ 1 โดย mohamed Hassan จาก Pixabay / ภาพถ่ายที่ 2 โดย SET ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย / ภาพถ่ายที่ 3 โดย กระทรวงการคลัง / ภาพถ่ายที่ 4 โดย BOND DIRECT Application / ภาพถ่ายที่ 5 โดย Megan Rexazin จาก Pixabay / ภาพถ่ายที่ 6 โดย mohamed Hassan จาก Pixabay / ภาพถ่ายหน้าปกโดย TheDigitalWay จาก Pixabay