[Startup 101] ดูซีรีส์แล้วสงสัย สตาร์ทอัพคืออะไร มาทำความรู้จักกันตั้งแต่ขั้นพื้นฐานแบบง่ายๆสตาร์ทอัพเริ่มเป็นคำศัพท์ที่ฮิตติดหูในวงการธุรกิจอย่างกว้างขวางมากขึ้น และในช่วงกลางเดือนตุลาคมในปี 2020 ซีรีส์เกาหลีเรื่อง START-UP ก็ได้ฉายบน Netflix เป็นตอนแรก ซึ่งถือเป็นซีรีส์แนวใหม่ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความฝัน ความมุ่งมั่น ในด้านธุรกิจสตาร์ทอัพผ่านตัวละครหลัก 4 ตัว ซีรีส์เรื่องนี้มีกลิ่นอายคล้าย ๆ กับ ITAEWON CLASS ที่เล่าถึงการสู้ชีวิตของพระเอก จากการเป็นเถ้าแก่ร้านอาหารเล็ก ๆ สู่กิจการขนาดใหญ่ระดับอินเตอร์ด้วยโลกที่เปลี่ยนไปทำให้ความนิยมในการเสพความบันเทิงมีความหลากหลายและเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ทำให้ซีรีส์ที่เล่าเรื่องการทำธุรกิจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ทีชอบเสพความบันเทิงแบบแฝงสาระด้วย บวกด้วยเนื้อเรื่องที่สนุก น่าติดตาม กับเสน่ห์ของการเล่าเรื่องต่าง ๆ ของตัวละครและบท ทำให้ซีรีส์เรื่อง START-UP ประสบความสำเร็จ และติดอันดับ 1 ในเทรนด์ของ Netflix ประเทศไทยในที่สุดซีรีส์ที่เล่าเรื่องการทำธุรกิจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ทีชอบเสพความบันเทิงแบบแฝงสาระด้วยซึ่งนั่นอาจทำให้เกิด “ผู้ชมกลุ่มใหม่” เกิดความสนใจในสตาร์ทอัพ แต่อาจจะยังไม่ได้เข้าใจเนเจอร์ของมันมากนัก อันที่จริงตัวซีรีส์เองก็ทำหน้าที่ในการสอดแทรกเนื้อหาของสตาร์ทอัพได้น่าสนใจและเข้าใจง่ายอยู่แล้ว แต่ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันมากขึ้นตั้งแต่พื้นฐาน เพื่อให้เราอินกับซีรีส์มากขึ้น หรืออาจจะนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในอนาคตได้สตาร์ทอัพ (Startup) คืออะไร?ถ้าให้อธิบายแบบเข้าใจง่ายที่สุด สตาร์ทอัพก็เหมือนธุรกิจอื่น ๆ ทั่วไป แต่สิ่งที่ทำให้มันแตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ ก็คือ “การเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด” กล่าวคือจะต้องเติบโตถึง 1,000% ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนคราวนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วจะเติบโตขนาดนั้นได้อย่างไร? ปัจจัยในการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพมีอยู่ 2 ข้อคือ 1. ทำซ้ำได้ (Repeatable) หมายถึงขายแล้วขายอีกได้แบบอินฟินิตี้ และ 2. ขยายได้ (Scalable) คือการเพิ่มจำนวนช่องทางการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ขยายโมเดลการทำเงินกับลูกค้ากลุ่มเดิม ทำให้มีโอกาสแตะกำไรได้มากขึ้นแบบก้าวกระโดดคำถามต่อมาคือเราจะทำซ้ำและขยายกิจการในระยะเวลาอันสั้นได้อย่างไร คำตอบสำหรับคำถามนี้เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมสตาร์ทอัพต้องอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลักดัน ทำไมต้องมีแอปพลิเคชัน ทำไมต้องมีเว็บไซต์ ก็เพื่อที่จะได้เติบโตได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นนั่นเองการทำสตาร์ทอัพต้องมองโจทย์ใหม่ในหลาย ๆ มุมการมีความคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพ ยกตัวอย่างหากเราทำธุรกิจติวเตอร์ เราเป็นสถาบันกวดวิชา ส่วนลูกค้าของเราคือนักเรียน การจะขยายกิจการให้เติบโตขึ้นในระยะเวลาอันสั้น สำหรับโจทย์นี้คือการเติบโตในแง่ของ Physical ซึ่งยากมาก ๆ เพราะเราไม่สามารถแยกร่างตัวเองหรือ Copy & Paste ผู้บริหาร, ติวเตอร์เก่ง ๆ หรืออาคารสถานที่ได้ ทำได้มากที่สุดคือการจ้างและจ่ายซึ่งทุกอย่างล้วนใช้ต้นทุนที่สูงแต่ถ้าหากเราลองขยับมุมมอง เปลี่ยนตำแหน่งตัวเองจากเจ้าของสถาบัน มาอยู่ตรงกลางระหว่างติวเตอร์กับนักเรียน เมื่อเราเป็นตัวกลางระหว่างติวเตอร์และนักเรียน โจทย์ในการขยายกิจการก็เปลี่ยนไป ความเป็นไปได้ในการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในระยะอันสั้นก็มีมากขึ้นการขยายทางกายภาพเป็นสิ่งที่ยากที่สุดเพราะเราไม่สามารถแยกร่างตัวเองหรือ Copy & Paste ผู้บริหาร, ติวเตอร์เก่ง ๆ หรืออาคารสถานที่ได้เพราะเราสามารถนำติวเตอร์ทั้งประเทศมาเจอกับนักเรียนทั้งประเทศได้ ผ่านตัวกลางอย่างแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ มีการจัดเรต รีวิว ให้คะแนนติวเตอร์ ฝั่งนักเรียนสามารถใส่ Requirement ที่ต้องการเป็นพิเศษ นัดเวลา และสถานที่กันเองได้ โดยที่เราไม่ต้องลงทุนซื้อตึกหรืออาคารเอง แม้ว่าเราจะไม่ได้ค่าสอนพิเศษเต็มจำนวน แต่เราจะได้เปอร์เซ็นต์ค่านายหน้าหรือค่าธรรมเนียม อื่น ๆ แทนและมีโอกาสสร้างรายได้จากการอยู่เฉย ๆ ได้มากกว่าการสอนเองที่ต้องใช้พลังงานมหาศาลในแต่ละชั่วโมง นอกจากนี้ยังลดต้นทุนในการจ้างติวเตอร์และเช่าอาคารอีกด้วยเราสามารถนำติวเตอร์ทั้งประเทศมาเจอกับนักเรียนทั้งประเทศได้ ผ่านตัวกลางอย่างแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์จริง ๆ แล้วโมเดลธุรกิจของสตาร์ทอัพไม่ได้มีตายตัว แต่หากอยากจะให้กิจการเข้านิยามของคำว่าสตาร์ทอัพ ก็ทำอย่างไรก็ได้ให้ธุรกิจเติบโต 1,000% ภายในระยะเวลาอันสั้น สามารถทำซ้ำและขยายกิจการได้ อย่างที่ Steve Blank บิดาแห่งวงการสตาร์ทอัพได้กล่าวว่า“A startup is a temporary organization designed to search for a repeatable and scalable business model.” หมายความว่า สตาร์ทอัพเป็นองค์กรชั่วคราวที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อมองหาโมเดลธุรกิจที่ทำซ้ำและขยายได้เป้าหมายสูงสุดของสตาร์ทอัพคือการ “ออก” จากสถานะสตาร์ทอัพอย่างที่ Steve Blank ได้ให้นิยามของสตาร์ทอัพเอาไว้ว่าเป็น Temporary Organization หรือว่าเป็น “องค์กรชั่วคราว” นั่นหมายความว่าวันหนึ่งจะต้องมีจุดสิ้นสุดของธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยในวงการจะใช้ศัพท์คำว่า Exit ซึ่งถือเป็นการจบการเป็นสตาร์ทอัพด้วยดี โดยการ Exit มีอยู่สองทางคือ 1. มีคนมาซื้อกิจการ และ 2. การนำธุรกิจเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์การจะไปถึงจุดมุ่งหมายได้การทำสตาร์ทอัพจะมี Stage ของการระดมทุนอยู่ 4 ระดับ ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนตั้งแต่ระดับ Pre-Seed (600,000-1.5 ล้านบาท) เป็นช่วงบ่มเพาะไอเดียให้เป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ระดับ Seed Funding หรือ Pre Series A คือระดับที่เริ่มมี Product และเริ่มเปิดทดลองใช้งานแล้ว (เงินทุนต่ำกว่า 100 ล้านบาท) จากนั้นก็เป็น ระดับที่เริ่มเห็น Business Model ชัดเจนขึ้น ได้แก่ Series A, Series B หรือบางแห่งอาจจะมี C, D, E, F ตามมาด้วยธุรกิจที่ก้าวกระโดดแบบนี้จะหาเงินลงทุนจากไหนไม่ใช่นักธุรกิจสตาร์ทอัพทุกคนจะมีเงินลงทุนทำธุรกิจตั้งแต่แรก ซึ่งตรงนี้เป็นอีกหนึ่งข้อที่สตาร์ทอัพแตกต่างจาก SME แต่นักธุรกิจสตาร์ทอัพจะหาเงินจากการ Pitching ไอเดีย หมายถึงการนำเสนอโมเดลธุรกิจในระยะเวลาอันสั้น จะเรียกว่าขายฝันก็ได้ แต่ฝันนั้นก็ต้องมีที่มาที่ไป ในซีรีส์ START-UP ได้กล่าวไว้ว่าหากเราทำธุรกิจสตาร์ทอัพไม่ประสบความสำเร็จเราก็เป็นได้แค่นักต้มตุ๋น เพราะไม่สามารถทำได้อย่างที่พูดไว้ได้ โดยที่ (นอกจากครอบครัวกับคนที่ไว้ใจพวกเขามาก ๆ แล้ว) ผู้ที่ให้เงินลงทุนกับสตาร์ทอัพจะแบ่งออกเป็นสองรูปลักษณะ ดังนี้1. Angel Investor คือนักลงทุนที่มองเห็นศักยภาพในตัวสตาร์ทอัพตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ทั้งที่ยังไม่มีอะไรเป็นรูปเป็นร่างเสียด้วยซ้ำ มีแค่ไอเดียที่น่าสนใจ จึงทำการเปย์ตั้งแต่แรกพบ ถือเป็นที่รักของนักขายไอเดียอย่างมาก แต่ Angel Investor ก็ต้องมีสายตาที่แหลมคม มองเห็นทะลุปรุโปร่งถึงการทำกำไรในอนาคตได้อย่างไม่มีพลาดด้วยเช่นกัน2. Venture Capitalist นักลงทุนกลุ่มนี้ไม่ชอบเสี่ยงมาก แต่มีความ “เสี่ย” มากพอสมควร เพราะกลุ่มนี้จะเปย์เงินลงทุนให้กับสตาร์ทอัพที่เติบโตมากในระดับประมาณ Series A, Series B แล้ว แม้ว่าจะซัพพอร์ตธุรกิจที่มีความเสี่ยงที่ต่ำ แต่จะให้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก เช่น 100 ล้านบาทขึ้นไปและนี่ก็คือ Startup101 หรือความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสตาร์ทอัพ เพื่อให้เราดูซีรีส์ได้สนุกขึ้น (รับชมได้ทาง Netflix ตอนใหม่มาทุกวันเสาร์-อาทิตย์ 21.00 น.) จริง ๆ แล้วยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับสตาร์ทอัพอีกมากมายที่อยากจะเล่าสู่กันฟังไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์สตาร์ทอัพ, ข้อแตกต่างระหว่างสตาร์ทอัพและ SME หรือชี้ช่องทางการระดมทุนของสตาร์ทอัพแบบละเอียด ยังไงก็รอติดตามอ่านกันได้ค่ะบทความโดย โอ้ กาญจน์ศิริทำความรู้จักกับผู้เขียนมากขึ้นบทสัมภาษณ์FacebookYouTubeเครดิตรูปภาพ : รูปจากเพจ tvN 드라마(Drama) และ Info Graphic โดยเจ้าของบทความ