เล่าต่อบอกต่อกับสาระดีๆที่มีอยู่จริง "คุณก็ทำได้" สวัlดีครับวันนี้ผู้เขียนมีเรื่องเล่าดีๆที่อาจเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับวิถีชีวิตคนเมืองที่ต้องเดินบนทางเท้าก็ดีถนนหนทางก็ดีเพื่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตในเมืองหลวงของประเทศไทย แต่ ข่าวที่ออกมาเรามักจะพบเห็นการขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้าการจอดรถกีดขวางบนทางเท้าทำให้ผู้ใช้บริการบนทางสาธารณะบ่อยครั้งต้องเดินลงบนถนนและเสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่คาดคิดเพราะความไม่เครพกฏกฏจราจรหรือกฏหมายต่างๆที่มี ดังนั้น หน้าที่และความสำคัญหรือการให้บริการของฝ่ายเทศกิจเป็นสิ่งที่ชีวิตคนเมืองอย่างเราๆท่านๆควรจะเห็นคุณค่าและสิทธิที่มีตามกฏหมายที่บัญญัติให้ผู้รับบริการบนทางเท้า กทม นั้น สามารถ "แจ้งเบาะแสเพื่อรับส่วนแบ่งค่าปรับของประชาชน" ได้อย่างถูกต้องตามหลักฏหมาย หน้าที่ของเทศกิจ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา81 ได้บัญญัติให้กรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการในเขตกรุงเทพมหานคร ในเรื่องต่างๆ นาประการ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร (ม.89) งานเทศกิจจึงมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลและบังคับการ ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร มีอำนาจในการดำเนินการจับกุมและเปรียบเทียบปรับ มีอำนาจยึดหรืออาศัย รวมทั้งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายของบ้านเมือง“ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร” หมายถึง กฎหมายที่กรุงเทพมหานครตราขึ้น โดยได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2523 ฯลฯ หรือมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจตามข้อบัญญัติได้ และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนั้น จะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ โดยที่ผู้เขียนหยิบยกตัวอย่างที่เป็นสาระที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการบนทางเท้าใน กทม เช่น การจอดรถยนต์หรือขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ล้อเลื่อนบนทางเท้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และผู้ที่แจ้งเบาะแสจนถึงขั้นจบกระบวนการเปรียบเทียบปรับนั้น สามารถได้รับส่วนแบ่งถึง 2,500 บาทเลยทีเดียว แล้วทำยังไงเพื่อให้มีรายได้? เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาเรามาเพิ่มช่องทางการมีรายได้กันนะครับขั้นตอนที่ 1 โหลด Line แล้วทำการค้นหา รางวัลนำจับ ขั้นตอนที่ 2 เมื่อทำการเพิ่มเพื่อนใน Line ระบบจะทำการแสดงข้อความโดยเราสามารถกด LINK ตามเพื่อเข้าสู่ระบบสมัครเพื่อยืนยันตนเป็นผู้ใช้งานอย่างถูกต้องและยืนยันสิทธิที่จะได้รับข้อมูลต่างๆ ขั้นตอนที่ 3 ทำการลงทะเบียน ขั้นตอนที่ 4 กรอกข้อมูลของตนเองพร้อมทั้งหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลักขั้นตอนที่ 5 เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้นระบบจะทำการยืนยันผู้ใช้งานโดยมีการระบุชื่อผู้ใช้งาน ขั้นตอนที่ 6 เริ่มต้นแจ้งเบาะแสตามความผิด "ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร" จริงๆแล้วไม่เพียงแต่การแจ้งเบาะแสเรื่องการขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้าหรือจอดรถยนต์ทางเท้าเท่านั้นแต่สามารถเเจ้งเบาะเเสอื่นๆได้ตามระบบที่สามารถเลือกการกระทำความผิดได้ ขั้นตอนที่ 7 เป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดนั้นคือ การถ่ายรูป ผู้เขียนขออนุญาตให้แง่คิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับการถ่ายรูปเพราะอาจเป็นความไม่ปลอดภัยสำหรับผู้เเจ้งเบาะเเสนั้นเอง ห้ามเปิดเสียงเวลาถ่ายรูปเด็ดขาด ห้ามมีแสงไฟเวลาถ่ายรูปเด็ดขาด การถ่ายรูปต้องเห็นป้ายทะเบียนชัดเจน สีรถชัดเจนบุคคลที่ขับขี่ชัดเจน "เพื่อรับส่วนแบ่งค่าปรับ" ที่ไม่ผิดพลาด อย่าลืม ***ประสงค์รับค่าส่วนแบ่งค่าปรับด้วยนะครับ*** หรือเลือกที่จะไม่รับส่วนแบ่งค่าปรับได้เช่นกัน ขั้นตอนที่ 8 เมื่อส่งข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถีงเวลา รอ โดย อาจจะมีจดหมายไปถึงผู้ร้องเรียนให้มารับส่วนแบ่งค่าปรับตามที่อยู่ที่ทางเทศกิจกำหนดให้หรืออาจจะมี sms เพื่อรับการติดต่อให้ผู้ร้องเรียนมาติดตามทางช่องทางอื่นๆที่ผู้สมัครยืนยันตนเพื่อความสะดวกต่อไป หรือจะติดตามสถานะการร้องเรียนผ่านระบบก็สามารถทำได้เช่นกันนับได้ว่าเป็นอาชีพเสริมที่เพียงมีแค่มือถือและกล้องดีๆจังหวะดีๆก็สามารถเพิ่มรายได้และเป็นการลดการกระทำความผิดจราจรหรือความผิดต่างๆตามหรือการฝ่าฝืนกฏระเบียบข้อบังคับต่างๆของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและนับได้ว่าเป็นการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนที่ให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่ายๆในยุค 4.0 ....สวัสดี ^^" โปรดติดตามข่าวสารดีๆ : Kreangkai E.เขียนบทความโดย อาจารย์เกรียงไกร เอกเกื้อบุญ B.P.S. & B.P.A***ขอบคุณ***แหล่งข้อมูล ฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขตลาดกระบังแหล่งข้อมูล ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของราชการ สำนักเทศกิจ***เครดิตภาพ***-รูปภาพ- ประกอบหน้าปก ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของราชการ สำนักเทศกิจ-รูปภาพ- ประกอบที่ 1-10 Kreangkai E.