ในโลกอุตสาหกรรมในปัจจุบันนี้ มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง เทคโนโลยีในด้านต่างๆ มีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันสมัย และตอบสนองความต้องการของท้องตลาดมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น Process, Machine, Equipment หรือแม้กระทั้ง เทคโนโลยีด้านวัสดุ หรือ Materials ด้วยเช่นกันด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ สถาบันการศึกษาหลายๆ แห่งมองเห็นความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ขึ้นมา และได้ทำการก่อตั้ง วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ ขึ้นมานั้นเองครับผม ซึ่งก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่พึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยได้ไม่นานเท่าไหร่ นะครับซึ่งตัวผมเองก็เป็นหนึ่งในผลผลิตของ วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ เช่นกัน ในยุคนั้นพึ่งก่อตั้งสาขาวิชานี้มาได้ไม่ถึง 2 ปีเลยครับ แต่ตัวผมเองมองว่า สาขาวิชานี้ เป็นสาขาใหม่ ที่มีความน่าสนใจมากๆ และเป็นที่ต้องการมากๆ ในวงการอุตสาหกรรม และมีคนให้ความสนใจน้อยมาก ซึ่งอาจจะทำให้มีการแข่งขันกันน้อย นะครับ จึงทำให้ผมตัดสินใจมาเรียนในสาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ ในตอนนั้นครับผมวัสดุทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ก็จะสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็น Metal, Polymer, Rubber, Ceramic หรือ Composite Material เป็นต้น ซึ่งแต่ละแขนงก็ต้องการ การพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับ เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการก่อตั้งสาขาวิชา วิศวกรรมวัสดุ ขึ้นมา นะครับผมสาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ หรือ Materials Engineering เป็นสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่มุ่งเน้นให้ศึกษาในเรื่องเทคโนโลยีของวัสดุวิศวกรรมเป็นหลัก โดยทำการศึกษาตั้งแต่ คุณสมบัติของวัสดุ เทคโนโลยีกรรมวิธีการผลิตวัสดุ รวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุวิศวกรรมที่เหมาะสม เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องทำการศึกษา การลดต้นทุน การพัฒนาปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุ พัฒนาปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตวัสดุ เพื่อให้การเลือกใช้วัสดุวิศวกรรม สามารถตอบสนองความต้องการของทางอุตสาหกกรมการผลิตได้ ครับผมผมมีข้อแนะนำเกี่ยวกับ วิศวกรรมวัสดุ นิดนึงนะครับ หลักสูตรวิศวกรรมวัสดุ ของแต่ละสถาบันการศึกษา จะมีความมุ่งเน้นที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น บางแห่งเน้นทางด้านโลหะ บางแห่งเน้นทางด้านพลาสติก บางแห่งเน้นทางด้านเซรามิก เป็นต้น ซึ่งอย่างตัวผมเอง ก็จะเรียน วิศวกรรมวัสดุ เน้นในสายโลหะ และตัวผมเองก็มีความสนใจด้าน อะลูมิเนียม เป็นพิเศษ เป็นต้นนะครับเพราะฉะนั้นแล้ว ก่อนที่น้องๆ จะทำการเลือกสถาบันการศึกษา ในการเรียนต่อในสาขา วิชาวิศวกรรมวัสดุ น้องๆ ต้องทำการตรวจสอบรายละเอียดของหลักสูตร ของแต่ละสถาบันการศึกษาให้ดีๆ ก่อนตัดสินใจนะครับผมสาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ หรือ Materials Engineering เรียนจบมาแล้ว สามารถเข้าทำงานได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาครัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ยกตัวอย่างเช่น ศูนย์วิจัยวัสดุ โรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์ทดสอบวัสดุ และยังสามารถทำงานเป็น วิศวกรด้านวัสดุ นักวิจัยวัสดุ อาจารย์ วิศวกรการผลิต วิศวกรซ่อมบำรุง วิศวกรจัดซื้อ วิศวกรฝ่ายขาย และ อื่นๆ หรือสามารถประกอบกิจการส่วนตัวได้ เช่นกันนะครับผมมองว่า วิศวกรรมวัสดุ หรือ Materials Engineering มีความสำคัญต่อการพัฒนา อุตสาหกรรม เป็นอย่างมาก ตัวผมเองก็เรียนจบ วิศวกรรมวัสดุ มา ก็สามารถนำความรู้ความสามารถที่ได้มา นำมาปรับปรุงพัฒนา เกี่ยวกับงานที่ทำอยู่ได้ดีมากๆ เช่น การเลือกวัสดุที่นำมาผลิตชิ้นงาน หรือ การปรับปรุงพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุ ให้ดีมากขึ้น โดยที่มีตอนทุนลดลงได้ เป็นต้น ถือว่า เป็นสาขาวิชาที่มีความน่าสนใจมากๆ เลยนะครับผมสำหรับสถาบันการศึกษาที่ทำการเปิดการเรียนการสอนใน สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ หรือ Materials Engineering ก็มีเกิดขึ้นมากมาย เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และอื่นๆ อีกมากมาย น้องๆ สามารถศึกษา หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ตามข้อมูลของแต่ละสถาบันได้เลยนะครับผมส่วนตัวผมเอง มองว่า วิศวกรรมวัสดุ เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่มีความต้องการเป็นอย่างมาก ในวงการอุตสาหกรรม และบ้านเรานั้นยังมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัสดุที่ไม่เพียงพอ และศูนย์วิจัยพัฒนาด้านวัสดุที่ยังน้อยอยู่ นะครับ หากเราสามารถ ปรับปรุงพัฒนาวัสดุ ให้มีคุณสมบัติที่ดี ที่สอดคล้องกับความต้องการ และเทคโนโลยี ได้แล้วนั้น จะสามารถทำให้ ลดต้นทุนการผลิตได้มากๆ และสร้างผลกำไรได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียวนะครับผมนี้ก็เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนที่ผมนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ หวังว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับหลายๆ ท่านนะครับ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผมขอต้องขออภัยไว้ด้วยนะครับผม ขอบคุณมากๆ ครับผมภาพหน้าปกจาก: Pixabay / Adrian Malec, Pixabay / Michael Schwarzenberger, Pixabay / MustangJoe, Pixabay / Erdenebayar Bayansan, Pixabay / Steve Buissinneภาพจากลำดับที่ 1 จาก: Pixabay / Doris Jacobyภาพจากลำดับที่ 2 จาก: Pixabay / Enlightening Imagesภาพจากลำดับที่ 3 จาก: Pixabay / yeqiancoolภาพจากลำดับที่ 4 จาก: Pixabay / Matias_Lugeภาพจากลำดับที่ 5 จาก: Pixabay / Marijn Hubertภาพจากลำดับที่ 6 จาก: Pixabay / PublicDomainPictures7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์