รีเซต

กกต.เข้มขรก.-ส.ส. ห้ามกดแชร์-ไลค์ผู้สมัครชิง อบจ.

กกต.เข้มขรก.-ส.ส. ห้ามกดแชร์-ไลค์ผู้สมัครชิง อบจ.
มติชน
5 พฤศจิกายน 2563 ( 07:59 )
284
กกต.เข้มขรก.-ส.ส. ห้ามกดแชร์-ไลค์ผู้สมัครชิง อบจ.

คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เป็นรับสมัครชิงเก้าอี้นายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 2-6 พฤศจิกายน ท่ามกลางข้อสงสัยต่อพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น มาตรา 34 ห้ามข้าราชการการเมือง ส.ส. ส.ว. ช่วยผู้สมัครหาเสียงว่า มีความครอบคลุมการปฏิบัติอย่างไร ล่าสุดมีความชัดเจนมากขึ้นจาก กกต.

 

โดยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน นายแสวง บุญมี รองเลขาธิการ กกต. กล่าวว่า ในเรื่องของการหาเสียงกกต.มีมติห้าม ข้าราชการการเมือง ส.ส. ส.ว. เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ช่วยผู้สมัครหาเสียงเลือกตั้ง หากทำผิดจะมีผลในเชิงผลคดีอาญา ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงผู้ช่วยส.ส.และเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย เช่นนายอำเภอมีน้องชายลงสมัครรับเลือกตั้ง นายอำเภอเรียกประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน แล้วบอกให้ไปเลือกน้องชาย อย่างนี้ถือเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่ เพราะเป็นคนที่มีอำนาจเรียกประชุม แต่ถ้านายอำเภอไปกินก๋วยเตี๋ยว แล้วเจอชาวบ้านก็บอกให้ไปเลือกน้องชาย อย่างนี้ไม่ใช่เป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่ แต่ถือว่าวางตัวไม่เป็นกลางก็มีความผิดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองกฎหมายไม่ได้ห้ามที่จะสนับสนุนหรือส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งท้องถิ่น สามารถออกเงินค่าใช้จ่ายและใช้โลโก้พรรคหาเสียงได้

 

นายแสวงกล่าวว่า ส่วนเรื่องของการให้ทรัพย์สิน หรือเงินซองงานบุญต่างๆ ว่าไม่ว่าจะให้กี่บาทที่ให้แก่ตัวบุคคล มูลนิธิ วัด หรือให้ตามประเพณีปกตินิยม ถือว่ามีความผิด และส่งศาลดำเนินคดีทุกราย


ขณะที่ร.ต.อ.มนูญ วิเชียรนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนงานสืบสวนสอบสวน สำนักงาน กกต. ชี้แจงเพิ่มเติมกรณีข้าราชการการเมือง ส.ส. ส.ว. ผู้บริหารท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ กดไลก์ กดแชร์โพสต์หาเสียงของผู้สมัครเลือกตั้ง ว่า การแชร์ถือเป็นการหาเสียงให้ผู้สมัครอยู่แล้ว การกดไลค์กดแชร์ไม่ควรกระทำ เพราะเป็นเหตุให้ถูกร้องได้ ดังนั้นจึงไม่ควรเสี่ยงที่จะกระทำ ส่วนผู้ที่จะชี้ว่าผิดหรือถูกคือ กกต. ส่วนกรณีบุคคลที่เคยถูกตัดสิทธิทางการเมืองหรือถูกยุบพรรค สามารถช่วยหาเสียงให้ผู้สมัครได้ เพราะการถูกตัดสิทธิทางการเมืองคือ ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้เท่านั้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง