เปิดขั้นตอน-เอกสาร ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท
สำหรับขั้นตอนลงทะเบียนตามมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่นๆ ของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือมาตรการเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รวมแล้วได้รับ 15,000 บาทตอคน ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ที่มีสิทธิ์ แรงงาน ลูกจ้างชั่วคคราว อาชีพอิสระ ไม่รวมผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคม
ส่วนอยู่ในมาตรการ 39 และมาตรา 40 สามารถมาลงทะเบียนได้ ไม่รวมข้าราชการและข้าราชการบำนาญ และไม่รวมเกษตรกร (กลุ่มเกษตรกรได้รับความช่วยเหลืออื่น ๆ จากรัฐบาลอยู่แล้ว) ส่วนเกษตรกรทำอาชีพอิสระ ค้าขาย ลงทะเบียนได้
สิ่งที่ต้องเตรียม บัตรประชาชน บัญชีธนาคารหรือบัญชีพร้อมเพย์ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลนายจ้าง หมายเลขมือถือที่ติดต่อได้สะดวกสุด
ขั้นตอนการลงทะเบียน
1.ตั้งแต่เวลา 18.00 น. วันนี้ (28 มีนาคม 2563) เข้าไปลงทะเบียนที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ให้เพื่อน พี่ น้อง ลูก หลาน ลงทะเบียนให้ได้
2.เมื่อกรอกข้อมูลส่วนตัวให้เลือกช่องทางการรับเงิน ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ โอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ หรือโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร จากนั้นกดปุ่มยืนยันข้อมูล
ระบบจะเข้าสู่อีกหน้าเพจข้อมูลการประกอบอาชีพ
กรณีมีนายจ้าง ให้กรอกข้อมูลนายจ้างเพิ่มเติม ส่วนกรณีที่ไม่มีนายจ้างให้ชี้แจงว่าประกอบอาชีพอะไร และได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างไร เช่น กระทบเรื่องรายได้ลดลง ปิดกิจการ เลิกจ้าง และอื่น ๆ และกดปุ่มยืนยัน หลังจากนั้นตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดอีกครั้ง
3.เมื่อลงทะเบียนผ่านเว็ปไซด์เรียบร้อยแล้ว ระบบจะส่งข้อมูลกลับไปแจ้งผลการตรวจสอบผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้ ภายใน 7 วัน ทำการ หรือถ้าลงทะเบียนวันที่ 28 มีนาคม รับเงินช้าสุดวันที่ 8 เมษายน
ทั้งนี้ หลังจากลงทะเบียน กระทรวงการคลังจะทำการคัดกรองผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยา โดยจะแบ่งเป็น 3 กรณี
1.กรณีที่ได้รับสิทธิ ไม่มีปัญหา จะมี SMS ยืนยันว่า ได้รับสิทธิ์ และระบบจะโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์หรือบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนไว้ ภายใน 7 วัน
2. กรณีไม่ได้รับสิทธิ์จะแจ้งสาเหตุว่า ไม่ได้รับสิทธิ์เพราะเหตุใด เช่น อยู่ในฐานข้อมูลประกันสังคม เป็นต้น สามารถอุทธร์ผลการพิจารณาพร้อมหลักฐานกับกระทรวงการคลังได้
3.รายที่ต้องขอข้อมูลเพิ่มเติมก็จะระบุข้อมูลที่ต้องยื่นเพิ่มพร้อมช่องทางต้องยืนเอกสาร
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าลงทะเบียนแล้วจะได้ทุกคน ผู้ที่มาลงทะเบียนถูกตรวจสอบจากระบบเอไอ ถ้าหลักฐานพร้อม และเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น มีคำสั่งจากรัฐในการปิดกิจการ จะได้รับเงินทันที
ส่วนรายที่มาลงทะเบียนไว้เผื่อได้เงินจะถูกเจ้าหน้าตรวจสอบและขอหลักฐานเพิ่มเติม
รัฐบาลตั้งงบประมาณไว้ 3 ล้านคน หรือรวมแล้ว 4.5 หมื่นล้านบาท แต่ถ้ามีการลงทะเบียนสูงกว่านี้และต้องเงินใช้เพิ่มกระทรวงการคลังพร้อมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)