การนำผักตบชวามาใช้ในการสลายสารมลพิษในน้ำ เนื่องจากเป็นพืชที่มีคุณสมบัติเหมาะหลายประการอาทิ มีความสามารถในการดูดซึมทั้งสารมลพิษอินทรีย์และ อนินทรีย์ในปริมาณสูง เจริญเติบโตได้เร็วแม้ว่าจะอยู่ในน้ำเสีย เป็นพืชที่มีรากยาว และโครงสร้างของรากที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ แบบใช้ออกซิเจน ซึ่งจุลินทรีย์ที่อยู่บริเวณรากของผักตบชวาจะมีบทบาทในการเปลี่ยนอินทรีย์วัตถุ รวมทั้งธาตุอาหารต่างๆ เอาละเสียเวลา วันนี้จะมาสอนวิธีการทำ ผักตบบำบัดน้ำเสียและการเตรียมตัวก่อนเริ่มทำ เรามาเริ่มขั้นตอนแรกกันเลยการเตรียมตัวในการเริ่มทำผักตบชวาบำบัดน้ำ.เริ่มแรกเตรียมอุปกรณ์ ประเภทท่อ PVC กาวทาท่อ ตลับเมตรไว้เตรียมวัดขนาด เลื่อยตัดท่อ เชือกไว้ผูกตึงคอก ต่อไปเป็นการหาผักตบชวาเพื่อมาใส่ในคอก ถ้าเรามีเครื่องมืออุปกรณ์ในการวัดค่า PH (ความเป็น กรดด่าง) ของน้ำ ก็นำน้ำตัวอย่างมาวัด ก่อน-หลัง ทำการบำบัด หรือดูด้วยตาเปล่าว่าน้ำมีสีอะไร น้ำขุ่นไหม เพราะจะดูความเปลี่ยนแปลงของน้ำ ขั้นตอนที่ 1. การเตรียมวัสดุที่จะทำคอกผักตบท่อ PVC ขนาด สองนิ้ว ความยาม ความกว้าง เท่าไหร่ก็ได้ตามที่ต้องการข้อง้อ 4 ตัว สวม 2 นิ้วนำมาประกอบเป็นคอก ดังภาพตัวอย่างรูปภาพจาก ผู้เขียนบทความ ขั้นตอนที่ 2 นำผักตบชวา มาใส่ในคอกที่เราเตรียมไว้หลังที่เราเอาผักตบชวามาใส่ในคอก ที่เราเตรียมไว้แล้ว เราก็ทำการเอาเชือกมาผูกคอกผักตบชวา ให้ยึดกับฝั่งเพื่อที่จะไม่ให้มันเคลื่อนไหวไปมา เพื่อที่จะให้ผักตบชวาได้ฟื้นตัวเร็วแล้วยืนต้นได้เร็ว ดังภาพตัวอย่างรูปภาพจาก ผู้เขียนบทความ ขั้นตอนสุดท้าย เป็นการดูแลควบคุมผักตบชวาการดูแลควบคุมผักตบชวา หรือ กำจัดผักตบชวา พอผักตบชวาเจริญเติบโตขยายแพร่ไปเต็มคอก เราก็ทำการตัดลูกผักตบเล็ก ๆ ที่ออกจากคอก เพื่อที่จะไม่ให้ผักตบชวาแพร่ออกมานอกคอก เพื่อป้องกันการขยายตัวของผักตบชวา พอเราตัดเสร็จก็นำผักตบเล็ก ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น นำมาเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ นำมาทำเป็นปุ๋ยหมักสำหรับการปลูกพืชผักต่าง ๆ เนื่องจากผักตบชวามีโพแทสเซียมอยู่มากเป็นพิเศษ ส่วนฟอสฟอรัสและไนโตรเจนก็มีอยู่พอสมควร หรือนำมาใช้คลุมต้นไม้ที่ปลูกเอาไว้ให้เกิดความชุ่มชื้น เนื่องจากผักชนิดนี้มีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดี ผักตบชวาที่ตากแดดจนแห้งดีแล้ว สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางเพื่อสร้างรายได้ได้เป็นอย่างดี กำจัดผักตบชวา รูปภาพจาก ผู้เขียนบทความประโยชน์ของการนำผักตบชวามาบำบัดน้ำเสียหลังจากที่เราได้นำผักตบชวา ลงบ่อได้ประมาณ 1-2 เดือน ผักตบก็จะเริ่มทำการดูดซึมสารมลพิษ ตะกอนในน้ำ พืชในน้ำ ทำให้น้ำเริ่มใสขึ้นอย่างมองเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างไปจากเดิม พืชน้ำ ก็จะน้อยลง น้ำไม่เป็นคราบ ผักตบชวาสามารถขึ้นได้ในทุกสภาพน้ำและสามารถช่วยบำบัดน้ำเสียได้โดยตรง โดยทำหน้าที่เป็นตัวกรอง ทำให้ของแข็งหรือสารแขวนลอยต่าง ๆ ที่ปนอยู่ในน้ำถูกสกัดกั้นเอาไว้ นอกจากนั้นระบบรากของผักตบชวาที่มีจำนวนมาก ยังช่วยกรองสารอินทรีย์ที่ละเอียดและจุลินทรีย์ที่อาศัยเกาะอยู่ที่ราก จึงช่วยดูดสารเหล่านี้ไว้ด้วยอีกทางหนึ่ง แต่ถ้าน้ำเสียนั้นมีสารพิษในปริมาณมากหรือน้ำเสียมาก การใช้ผักตบชวาเพื่อบำบัดน้ำเสียจะให้ผลช้าและอาจทำให้น้ำเน่าได้ จึงควรใช้ผักตบชวาร่วมกับการบำบัดน้ำเสียระบบอื่นไปด้วย จึงจะได้ผลดี เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !