ตอบชัดๆ เลยว่ายัง ได้อยู่! ได้อยู่ = ? ก็ยังได้นั่นแหล่ะค่ะ เพียงแต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธให้ทันสมัยขึ้น พัฒนาขึ้นก่อร AI จะยึดครอง! วันนี้ผู้เขียนจะมาเล่ามุมมองและประสบการณ์การขายภาพ หรือที่เรียกว่า Stock photo ให้ฟังกันค่ะ ซึ่งผู้เขียนอยู่กับธุรกิจตัวนี้มาตั้งแต่ปี 2556 ก็ระยะเวลา 10 ปี พอดิบพอดี ถ้านับไปแล้วเป็นโชคดีที่ได้เข้าไปอยู่ธุรกิจตัวนี้ตั้งแต่ช่วงแรกๆ เป็นธุุรกิจที่เพิ่งเข้ามาในบ้านเรา แล้วขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งยังมีส่วนแบ่งที่บ้านเราเรียกว่า ว้าว! แต่ในต่างประเทศอาจจะมองเป็นแค่เศษเงิน แต่ด้วยค่าเงินบาทกับดอลล่าห์ที่ คำนวณแล้วจับต้องได้ น่าจะไปด้วยกันได้ ซึ่งตอนนั้นมือถือก็ยังไม่ตอบโจทย์ แต่ก็เริ่มมีกล้อง ดิจิตอล แบบ compact เริ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้น จุดเริ่มต้นผู้เขียนเคยได้ใช้ตั้งแต่กล้องฟิล์ม (ของครอบครัว) ก็ไม่ได้ถ่ายภาพสวยงามอะไรมากมาย แค่มีไว้ถ่ายรูปเพื่อนๆ ได้ก็พอแล้ว พอผ่านมาถึงยุคกล้องคอมแพค ก็เก็บตังค์ซื้อได้แค่กล้องตัวเล็กๆ ถ่ายเล่นไปเรื่อยๆ จนมีลูกก็อยากจะเก็บภาพความทรงจำของลูกเอาไว้แค่นั้น แต่ก็เริ่มรู้สึกอยากถ่ายภาพบุคคลให้สวยขึ้น หน้าชัดหลังเบลอ ก็เลยเก็บเงินซื้อกล้องมือ 2 ไว้ซักตัวจนมาได้กล้อง DSLR ตัวแรกที่ Nikon D5100 ตัวแรกก็เริ่มศึกษาการใช้กล้อง ซึ่งในช่วงนั้นกล้องก็ยังเป็นที่นิยมกัน เพราะมือถือยังไม่ตอบโจทย์การถ่ายภาพเท่าที่ควร Photo Stock ยุคแรกจนกระทั่งได้พูดคุยกับเพื่อนคนนึงที่ชอบถ่ายภาพลูกเช่นกัน แนะนำให้ลองเอารูปมาขายดูที่ Shutterstock ซึ่งในยุคนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเข้าไปขายได้เพราะจะมีการส่งรูปไปสอบ เพื่อจะดูรูปของเราว่าเข้ามาตรฐานในการขาย หรือมีลิขสิทธิ์หรือไม่ โดยที่จะต้องส่งภาพไปทั้งหมด 10 ภาพ แล้วภาพของเราจะต้องผ่าน 7 ผ่าน จึงจะสามารถอัพโหลดภาพขึ้นไปขายได้ ในยุคนั้นบอกเลยว่าหิน! ด้วยความที่เราก็ศึกษาด้วยตัวเอง ความรู้ไม่มาก ทำให้ใช้เวลาในการสอบ ถึง 7 รอบ แล้วแต่ละรอบถ้าไม่ผ่านจะต้องรอประมาณ 1 สัปดาห์ถึงจะสอบครั้งใหม่ได้ (ไปฝึกมาใหม่) แต่เราก็ไม่ย่อท้อเพราะว่า ทุกครั้งที่ส่งภาพไป ภาพที่ไม่ผ่านจะมี คอมเม้นท์จากผู้ตรวจ นั่นหมายความว่าเราจะรู้ข้อผิดพลาด ให้เราไปแก้ไข ทำให้ฝีมือเราจะพัฒนาขึ้นได้เรื่อยๆ จนครั้ง ที่ 7 (ประมาณ 2 เดือน) เราก็มีภาพขึ้นไปขายในระดับอินเตอร์ได้เป็นครั้งแรก มันเป็นความรู้สึกที่บอกไม่ถูกเลย ตั้งแต่ก็เริ่มมีไฟขึ้นมาโดยส่วนมากที่จะถ่ายเน้นที่ไปลูก เพราะเคยพาลูกไปแคสงานโฆษณาบ่อยๆ พอจะได้ไอเดียในการถ่ายแอคชั้นต่างๆของเด็กในงาน commercial มาบ้าง ภาพแรกที่ขายได้บอกเลยว่าไม่ได้เกี่ยวกับลูกเลย แต่แค่เราคิดถ่ายเกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวของเราเอง รายได้จากภาพแรก เท่าไหร่น่ะหรอ 0.33$ คิดเป็นเงินไทยก็น่าจะราวๆ 10 บาท ภาพละ 10 บาท เราต้องมีภาพกี่ภาพเเนี่ยถึงจะอยู่ได้ ก็ลองคูณเข้าไปสิคะ 10 บาท 100 รูป = 1,000 บาท 10 บาท 1,000 รูป = 10,000 สบายแล้วเราแค่มีภาพในพอร์ท 1,000 รูปก็ได้เงินเป็นหมื่นๆแล้ว ถามว่าได้มั้ยก็ตอบว่า ได้! แต่ภาพของคุณต้องมีคุณภาพที่จะสู้กับทั่วโลกได้นะ ฉะนั้น! ปริมาณ ไม่เท่ากับ ทำงานที่มีคุณภาพส่งเข้าไป ก็ไหนบอกว่าถ่ายเล่นๆก็ขายได้ไง ใช่ค่ะ! ถ่ายเล่นก็ได้ตังค์กินหนมเล่นๆ แต่ถ้าจะเข้าสู่ต้องการได้เงินจริงจัง ก็ต้องถ่ายแบบจริงจังค่ะยุครายได้เฟื่องฟู ช่วง 2-3 ปีแรก ผู้เขียนพัฒนาทั้งฝีมือการถ่ายภาพ การแอคติ้งของนายแบบ อุปกรณ์ (ไฟแฟลชก็มา ฉากหลังขาวก็มี) ก็มีภาพเพิ่มมากขึ้นเรื่อย จนสามารถขยายฐานไปส่งหลายๆ แพลตฟอร์มได้ เช่น Adobe, Depositphotos, 123rf, dreamstime บอกเลยว่า ยิ่งมีภาพมาขยายตลาดไปได้มากรายได้ก็มาอย่างต่อเนื่อง จากการพบปะพูดคุยเพื่อนๆ ในธุรกิจ ยิ่งถ้าใครมีไอเดียมาก ขยันมาก ทำภาพมีคุณภาพมากเท่าไหร่ รายได้ยิ่งสูงตาม จากภาพละ 10 บาท มีการอัพเลเวล ที่ทำให้รายได้เราเพิ่มสูงขึ้นไปอีกเป็นลำดับขั้น จนได้ภาพที่สูงสุด ในราคา 0.38$ ดูเหมือน ทศนิยมจะขึ้นมาเล็กน้อย แต่จริงๆแล้ว ภาพเราต่อ 1 ภาพ สามารถขายได้ไม่จำกัดครั้ง (Royalty free) และยังมีราคาแพคเกตต่างๆ ที่ขึ้นอยู่กับว่าลูกค้าจะซื้อผลงานของเราไปทำอะไร (ผู้เขียนเองเคยขายได้ภาพเดียวในราคามากกว่า 100$) ก็เหมือนกับถูกหวยกันเลยทีเดียว ในยุคนั้นทำงานประจำไปด้วย เลี้ยงลูก มีรายได้เสริม รายได้จากต่างประเทศทำให้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ พยายามพัฒนาตัวเอง (ภาพของเราจะถูกดาวโหลดไปใช้งานจากทั่วทุกมุมโลก) ปัจจัยที่ทำให้ Stock photo เริ่มนิ่งแต่แล้วก็มาถึงจุดที่ตัวเองเริ่มจะตันและก้าวผ่านไปไม่ได้ (หลายๆ ปัจจัยการขึ้นลงขึ้นอยู่กับ แต่ละบุคคลนะคะ ทั้งปัจจัยส่วนตัว ปัจจัยสิ่งแวดล้อม) เริ่มมีข้ออ้างมากมาย และไม่ศึกษาค้นหาข้อมูลต่อ และยังต่อสู้กับเรื่องราคาและการแข่งขันที่สูงไปอีกมีหลายแพลตฟอร์มเริ่มลดราคาให้ลูกค้าจับต้องได้มากขึ้น มีเวปไซต์ที่กดราคา และแบ่งส่วนแบ่งมาให้ช่างภาพน้อยลง จนหลายคนสู้ไม่ไหวการเปลี่ยนแปลงระบบการจ่ายเงิน การค้นหาภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาภาพที่ต้องอัดเข้าไปมากๆ แต่แล้วก็เหมือนจะจมทะเลไป คุณภาพที่ลดลง คู่แข่งที่มากขึ้นการ copy ผลงานของ contributor ทั้งสายขายภาพ และ vector ช่างภาพต้องแข่งกันเองปัญหาช่องทางการรับเงินภายในประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลง (ต้องเปลี่ยนไปใช้ Payoneer แทน) และการจัดการด้านภาษีต่างๆ ที่อาจจะยุ่งยากมากขึ้นอื่นๆ Stock photo ยังไปต่อได้ไหมในความคิดเห็นส่วนตัวก็ยังพอไปต่อได้ เพราะทุกวันนี้ก็ยังพอได้กินบุญเก่าที่เคยสะสมมากต้องช่วงเฟื่องฟู แต่บอกเลยว่ารายได้หายไป 3 เท่า ในขณะที่ส่งผลงานเข้าไปเพิ่มเรื่อยๆ จนท้อใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ระยะเวลา 10 ปี ถ้าตามอายุงาน ถ้าเรายังติดกับการทำอะไรเดิมๆ คือจะทำให้เราพัฒนาไปได้ยากขึ้น ไม่ว่าธุรกิจใดก็ตาม แต่ถ้าเรามองไปรอบด้าน ของผู้ที่ยังทำธุรกิจด้านนี้อยู่ ก็จะเห็นผู้ที่ไปต่อได้ ด้วยผลงานที่พัฒนาขึ้น เก่งขึ้น มีคุณภาพมากขึ้นและตอบโจทย์ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง หรือเป็นผลงานที่แตกต่าง เฉพาะบุคคลก็ยังเจอได้อยู่ ฝั่งผู้ใช้งานในฝั่งลูกค้าเองก็ยังต้องการภาพที่สมบูรณ์แบบ ใช้งานได้จริง ใช้งานได้ทันที ราคาถูก โดยไม่ต้องจ้างกองถ่าย ช่างภาพ หรือตัวแบบเพื่อถ่ายไม่กี่ภาพแล้วนำภาพไปใช้ได้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นการลงทุนที่ไ่ม่คุ้มค่า การได้มี stock photo ซึ่ง้าาพมืออาชีะ มีกล้องคุณภาพสูง มีโปรมแกรมที่มีลิขสิทธิ์ และมีความคิดส้างสรรค์มากมาย ลูกค้าเองก็ย่อมอยากจะยังคงมาซื้อหาภาพถ่ายในราคาถูกและยังต้องการคุณภาพด้วยค่ะ และที่ในยุคนี้ทุกคนมีมือถือที่มีกล้องคุณภาพสูง ภาพคมชัด ถ่ายภาพได้เองง่ายๆ ทั้นี้ทางฝั่งผู้ขายเองก็สามารถมือถือคุณภาพสูงถ่ายภาพส่งขายได้อีกด้วยนะคะ พบว่าผู้ขายหลายคนก็มีพอร์ทที่ถ่ายจากมือถือและขายได้ด้วยมากมายเลยทีเดียวค่ะ สำหรับใครที่เคยเป็นทั้งผู้ขายมาแล้วแต่หมดไฟ ลองกลับมาจริงจังอีก(หลาย) ครั้ง ก็ยังพอไปได้อยู่นะคะ อาจจะหากลุ่มเพื่อนทียังขายอยู่หรือกลุ่มเพื่อนใหม่ ที่จะมาคอยเติมไฟ ออกไปถ่ายภาพกันอีกก็ยังพอมีนะคะ ภาพประกอบ 2,5 ถ่ายโดย ผู้เขียนภาพปก ถ่ายโดย ผู้เขียนภาพหน้าจอ 1,3,4 จาก www.shutterstock.com7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์