cr. unsplash บทเพลง เป็นแหลงเรียนรู้ได้อย่างไร สงสัยใช่ไหม ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า เพลงคือบทกวี คือการเขียนเนื้อร้อง ใช้คำ ใช้สำนวน ในภาษาต่าง ๆ ที่ต้องบอกว่าเพลงเก่า ๆ ในยุค 70-90 นั้นเพลงไทยมีความไพเราะ ภาษาในเพลงมีคำสัมผัสคล้องจอง แม้จะไม่ตรงลักษณะของโคลงสี่สุภาพ แต่ก็มีความคล้ายคลึง บางเพลงใช้ภาษาถิ่น คำไทยที่เราอาจไม่เคยได้อ่าน ไม่เคยได้ยินกันบ่อย ๆ มาร้อยเรียงเรื่องราว อ่านมาถึงตรงนี้ พอจะเข้าใจหรือไม่ว่าเรากำลังบอกว่า บทเพลง มันมีเรื่องราว มีความรู้ซ่อนอยู่ cr. unsplash เพลงเก่า ๆ แหล่งเรียน คำไทย วลี สำนวนภาษา นอกตำราเรียน คงต้องบอกเลยว่า เพลงไทยเก่า ๆ ในยุค 70-90 ไม่ว่าจะสตริง หรือ ลูกทุ่ง มันมีเรื่องราว มีคำมีภาษา ที่เด็กรุ่นใหม่ในยุคดิจิตอล อาจะไม่เคยเรียนในตำราเรียนยกตัวอย่างง่าย ๆ ให้เห็นภาพจาก เนื้อเพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์ เพลง ตั๊กแตนผูกโบว์ ท่อนที่ร้องว่า ตั๊กแตนยงโย่ ผูกโบว์ทัดดอกจำปา คุณรู้ไหมว่า ตั๊กแตนยงโย่ คืออะไร ประโยคนี้แปลความหมายได้หลายลักษณะ คือ 1.เป็นคำเปรียบเปรยผู้หญิงว่าเป็นตั๊กแตน เพราะท่อนต่อมาคือ ผูกโบว์ทัดดอกจำปา ซึ่งอาจจะมาจาก ระบำตั๊กแตน เป็นวัฒนธรรมการรำของเขมรและในบ้านเราแถบ อิสานใต้ก็มีการร่ายรำนี้ในวัฒนธรรมท้องถิ่น 2.เป็นอากัปกริยา คำว่า ยงโย่ง คำเต็มคือ ยงโย่ยงหยก ที่หมายถึงการนั่งยอง ๆ หัวจะทิ่มพื้นหรือก้ม ๆ เงย ๆ ลุก ๆ นั่ง 3.เป็นการเล่นคำ เปรียบอาการกริยาในข้อ 2 ที่ดูแล้วคล้ายตั๊กแตน เห็นไหมว่าภาษาไทยมีความลึกซึ้ง มีคำแปลก มีความน่าสนใจ ในตำราเรียนไม่ได้สอน แต่เราเรียนรู้ได้จากความรู้รอบตัว มันมีอะไรเยอะแยะในบทเพลง แล้วที่บอกว่าเพลงยุคเก่าเป็นแหล่งเรียนรู้ได้นั้น ก็ต้องลองเปรียบเทียบกันดู เพลงยุคเก่า กับ เพลงยุคนี้ เนื้อหา สำนวน การใช้คำ แตกต่างกัน พัฒนาการในวงการเพลง มันเปลี่ยนไปตามเวลา การแต่งเพลงยุคนี้ต้องตามกระแส ต้องเข้าถึงได้ง่าย ติดหูไว บางเพลงจึงนิยมกันแค่ไม่นาน หรือเพลงอีกแนวอย่าง cr. unsplash เพลงเพื่อชีวิต เล่าถึงสังคมวิถีชีวิต สำหรับเพลงเพื่อชีวิต สิ่งที่เห็นได้ชัดจากเพลงแนวนี้คือ สะท้อนสังคม สะท้อนยุคสมัย สะท้อนการเมือง บอกเล่าชีวิตผู้คน ในลักษณะต่าง ๆ เนื้อหาของเพลงมีทั้งใช้คำง่าย ๆ สำนวน หรือ แม้แต่คำที่เราอาจไม่เคยเรียนรู้กันมาเลยยกตัวอย่าง เพลง คนกับควาย ของคาราวาน เนื้อร้องบางส่วนที่ขอยกตัวอย่างเป็นบทเพลงเสียงเพลง แห่งความตาย ความเป็นคนสลายลงไปพลัน กฎุมภีกินแรงแบ่งชนชั้น ชนชั้นชาวนาจึงต่ำลง เหยียดหยามชาวนาว่าป่าดง สำคัญมั่นคงคือความตาย นี่คือเพลงที่บอกเล่า วิถีชีวิตชาวนา ที่ต้องบอกว่ามันใช่จริง ๆ ไม่ว่ายุคไหน ๆ ชาวนาก็ยากจน การใช้คำที่เรียบง่าย แต่แสดงให้เห็นถึงความหมายที่ต้องการบอกว่า ชาวนาโดนกดขี่ การใช้คำที่ไม่ได้นิยมใช้กันในยุคนี้คือคำว่า กฎุมภี ในความหมายคือ พ่อค้า ชนชั้นกลาง คำนี้ในยุคนี้แทบไม่มีการใช้งานกันเท่าไหร่ไม่ว่าจะในการเรียนการสอน หรือ ในเรื่องอื่น ๆ รวมคำเปรียบเปรยเช่น ป่าดง ซึ่งในเนื้อเพลงหมายถึง การดูถูก การเหยียดชนชั้น และประโยคที่บอกว่า สำคัญมั่นคงคือความตาย หมายถึง ไม่ว่าใครทุกคนความตายคือสิ่งที่ทุกชนชั้นต้องเจอและเลี่ยงไม่ได้ cr. unsplashเห็นหรือไม่ว่า บทเพลง ก็เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เราแทบทุกคนมองข้ามกันไปจริง ๆ เราฟังเพลงเพื่อความเพลินเพลิด นักร้อง นักแต่งเพลง ก็ทำเพลงเพื่อสร้างความสุขให้คนฟัง สานความฝันของตัวเองในการเป็นศิลปิน สร้างรายได้จากยอดจำหน่าย ส่วนเราคนฟัง ก็ฟังเพราะความไพเราะ ความชอบ จนลืมมองไปว่า ในเพลงนั้นมีอะไร เพลงต้องการสื่ออะไร บางคนฟังเพลงเฉพาะแนว ลองเปิดใจฟังกันหลายๆ แนวเพลงเก่า ๆ มันบอกเล่าอะไรได้มากมาย แล้วเพลงยุคนี้ก็จะกลายเป็นเพลงเก่าให้รุ่นลูกรุ่นหลานเราได้มาลองหาความหมาย มาถอดความในเพลงอย่างที่เรากำลังแนะนำในบทความนี้กดที่นี่เพื่อฟังเพลง ตั๊กแตนผูกโบว์ กดที่นี่เพื่อฟังเพลง คนกับควาย