เจาะกลุ่มเกษตร-อุตฯ อาหาร 'เคจีไอ' แนะ 3 หุ้นเด่น

#ทันหุ้น - บล.เคจีไอ ระบุในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาเนื้อสัตว์ในประเทศไทย และราคาหมูในประเทศจีนทรงตัว ในขณะเดียวกันต้นทุนอาหารสัตว์มีทั้งที่แพงขึ้น และถูกลง โดยราคาข้าวโพดในประเทศยังคงเพิ่มขึ้นอีก 6% เป็น 12.30 บาท/กก. เนื่องจากอุปทานต่ำ แต่ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นกดดันราคากากถั่วเหลือง และ ข้าวสาลีในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลดีกับ RBF นอกจากนี้ ยอดส่งออกไก่ไทยในเดือนพฤษภาคมยังเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งทั้ง YoY และ MoM เป็น 1.34 หมื่นล้านบาท นำโดยการส่งออกไก่ปรุงสุกไปญี่ปุ่น และ ยุโรป ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยเลือก CPF และ TFG เป็นหุ้นเด่นของฝ่ายวิจัยในกลุ่มผู้ผลิตเนื้อสัตว์
แนวโน้มสินค้าเกษตรรายปักษ์ ราคาเนื้อสัตว์ทรงตัว ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาไก่ในประเทศทรงตัวอยู่ที่ 43.50 บาท/กก. ในขณะที่ราคาหมูทรงตัวอยู่ที่ 67.50 บาท/กก. ทั้งนี้ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติยังคงมองบวกกับความพยายามร่วมกันในการที่จะหนุนราคาหมูให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าต้นทุน ในขณะเดียวกัน ราคาหมูในประเทศจีนแทบไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ CNY18.4/กก. หลังจากที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงต้นปีเพราะอุปทานหมูในประเทศลดลง
ราคาข้าวโพด และ กากถั่วเหลืองสวนวทางกัน ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาข้าวโพดในประเทศยังคงสวนทางกับราคาอาหารสัตว์ประเภทอื่น ๆ โดยเพิ่มขึ้น 6% เป็น 12.30 บาท/กก. เนื่องจากอุปทานลดลงเพราะความล่าช้าในการเพาะปลูกในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ราคากากถั่วเหลืองในตลาดโลกลดลง 5% เหลือ $US341/ตัน เนื่องจากคาดว่าผลผลิตจากอเมริกาใต้และ สหรัฐ จะเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ราคาข้าวสาลียังคงลดลงอีก 8% เหลือ $US5.8/bushel หลังจากที่ตุรกีตัดสินใจระงับการนำเข้าข้าวสาลีจากเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม และ การเร่งเก็บเกี่ยวในฤดูเก็บเกี่ยวของสหรัฐ ฝ่ายวิจัยมองว่าราคาข้าวสาลีที่ลดลงจะส่งผลดีกับ R&B Food Supply (RBF.BK/RBF TB)* เพราะจะทำให้ต้นทุนวัตถุดิบของสินค้าในกลุ่มแป้งชุบทอดลดลง
ยอดส่งออกไก่เพิ่มขึ้น 11% YoY ในเดือนพฤษภาคม กระทรวงพาณิชย์รายงานว่ายอดส่งออกไก่จากประเทศไทยเพิ่มขึ้น 11% YoY และ 14.3% MoM เป็น 1.34 หมื่นล้านบาทในเดือนพฤษภาคม นำโดยการส่งออกไก่แปรรูปที่เพิ่มขึ้นเป็น 9.3 พันล้านบาท (+18% YoY, +12% MoM) โดยตลาดหลักที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นคือญี่ปุ่น และ EU ซึ่งเพิ่มขึ้น 21% YoY และ 25% YoY ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน การส่งออกไก่แช่แข็งลดลงเล็กน้อย 2% YoY (แต่ยังเพิ่มขึ้นถึง 19% MoM) เป็น 4.1 พันล้านบาท เนื่องจากการส่งออกไปยังจีน, ASEAN และ เกาหลีลดลง YoY
ทั้งนี้ เนื่องจากฝ่ายวิจัยคาดว่าผลประกอบการของผู้ผลิตหมูจะฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งใน Q2/67F จากการที่ราคาหมูในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงเลือก Charoen Pokphand Foods (CPF.BK/CPF TB)* และ Thaifoods Group (TFG.BK/TFG TB) เป็นหุ้นเด่นของฝ่ายวิจัยในกลุ่ม