เป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานจนถึงทุกวันนี้เรื่องความสำคัญของการศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 2 ทีมใหญ่ ๆ คือทีมที่บอกว่าการเรียนสำคัญนะเรียนเลย !!! และอีกทีมที่บอกว่าไม่ต้องเรียนหรือได้ใบปริญญาก็สำเร็จได้ ยิ่งเรียนยิ่งตีกรอบให้กับตัวเอง อะไรทำนองนี้ในความคิดของผู้เขียนแล้วมีความเห็นว่าการเรียนโดยตัวมันเองเป็นสิ่งที่ดี ถ้าไม่ได้มาจากการสอนให้ทำในสิ่งไม่ดี หรือเป็นการสอนด้วยความเท็จ และเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แต่ด้วยความจำกัดในสภาพมนุษย์ทั้งมิติของเวลา สถานที่ และกายภาพ ก็ทำให้มนุษย์เราไม่สามารถที่จะเก็บองค์ความรู้ทุกอย่างบนโลกได้ครบหมด ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเรียนจึงจะต้อง “ชัดเจน” ในแง่วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้นั้นก่อน ในบทความนี้จึงฝาก 3 ข้อคิดในการพิจารณาว่าควรจะตัดสินใจ “เรียน” ในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่ มีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม1. การเรียนรู้นั้น “ตอบโจทย์” ชีวิตของเราหรือไม่ เชื่อว่าแทบจะทุกชีวิตที่เกิดมา แต่ละคนจะมี “เป้าหมาย” หรือจะเรียกว่าวัตถุประสงค์ของชีวิต, ความฝัน หรืออะไรก็ตามแต่ นั่นคือ “โจทย์ของชีวิต” ของแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งตัวเราเองนั่นแหละที่จะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดว่าเป้าประสงค์ในชีวิตของตัวเองคืออะไร แล้วการเรียนนั้นสามารถเติมเต็มและผลักดันให้ไปถึงเป้าหมายนั้นหรือไม่ ถ้าเป้าหมายเราชัด วิธีการที่ชัดเจนจะตามมาเอง ดังนั้น การเรียนในหลักสูตรของระบบการศึกษาทั่วไป อย่างเช่น ปริญญา อาจจะตอบโจทย์บางคนและอาจจะไม่ตอบโจทย์บางคนก็ได้ หรือระบบการศึกษานอกโรงเรียน, การเรียนรู้ด้วยตัวเอง อาจจะผลักดันให้คนบางประเภทไปถึงเป้าหมายชีวิตของเขาได้มากกว่าการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยตัวอย่างคลาสสิกที่ทีมไม่เรียนมักจะยกขึ้นมา นั่นก็คือบิล เกตส์ ที่เรียนไม่จบระดับปริญญาตรี ก็ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งเป็นความจริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาขี้เกียจหรือไม่มีความรู้ เพราะบิล เกตส์ สามารถทำคะแนน SAT ได้ 1590 คะแนนจาก 1600 ซึ่งสูงมาก ๆ และสอบเข้ามหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลกอย่างฮาร์วาร์ดได้ และลาออกในที่สุด ด้วยเหตุผลที่ว่าหลักสูตรที่เขาเรียนอยู่นั้นไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิตของเขานั่นเองเพราะฉะนั้น หากจะตัดสินใจ “ไม่เรียน” ควรพิจารณาดี ๆ ว่าเป็นเพราะความรู้นั้นไม่สามรถตอบโจทย์และเติมเต็มให้เราไปถึงเป้าหมายได้ หรือเป็นเพียงเพราะความ “ขี้เกียจ” เท่านั้นเพราะฉะนั้น หากจะตัดสินใจ “ไม่เรียน” ควรพิจารณาดี ๆ ว่าเป็นเพราะความรู้นั้นไม่สามรถตอบโจทย์และเติมเต็มให้เราไปถึงเป้าหมายได้ หรือเป็นเพียงเพราะความ “ขี้เกียจ” เท่านั้น2. ทุกการเรียนต้อง “จ่ายราคา” คำว่า “จ่ายราคา” ไม่ได้แปลว่าการ “จ่ายเงิน” เพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงการ “ลงทุน” ทั้งด้าน เงิน เวลา และพลังงานต่าง ๆ มาใช้ บางการเรียนอาจจะทำให้เสียเวลาไป 3-4 ปี อาจจะเสียเงินเป็นแสนเป็นล้าน ทำให้พลาดโอกาสในกาสในการสร้างรายได้ ทำให้สูญเสียพลังงานทั้งกายและใจบ้าง เพราะฉะนั้นให้ลองพิจารณในข้อนี้ควบคู่ไปด้วย ลองคำนวณส่วนได้ส่วนเสีย ว่าสิ่งที่ได้รับกลับมาจะคุ้มกับต้นทุนที่เราจะต้องสูญเสียไปหรือไม่3. เรียนแล้วช่วยให้ “สังคมดีขึ้น” ด้านใดบ้างนี่ก็เป็นข้อสำคัญในการพิจารณาเช่นเดียวกัน เพราะอย่าลืมว่าเราอยู่บนโลกร่วมกันเป็นสังคมใหญ่ และทุกสิ่งที่เรากระทำจะส่งผลกระทบต่อสังคมที่เราอยู่เสมอ และผลของการเรียนรู้ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กร ประเทศ และโลกนี้ด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะตัดสินใจเรียนอะไรก็ตามขอให้มี Mindset ในการนึกถึงและช่วยเหลือส่วนรวมด้วย เพราะสุดท้ายแล้วถ้าเราร่วมสร้างสังคมที่ดี สิ่งดี ๆ ก็จะย้อนกลับมาหาเราในที่สุด บางคนอาจจะไปเรียนต่างประเทศ แล้วนำความรู้ที่ได้มาช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศให้ดีขึ้นอย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าทั้งชีวิตของเราจะเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อยู่ที่ว่าจะมาในรูปแบบไหน ตัวเราจะรับองค์ความรู้นั้นเข้ามาหรือไม่นั้นก็อยู่ที่วิจารณญาณ และนี่ก็คือ 3 ข้อที่ฝากไว้ให้พิจารณาว่าจะตัดสินใจ “เรียน” หรือไม่สุดท้ายนี้ขอฝากข้อคิดไว้ว่า “การเรียนรู้” โดยตัวมันเองนั้นเป็นสิ่งที่ดีงามอยู่แล้ว แต่ “การเรียนรู้” นั้นจะทำให้คน ๆ หนึ่งเกิดการพัฒนาและประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับทัศนคติที่มีต่อความรู้นั้นและการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ความจริงในชีวิต ตัวอย่างเช่น คุณเลือกได้ว่าคุณเรียนเพื่อต่อยอดสร้างสรรค์ หรือตีเพื่อตีกรอบถูกผิด …อยู่ที่คุณจะเลือกใช้เอง บทความโดย โอ้เครดิตรูปภาพ : https://www.pexels.com/อยากรู้จักกันมากขึ้น กดติดตามในช่องทางต่อไปนี้Facebook : fb.me/justlearntogetherYouTube : https://bit.ly/2PpkbZuIG : kanziri