ฝนดาวตกกับดาวหางมันต่างกันอย่างไรนะ ???สวัสดีนักอ่านทุกๆ นะครับ เมื่อคืนวันที่ 21 จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ตุลาที่ผ่านมา ได้เกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกขึ้น ซึ่งปรากฎการณ์นี้สร้างความสนใจให้ใครหลายๆ คน รวมถึงผมด้วย (แต่เสียดายที่เมื่อคืนดันฝนตก เลยอดดูฝนดาวตกเลย 5555) แล้ววันนี้ที่ผมลองไปส่องโซเชียล เหมือนหลายคนจะเข้าใจผิด คิดว่าฝนดาวตกที่เห็นกัน มันคือ “ดาวหาง” บทความนี้ผมอยากมาไขข้อสงสัยให้รู้ๆ กันไปเลย ว่าฝนดาวตกกับดาวหางมันแตกต่างกันยังไง ไปดูกันเลยครับบบฝนดาวตก เกิดจากเมื่อโลกเคลื่อนตัวใกล้บริเวณวงโคจรดาวหางหรือกลุ่มดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีเทหวัตถุชิ้นเล็กชิ้นน้อยล่องลอยในอวกาศปริมาณมาก เมื่อกลุ่มเทหวัตถุเหล่านั้นเข้าใกล้โลกปุ๊บ ก็จะโดนแรงดึงดูดของโลกดูดเข้ามา พอมันสัมผัสชั้นบรรยากาศ เทหวัตถุเหล่านั้นก็จะเกิดความร้อนสูงจนเผาไหม้ เกิดสะเก็ดไฟจำนวนมากตกมาจากท้องฟ้าสวยงาม พอเห็นรูปภาพที่ถ่ายๆ กัน มันช่างสวยงามจริงๆ ถึงแม้ปีนี้ไม่ได้ชม แต่โอกาสหน้า ผมต้องลองดูวัน หาสถานที่มืดๆ นอกตัวเมือง นอนดูฝนดาวตกกับแฟน แค่คิดก็สัมผัสได้ถึงความโรแมนติกล่ะครับ (แต่ก่อนจะไปดูฝนดาวตกกับแฟน ขอไปหาแฟนก่อนนะครับ T_T)ส่วนดาวหาง เป็นกลุ่มก้อนน้ำแข็งและแก๊สต่างๆ ขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยปกติ ดาวหางมันไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่พอมันโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ จะเกิดการระเหิดกลายเป็นแก๊สและเมื่อเจอรังสีดวงอาทิตย์ ดาวหางก็จะส่องแสงสว่างขึ้นมาจนเราสามารถเห็นมันส่องสว่างบนท้องฟ้า บอกเลยว่าถึงแม้ผมยังไม่เคยเห็นของจริง แต่พอเห็นแล้ว มันชวนให้เห็นว่าจักรวาลเรามีอะไรน่าสนใจและสวยงามจริงๆ ครับ หวังว่าในชีวิตนี้ ผมจะได้ชมดาวหางเต็มๆ ซักครั้งนะครับแล้วทำไมคราวนี้ทุกคนเข้าใจผิดกันว่าฝนดาวตกที่เกิดขึ้นในปีนี้เป็นดาวหางได้ล่ะะะฝนดาวตกที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่วันมานี้ คือฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ซึ่งเกิดจากโลกของเราเคลื่อนตัวผ่านเส้นทางวงโคจรของดาวหางฮัลเลย์ ดาวหางที่มีชื่อเสียงที่จะมาให้เราชมทุกๆ 76 ปี ซึ่งเส้นทางวงโคจรของมันก็มีร่องรอยพวกเทหวัตถุมากมายที่ดาวหางทิ้งเอาไว้ พอมันเข้าใกล้โลก มันก็ถูกดูดเข้ามาจนเกิดฝนดาวตกโอไรออนิดส์ที่เราได้เห็นกันนั่นเองครับซึ่งพอทุกคนเห็นว่าฝนดาวตกนี้มันมาจาก “ดาวหางฮัลเลย์” เลยอาจทำให้พลอยเข้าใจผิดไปว่าฝนดาวตกที่เห็นมันก็คือ “ดาวหางฮัลเลย์” นั่นเอง ซึ่งจริงๆ ดาวหางฮัลเลย์ เราต้องรออีก 38 ปีข้างหน้านะครับถึงจะได้เห็นมันอีกครั้ง หวังว่าตัวผมในอนาคตคงอยู่ถึงวันที่ได้ชมดาวหางฮัลเลย์ซักครั้งนะครับ แฮะๆสรุปสั้นๆ ฝนดาวตกคือเทหวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากตกลงมาสู่พื้นโลก เกิดการเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศจนเกิดสะเก็ดไฟบนท้องฟ้า ส่วนดาวหาง คือเทหวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ จะส่องแสงก็ต่อเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์นะครับ ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้นักอ่านทุกคนเข้าใจและชื่นชอบดาราศาสตร์กันมากขึ้นนะคร้าบhttps://www.youtube.com/watch?v=WtcKJtwMD2Eสุดท้ายนี้ ขอแปะเพลง ดาวหางฮัลเลย์ ของ fellow fwllow ซักหน่อยนะครับ เนื่องจากดาวหางฮัลเลย์เป็นดาวหางที่มีคาบการโคจรเทียบเท่ากับช่วงชีวิตนึงของมนุษย์เลย หวังว่าอีก 38 ปีข้างหน้า นักอ่านทุกๆ คน รวมถึงตัวผมเอง จะได้มีโอกาสจูงมือคนที่เรารักมาชมดาวหางฮัลเลย์ด้วยกันนะครับขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติขอบคุณบทเพลงดีๆ "ดาวหางฮัลเลย์" จาก fellowfellowbandภาพปก จาก Pixabayภาพที่ 1 : FelixMittermeierภาพที่ 2 : Clker-Free-Vector-Imagesภาพประกอบภาพประกอบที่ 1 : JarkkoManty จาก Pixabayภาพประกอบที่ 2 : Buddy_Nath จาก Pixabayภาพประกอบที่ 3 : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติบทความหมวดข่าวสารเรื่องอื่นๆ ของผู้เขียนพาชม งานหนังสือ ครั้งที่ 28 ตั้งแต่ 12-23 ต.ค. นี้ ที่ศูนย์สิริกิติ์ สายอ่าน สายดองห้ามพลาด!!4 ความแตกต่าง รถไฟฟ้า กับรถยนต์ ต่างกันอย่างไร?รีวิวงานมหกรรมนิยายนานาชาติ 2023 อีเวนต์ที่สายนิยายและสาย How to พัฒนาตนเองไม่ควรพลาด #Lotus'sPRIVEรีวิว วิธีเดินทางไป สามย่านมิตรทาวน์ ด้วยรถไฟฟ้า BTS งานมหกรรมนิยายนานาชาติ 2023 ใครที่ชื่นชอบบทความนี้ ฝากกดแชร์ กดติดตามเพจ Kyojuroเล่าอาราย ไว้ด้วยนะครับ และถ้าหากใครที่เป็นสายท่องเที่ยว ก็ฝากกดถูกใจและกดติดตามเพจ Kyojuro พาไปหนาย ไว้ด้วยนะครับ ยังมีบทความดีๆ อีกมากมายที่รอเสิร์ฟนักอ่านทุกคนอยู่นะครับส่องที่เที่ยว พิกัดลับห้ามพลาด มุมถ่ายรูปสวยที่ทรูไอดีคอมมูนิตี้