ขอบคุณรูปภาพปกจาก: ผู้เขียนเองจ้า ในยุคที่ข้าวยากหมากแพงแบบนี้เพื่อน ๆ หลายคนคงสงสัยใช่มั้ยว่า ถ้าเรามีเงิน 1,000 บาท เราสามารถลงทุนอะไรได้บ้าง วันนี้ผมจะพาเพื่อน ๆ ไปดู 7 วิธีลงทุนด้วยเงิน 1,000 บาท กันครับว่ามีอะไรบ้าง อะไรที่มันไม่รู้ ก็ทำให้มันรู้ซะ!! ดังคำกล่าวที่ว่า "รู้มากพลาดน้อยรู้น้อยพลาดมาก ส่วนคนที่ไม่เคยพลาดคือคนที่ไม่เคยลงมือทำ"ขอบคุณภาพจาก: ผู้เขียนเองจ้า วิธีที่ 1 ก็คือเพื่อน ๆ นำเงินที่มีไปฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงหรือว่านำเงิน 1,000 บาท ของเราหรือจะมากกว่านั้น น้อยกว่านั้นตามที่เราเก็บเพิ่มได้ไปฝากเก็บไว้ในบัญชีดิจิตอลหรือที่เรียกว่าบัญชีออนไลน์แบบไม่มีสมุดคู่ฝาก ซึ่งการฝากแบบนี้จะเป็นบัญชีออมทรัพย์ จะฝากจะถอน เมื่อไหร่ เท่าไหร่ อะไรยังไงก็ได้ แล้วแต่เรา โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น การฝากแบบนี้จะมีดอกเบี้ยที่สูงกว่าบัญชีที่มีสมุด Book Bank ที่เราเคยเห็นกัน จึงเหมาะกับคนที่ไม่ชอบความเสี่ยง ต้องการสภาพคล่อง วันนี้ผมได้จัด 5 อันดับไว้ให้เเล้วว่ามีที่ไหนบ้าง ซึ่งให้ดอกเบี้ยสูงที่สุดถึง 2% 1. จะมีทั้งหมด 2 บัญชี 2 ธนาคาร - บัญชี ออมทรัพย์ชิลดี ของธนาคาร CIMB THAI ให้ดอกเบี้ยสูงสุดถึง 2% โดยให้ดอกเบี้ยเเบบขั้นบันได โดยมีวงเงินฝากดังนี้ > ไม่เกิน 10,0000 บาท = 0.20% > 30,000 ถึง 50'000บาท = 2% > 50,001 ถึง 100,000 บาท = 1% > ส่วนที่เกิน 100,000 บาท = 0.20% - บัญชี ออมทรัพย์ TISCO My Savings ธนาคาร Tisco ซึ่งบัญชีนี้ให้ดอกเบี้ย โดยมีวงเงินฝากดังนี้ > 0 ถึง 60,000 บาท = 0.15% > 60,001 ถึง 100,000 บาท = 2% > 100,001 บาท ถึง 1,000,000 บาท = 0.90% > ส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท = 0.25% 2. บัญชี KKP Start Saving App True Money ที่ร่วมมือกับ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ซึ่งเปิดบัญชีกับ แอพทรูมันนี่ ซึ่งได้ดอกเบี้ยถึง 1.55% ต่อปี ตั่งแต่เงินฝาก 1 บาทแรก จนถึง 1ล้าน บาท ส่วนที่เกิน 1ล้าน บาทขึ้นไป ให้อยู่ที่ 0.5% ต่อปี 3. จะมีทั้งหมด 5 บัญชี 4 ธนาคาร ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี - บัญชี Kept By Krungsri ธนาคารกรุงศรี ( คงที่ 2 ปี ) > ให้ตั้งแต่ 5,000 บาท แรก ถึง 5,000,000 บาท - บัญชี ออมทรัพย์ มีแต่ได้ ออนไลน์ ธนาคารกรุงศรี > ตั้งแต่ 1 บาท แรก ถึง 100,000 บาท = 1.50% > ตั้งแต่ 100,001 บาท ถึง 50,000,000 บาท = 1% > ตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป = 0.25% - บัญชี KrungThai Next Savings ธนาคารกรุงไทย ( เปิดผ่านแอพกรุงไทยเท่านั้น ) > ตั้งแต่ 1 บาท แรก ถึง 1,000,000 บาท = 1.5% > ตั้งแต่ 1,000,000 บาท ขึ้นไป = 0.5% - บัญชี เงินฝากอออมทรัพย์ อีซี่ หรือ EZ Savings Account ธนาคารไทยพาณิชย์ > ตั้งแต่ 1 บาท แรก ถึง 2,000,000 บาท = 1.5% > ตั้งแต่ 2,000,000 บาท ขึ้นไป = 0.5% - บัญชี K-eSavings ธนาคารกสิกรไทย > ตั้งแต่ 1 บาท แรก ถึง 100,000 บาท = 1.5% > ตั้งแต่ 100,000 บาท ขึ้นไป = 0.5% 4. บัญชี เงินฝากดอกเบี้ยสูง TMRW Savings ธนาคาร UOB ดอกเบี้ยสูงสุดถึง 1.3% > ตั้งแต่ 1 บาท แรก ถึง 1,000,000 บาท = 1.3% 5. บัญชี เงินฝากออมทรัพย์ ธนชาติ e-SAVINGS ดอกเบี้ยสูงสุดถึง 1.2% > ตั้งแต่ 1 บาท แรก ถึง 5,000,000 บาท = 1.2%ขอบคุณภาพจาก: ผู้เขียนเองจ้า วิธีที่ 2 ก็คือการนำเงิน 1,000 บาท ไปเปิดบัญชี ฝากประจำปลอดภาษี การฝากแบบนี้จะมี เงื่อนไข ซึ่งต้องเลือก ว่าเราจะฝากเงินเท่าไหร่ เราจะต้องฝากเป็นจำนวนเท่า ๆ กันทุกเดือน ตามระยะเวลาที่เราเลือกเปิด พอครบตามระยะเวลาที่เลือกเปิดแล้ว สิ่งที่เราจะได้คืนคือ เงินต้นที่เราฝากไปพร้อมกับดอกเบี้ย ที่ธนาคารจ่ายให้ อาจจะเป็น 1.5% หรือ 1.8% ก็แล้วแต่ว่าเราเปิดกับธนาคารไหน เงินฝากประจำเเบบปลอดภาษี จะเปิดได้ 1 คน ต่อ 1 บัญชีเท่านั้น และดอกเบี้ยที่รับมาทั้งหมด ไม่ต้องเสียภาษี ครับ วิธีนี้นะครับ ก็จะเหมาะกับ คนที่พึ่งเริ่มต้นเก็บเงิน ไม่ชอบความเสี่ยงสูง ต้องการที่จะคุ้มครองเงินต้น ที่ว่าเหมาะกับคนที่พึ่งเริ่มต้นเก็บเงิน เพราะว่า ธนาคารจะบังคับให้เราฝากทุกเดือนด้วยจำนวนที่เท่า ๆ กัน และระหว่างทางเราไม่สามารถถอนนำมาใช้ได้นั่นเอง เราจะใช้เงินต้นบวกกับดอกเบี้ยเมื่อครบระยะเวลาแล้วเท่านั้น ขอบคุณรูปภาพจาก: ผู้เขียนเองจ้า วิธีที่ 3 คือการนำเงินเข้าไปซื้อสลากออมทรัพย์ ในหัวข้อนี้นะครับ เงิน 1,000 บาท จะซื้อได้แค่ สลากออมสิน และ ธกส เท่านั้น ไม่สามารถซื้อ ธอส ได้ เนื่องจาก ธอส ที่ขายอยู่ตอนนี้ หน่วยละประมาณ 5,000 บาท การที่เรานำเงินไปซื้อสลากหมายความว่า เราได้นำเงินลงทุนไปฝากและได้ลุ้นรางวัลไปในตัว ถ้าเราไม่ถูกรางวัลเราก็จะได้รับเงินต้นคืน เช่น ถ้าเพื่อน ๆ ซื้อสลากออมสินดิจิตอล 1 ปี สมมุติว่าซื้อ 1,000 บาท หน่วยละ 20 บาท เพื่อน ๆ ก็จะได้มา 50 หน่วย เพื่อน ๆ ก็จะสามารถลุ้นได้ 1 ปี ถ้าเพื่อน ๆ ซื้อแค่ครั้งเดียว ไม่ซื้อเพิ่ม แล้วไม่ถูกรางวัลเลย พอครบ 1 ปี ทางธนาคารก็จะโอน 1,000 บาท คืนกลับมาให้เรา ถือว่าเป็นการลุ้นรางวัล เหมาะกับคนที่ชอบเก็บเงินและเหมาะกับคนที่ชอบลุ้น เหมือนซื้อเอาไว้แบบเสี่ยงดวง ถ้าไม่ถูกรางวัลก็ถือว่าเราได้ผลตอบแทนที่น้อย แต่อย่างน้อย ๆ เราก็ได้เงินต้นคืน ขอบคุณรูปภาพจาก: ผู้เขียนเองจ้า วิธีที่ 4 นี้จะเป็นการซื้อพันธบัตรรัฐบาล หมายถึง เราเอาเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล เราเป็นเจ้าหนี้ รัฐบาลเป็นลูกหนี้ยืมเงินเราไป และจ่ายเงินคืนให้เราเป็น ดอกเบี้ย และเราจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด เช่น พันธบัตรออมทรัพย์รุ่น "เราชนะ" ที่ซื้อได้ใน เเอพเป๋าตัง อายุ 5 ปี สามารถ ลงทุนขั้นต่ำได้ตั้งแต่ 100 บาท แต่ตัวนี้จำหน่ายเต็มวงเงินไปแล้ว วิธีนี้ก็จะเหมาะกับคนที่ไม่ชอบความเสี่ยง ก็คือความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนน้อยแต่ข้อดีคือเรามีกระแสเงินสดหรือมีดอกเบี้ยระหว่างทาง เพราะว่าจะจ่ายดอกเบี้ยให้เราปีละ 2 ครั้ง ขอบคุณรูปภาพจาก: ผู้เขียนเองจ้า วิธีที่ 5 ก็คือการเอาเงินไปซื้อ กองทุนรวม เริ่มต้นด้วยเงินไม่สูง บางกองทุนเริ่มต้นขั้นต่ำที่ 1,000 บาท ก็เริ่มได้ 500 บาท ก็เริ่มได้ บางกองทุนเนี่ยแค่ 1 บาท ยังเริ่มได้เลยครับ ถือว่าเป็นการลงทุนที่เหมาะกับมือใหม่ แล้วก็เริ่มด้วยเงินไม่เยอะ แต่ถ้าใครอยากรู้ว่า กองทุนนี้เริ่มต้นกี่บาท ต้องเข้าไปอ่าน หนังสือชี้ชวน มันจะอยู่หน้าหลังๆนะว่ากองนี้เริ่มขั้นต่ำเท่าไหร่ แต่สิ่งที่จะต้องทำคือ ต้องเลือกกองทุนก่อนที่เราจะเข้าไปซื้อกองทุน เพราะว่ากองทุนเนี่ยมีให้เลือกเยอะมาก เราก็ต้องเลือกให้ตรงกับเป้าหมายการลงทุนของเรา จะต้องมีการประเมินความเสี่ยงก่อนว่าเรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน เช่น > เสี่ยงน้อย เลือกกองความเสี่ยงระดับ 1 - 2 > เสี่ยงกลาง ๆ เลือกกองระดับความเสี่ยง 3 - 5 > เสี่ยงสูง เลือกกองระดับความเสี่ยง 6 - 8 ถ้าใครไม่อยากได้ความเสี่ยงสูงเป้าหมาย 1 - 2 ปีก็อาจจะเลือกเป็น > กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น > กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ การลงทุนในกองทุนรวมเหมาะกับ คนที่มีความรู้เรื่องการลงทุนเพิ่มเข้ามานิดหน่อยและรับความเสี่ยงได้ เพราะกองทุนไม่ใช่การฝากเงิน ขอบคุณรูปภาพจาก: ผู้เขียนเองจ้า วิธีที่ 6 การซื้อหุ้น หรือบางคนก็เรียกว่า การออมหุ้น หมายถึงเราเข้าไปทยอยซื้อเรื่อย ๆ "ต้องเลือกบริษัทที่มีแนวโน้มเติบโต" แล้วก็เอาเงินของเราไปลงทุนกับบริษัทนั้น ๆ มีโบรกเกอร์หลายๆที่ตอนนี้เปิดให้เราซื้อเศษหุ้นได้ ซึ่งเศษหุ้นก็คือ ไม่ต้องครบ 100 หุ้นก็ได้ ราคาไม่สูงแต่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต จะเหมาะกับคนที่มีความรู้ ความเข้าใจ เป็นอย่างดี มากกว่ากองทุนรวม เพราะว่าการซื้อหุ้นมีความเสี่ยงกว่ากองทุนรวม แต่ก็มีอิสระมากกว่า เลือกให้เป็นและลงทุนตามเป็นหมาย หรือลงทุนเพื่อหวังกำไรจากส่วนต่างราคาหรือเน้นสะสมไปเรื่อยๆเพื่อหวังเงินปันผลขอบคุณรูปภาพจาก: ผู้เขียนเองจ้า วิธีที่ 7 วิธีนี้จะเป็นการทยอยเข้าซื้อสะสมทองให้ครบเป็นก้อน อาจจะเป็นสลึง เป็นบาท ขึ้นอยู่กับที่ที่เปิดออม และเราก็สามารถเบิกทองออกมาได้ หรือในระหว่างทางเราจะขายคืนก็สามารถทำได้ รูปแบบการออมทองเเบบนี้ ก็จะมีหลาย ๆ ที่ที่เปิดไม่ว่าจะเป็น ร้านทองโดยตรง รวมถึง แอปพลิเคชั่นออมทองต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ 10 - 100 บาท ( ราคาคิดตามราคาทอง ณ วันที่ซื้อ ) คำว่าออมในที่นี้คือเช่น ทองราคาอยู่ที่ 20,000 บาท ณ วันที่ซื้อ ถ้าเราออม 1,000 บาท ก็จะหารทองออกมาว่า 1,000 บาท จะได้ทองกี่กรัม คิดจากราคาทอง ณ วันนั้นที่เราซื้อ คนที่เราออมทองด้วยจะต้องเชื่อถือและไว้ใจได้ เหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้ มีความรู้เรื่องราคาทอง เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !