ภาพปก/ประกอบ อู่ลองพัฒนาในต่างจังหวัด ชาวบ้านนิยมใช้รถบรรทุกการเกษตรที่ดัดแปลงมาจากแชสซีของรถกระบะ โดยแต่ละอู่แต่ละท้องถิ่นต่างก็มีจุดดีแตกต่างกันไป แต่จุดประสงค์หลักก็คือ เพื่อความประหยัดในระยะยาว ทั้งในแง่การซ่อมบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายในเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงอู่ลองพัฒนา โดย ‘ช่างลอง’ เกิดขึ้นมาด้วยความเชี่ยวชาญในเชิงช่าง มองเห็นโอกาสของการสร้างอาชีพ เพราะในอดีตนั้น ชาวบ้านนิยมใช้รถสาลี่ โดยใช้หัวรถไถเดินตามเป็นตัวฉุดลากเป็นรถบรรทุกผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งค่อนข้างมีความจำกัดและไม่สะดวกสบายหลายอย่าง และหมายรวมถึงความปลอดภัยในระหว่างการใช้งานด้วยรถบรรทุกของอู่ลองพัฒนาแรกเริ่มนั้น เพียงเพื่อจะให้บรรทุกผลิตผลทางการเกษตรได้สะดวก กระบะท้ายเป็นเหล็กเปิดออกได้ทั้งสามด้าน พื้นเรียบ มีเกียร์ช่วยในเวลาเข้าสู่พื้นที่การเกษตรที่เรียกกันว่า ‘เกียร์โลว์’ หลังจากนั้นในรุ่นต่อ ๆ มาก็เริ่มพัฒนาเพื่อให้ผู้นั่งขับได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้น มีการขึ้นโครงหลังคา ใส่กระจกด้านหน้าเพื่อป้องกันเวลาฝนตกความนิยมของรถบรรทุกดัดแปลงลักษณะนี้ อยู่ที่สารพัดประโยชน์ใช้งานบรรทุก สามารถขับเข้าไปได้ทั้งในพื้นที่ไม่สะดวกหรือจะขับบนถนนก็เดินทางได้รวดเร็วกว่าการใช้รถลากสาลี่แบบดั้งเดิม รายละเอียดของการดัดแปลง เป็นการใช้ทักษะเฉพาะในเชิงช่าง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นความลับอะไร เพียงแต่ผู้ที่จะทำได้ดีและออกมาได้มาตรฐานสวยงามก็คือช่างตัวจริงนั่นเองอู่ช่างลองพัฒนา รับบริการให้คำปรึกษาตั้งแต่การคัดเลือกแชสซีของรถ ซึ่งจะให้ทางร้านเป็นคนจัดหาหรือว่าจะเป็นผู้จัดหามาให้เองก็ได้ สนนราคากรณีทางร้านจัดหาให้เริ่มต้นที่ 95,000 บาท ปัจจุบันอู่ลองพัฒนามีรุ่นใหม่ ๆ เน้นทั้งความสามารถในแง่ของการบรรทุกการใช้งาน และความสะดวกสบายของผู้ใช้ เช่นมีพวงมาลัยเพาเวอร์ เป็นต้น หรือจะเพิ่มอุปกรณ์พิเศษอื่นใดก็สามารถติดต่อพูดคุยได้ก่อนสั่งทำติดต่อ ผู้ใหญ่จำลอง ทาสีทองที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 อู่ลองพัฒนา บ้านโคกกะนัง ต.เขาคอก อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ 311400856346717https://www.facebook.com/profile.php?id=100010154798494Line; long_109กว่าจะมาเป็นอู่ลองพัฒนา จนกลายเป็นอาชีพได้นั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันคือการเรียนรู้ เริ่มตั้งแต่ยังเป็นเพียงแค่ช่างฝึกหัด จนกลายมาเป็นช่างตัวจริง หมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้คน จนนำมาสู่การตั้งอู่เพื่อดัดแปลงรถบรรทุกที่ใช้ในการเกษตร โดยสรุป...เพียงแค่คิดคงทำไม่ได้ แม้ลงมือทำแล้ว ถ้าหากหยุดพัฒนาก็คงไม่สามารถสร้างชิ้นงานใด ๆ ได้เลย