แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 จำนวน 45 ข้อ พร้อมเฉลยบทนำ แนวข้อสอบ “พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542” เพื่อให้ผู้ที่สนใจสอบราชการ อ่านเป็นแนวทางในการสอบและได้ทดสอบก่อนสอบจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้แนวทางที่เหมาะสมและครบถ้วน ทั้งนี้เนื้อหาในข้อสอบนี้มีการอธิบายเพิ่มเติมแต่ละคำตอบ และผู้เขียนได้รวบรวมสาระสำคัญของ และความยากของ“พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542” ไว้ในนี้แล้ว 1.พระราชบัญญัตินี้ให้ไว้ ณ. วันใดก.วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542ข.วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542ค.วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542ง.วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542ตอบ ค.2.พระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของใครก.รัฐสภาข.นิติบัญญัติค.วุฒิสภาง.นิติบัญญัติแห่งชาติตอบ ก.3.พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อใดก.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปข.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาหกสิบวันค.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเก้าสิบวันง.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งร้อยยี่สิบวันตอบ ก.4.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ "พนักงานส่วนท้องถิ่น"ก.องค์การบริหารส่วนจังหวัดข.พนักงานเทศบาลค.พนักงานส่วนตำบลง.ถูกทุกข้อตอบ ง.5.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"ก.กรุงเทพมหานครข.บริษัทมหาชนค.เมืองพัทยาง.เทศบาลตอบ ก.6.ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังข.รัฐมนตรีค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยง.นายกรัฐมนตรีตอบ ค.7.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “คณะกรรมการข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัด”ก.ผู้ว่าราชการจังหวัดข.หัวหน้าส่วนราชการประจำหวัดค.ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 5 ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่ง ให้มีคณะกรรมการข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดคณะหนึ่ง ประกอบด้วย(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน(2) หัวหน้าส่วนราชการประจำหวัดจำนวนสามคนจากส่วนราชการใน จังหวัดนั้น ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดว่าเป็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในกรณี จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ผู้ว่าราชการจังหวัดจะประกาศเปลี่ยนแปลงการกำหนดส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อใดก็ได้(3) ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนสี่คน ประกอบด้วย นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด คัดเลือกจำนวนหนึ่งคน ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้แทนข้าราชการองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดซึ่งคัดเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน (4) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน ซึ่งคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการ ด้านการบริหารและ การจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด8.ใครมีหน้าที่ดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดก.ผู้ว่าราชการจังหวัดข.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดค.องค์การบริหารส่วนจังหวัดง.) ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดตอบ ก.9.ใครเป็นเลขานุการคณะกรรมการข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดก.ผู้ว่าราชการจังหวัดข.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดค.องค์การบริหารส่วนจังหวัดง.) ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดตอบ ข.10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ”ก.มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี บริบูรณ์ข.ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นค.ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 6 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทย(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี บริบูรณ์(3) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ(4) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(5) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง(6) ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (7) ไม่เป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้มีตำแหน่งใดๆในพรรคการเมือง บุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้มีชื่ออยู่ใน11.กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปีก.สองปีข.สามปีค.สี่ปีง.หกปีตอบ ค.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 7 กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับคัดเลือกอีกได้ ถ้ากรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างโดยเร็ว ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขในมาตรา 5 และให้กรรมการซึ่งได้รับการคัดเลือกมีวาระอยู่ในตำแหน่งเท่ากับระยะเวลา ที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ในระหว่างที่ยังมิได้คัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างตามวรรคสองและยังมี กรรมการเหลืออยู่เกินกึ่งหนึ่ง ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้12.ข้อใดหมายถึงการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระของผู้ทรงคุณวุฒิก.ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 6ข.เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถค.ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 9 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ (3) เป็นบุคคลล้มละลาย(4) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (5) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 6(6) ได้รับโทษคำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก13.ค่าตอบแทนของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด และคณะอนุกรรมการต้องคำนึงถึงข้อใดก.ปริมาณงานข.รายได้ค.รายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 12 ค่าตอบแทนของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด และคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดการกำหนดค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่ง ต้องคำนึงถึงปริมาณงาน รายได้และ รายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่ง และสามารถปรับลดหรือเพิ่มขึ้นได้ตามความ เหมาะสมของปริมาณงานและสภาพทางการเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วย14.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ “อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด”ก.กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจง ส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดข.กำหนดจำนวนและอัตราประชากรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆค.กำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่งอัตราเงินเดือนและวิธีการจ่ายเงินเดือน และ ประโยชน์ตอบแทนอื่น สำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดง.กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่มีความจำเป็นเฉพาะสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นตอบ ข.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 13 คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ในเรื่องดังต่อไปนี้(1) กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่มีความจำเป็นเฉพาะสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น(2) กำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่งอัตราเงินเดือนและวิธีการจ่ายเงินเดือน และ ประโยชน์ตอบแทนอื่น สำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด(3) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์(4) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การ บริหารส่วนจังหวัด(5) กำกับดูแล ตรวจสอบ แนะนำชี้แจงส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด15.จากข้อ 14 “อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด” (1) – (5) ต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก.ผู้จัดราชการจังหวัดข.คณะกรรมการกลาง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดค.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดง.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตอบ ข.16.หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลที่คณะกรรมการข้าราชการองค์การ บริหารส่วนจังหวัดกำหนดตามมาตรา 13 ให้ประกาศโดยเปิดเผยที่ทำการองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนั้น และจัดส่งสำเนาให้ใครทราบก.ผู้จัดราชการจังหวัดข.คณะกรรมการกลาง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดค.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดง.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตอบ ข.17.การออกคำสั่งเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับ โอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจาก ราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ หรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ให้เป็น อำนาจของใครก.ผู้จัดราชการจังหวัดข.คณะกรรมการกลาง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดค.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดง.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตอบ ง.18. จากข้อ 17 ต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก.ผู้จัดราชการจังหวัดข.คณะกรรมการกลาง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดค.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดง.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตอบ ข.19.เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดแต่ละแห่งเป็นไปโดยมีมาตรฐานที่สอดคล้องกัน ให้มีคณะกรรมการกลางข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดคณะหนึ่ง ประกอบด้วยใครบ้างก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยข.ปลัดกระทรวงมหาดไทยค.ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดง. ถูกทุกข้อตอบ ง.20.จากข้อ 19 ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนหกคน ซึ่งคัดเลือกจากใครบ้างก.อธิบดีกรมบัญชีกลางข.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดค.เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนง.อธิบดีกรมการปกครองตอบ ข.21.ผู้ทรงคุณวุฒิต้องคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านใดก.ด้านการบริหารงานท้องถิ่นข.ด้านการบริหารงานบุคคลค.ด้านระบบราชการง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม ข้อ 19 20 และ 21 มาตรา 16 เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดแต่ละแห่งเป็นไปโดยมีมาตรฐานที่สอดคล้องกัน ให้มีคณะกรรมการกลางข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดคณะหนึ่ง ประกอบด้วย(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง มหาดไทยซึ่งได้รับมอบหมาย เป็นประธาน(2) ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง และอธิบดีกรมการปกครอง(3) ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนหกคน ซึ่งคัดเลือกจากนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดจำนวนสามคน และปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนสามคน(4) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการ ด้านการบริหารและ การจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด22.ใครเป็นผู้แต่งตั้งข้าราชการในกรมการปกครองคนหนึ่งซึ่งดำรง ตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีเป็นเลขานุการคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วน จังหวัดก.คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องข.กรรมการผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดค.อธิบดีกรมการปกครองง.ปลัดกระทรวงมหาดไทยตอบ ค.23.กรรมการผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งคัดเลือกจากปลัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปีก. สองปีข. สามปีค. สี่ปีง. หกปีตอบ ค.24.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด”ก.กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดข.กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดค.กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับอัตราตำแหน่งและมาตรฐานของตำแหน่งง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 17 คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้(1) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 5 วรรคสาม(2) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้น สำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด(3) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับอัตราตำแหน่งและมาตรฐานของตำแหน่ง(4) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับอัตราเงินเดือนและวิธีการจ่ายเงินเดือนและ ประโยชน์ตอบแทนอื่น(5) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุ และแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน(6) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย(7) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ(8) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์และ การร้องทุกข์(9) กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ วิธีการบริหาร และการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการอันเกี่ยวกับการ บริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด(10) ให้ข้อคิดเห็นหรือให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด(11) กำกับดูแล แนะนำและชี้แจงส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่ข้าราชการองค์การ บริหารส่วนจังหวัด(12) ปฏิบัติการอื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด25.ค่าตอบแทนคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด และคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปใครกำหนดก.พระราชกฤษฎีกาข.พระราชบัญญัติค.นิติบัญญัติง.ระเบียบข้าราชการตอบ ก.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 21 ค่าตอบแทนคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด และคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา26.เทศบาลที่อยู่ในเขตจังหวัดหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ร่วมกันคณะหนึ่งทำหน้าที่บริหารงานบุคคลสำหรับเทศบาลทุกแห่งที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น ประกอบ ด้วยใครบ้างก.ผู้ว่าราชการจังหวัดข.หัวหน้าส่วนราชการประจำหวัดค.ผู้แทนเทศบาลง. ถูกทุกข้อตอบ ง.27.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “ผู้แทนเทศบาล”ก.ประธานสภาเทศบาลข.นายกเทศมนตรีค.ผู้แทนพนักงานเทศบาลง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 23 เทศบาลที่อยู่ในเขตจังหวัดหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ร่วมกันคณะหนึ่งทำหน้าที่บริหารงานบุคคลสำหรับเทศบาลทุกแห่งที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น ประกอบ ด้วย(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน(2) หัวหน้าส่วนราชการประจำนวนห้าคนจากส่วนราชการในจังหวัดนั้น ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดว่าเป็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ผู้ว่าราชการจังหวัดจะประกาศเปลี่ยนแปลงการกำหนดส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อใดก็ได้(3) ผู้แทนเทศบาลจำนวนหกคน ดังนี้ ก.ประธานสภาเทศบาล ซึ่งประธานสภาเทศบาลในเขตจังหวัดนั้นคัดเลือก กันเองจำนวนสองคน ข.นายกเทศมนตรี ซึ่งนายกเทศมนตรีในเขตจังหวัดนั้นคัดเลือกกันเองจำนวนสองคน ค.ผู้แทนพนักงานเทศบาล ซึ่งปลัดเทศบาลในเขตจังหวัดนั้นคัดเลือกกันเอง จำนวนสองคน(4) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการ ด้านการบริหาร และ การจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลของเทศบาล28.ในการคัดเลือกประธานสภาเทศบาล นายกเทศมนตรี และผู้แทนพนักงาน เทศบาล ให้ใครมีหน้าที่ดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือกก.ผู้ว่าราชการจังหวัดข.หัวหน้าส่วนราชการประจำหวัดค.ผู้แทนเทศบาลง. ถูกทุกข้อตอบ ก.29.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การบริหารงานบุคคลในเทศบาล”ก.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลคนหนึ่งในจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการพนักงานเทศบาลข.วิธีการคัดเลือกผู้แทนเทศบาลและผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นกำหนดค.ให้อธิบดีกรมการปกครองแต่งตั้งข้าราชการในกรมการปกครองคนหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่ารองอธิบดีเป็นเลขานุการคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลง. ถูกทุกข้อตอบ ง.30.ใครมีหน้าที่จัดให้มีการคัดเลือกประธานสภาองค์การบริหาร ส่วนตำบล ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลก.ผู้ว่าราชการจังหวัดข.หัวหน้าส่วนราชการประจำหวัดค.ผู้แทนเทศบาลง. ถูกทุกข้อตอบ ก.31.กรรมการผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งคัดเลือกจากใครก.ผู้ว่าราชการจังหวัดข.หัวหน้าส่วนราชการประจำหวัดค.ผู้แทนเทศบาลง. ปลัดองค์การบริหารตอบ ง.32.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนตำบล"ก.การคัดเลือกผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลและผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบลกำหนดข.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบลคนหนึ่งในจังหวัด เป็นเลขานุการคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลค.ให้อธิบดีกรมการปกครองแต่งตั้งข้าราชการในกรมการปกครองคนหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่ารองอธิบดีเป็นเลขานุการคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบลง. ถูกทุกข้อตอบ ง.33.เมืองพัทยาให้มีคณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานเมืองพัทยา ข้อความขั้นต้น ใครเป็นประธานก.ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีข.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครค.ผู้ว่าราชการเมืองพัทยาง.นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดกรุงเทพมหานครตอบ ก.34.มีหน้าที่ดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือกพนักงานเมือง พัทยา เป็นผู้แทนพนักงานเมืองพัทยาก.ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีข.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครค.ผู้ว่าราชการเมืองพัทยาง.นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดกรุงเทพมหานครตอบ ก.35.ในการคัดเลือกประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นให้กรรมการ เสนอรายชื่อบุคคลจำนวนฝ่ายละกี่คนก. หนึ่งคนข.สองคนค.สามคนง.สี่คนตอบ ค.36.จากข้อ 35.บุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อต้องเป็นผู้ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในด้านใดก.ด้านการบริหารงานบุคคลข.ด้านระบบราชการค.ด้านการบริหารและ การจัดการหรือด้านกฎหมายง.ถูกทุกข้อตอบ ง.37.ในกรณีที่ได้รายชื่อบุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้ว ให้ใครประกาศแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทยค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหนง.ผู้ว่าราชการจังหวัดตอบ ข.38.ให้ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งก. สองปีข. สามปีค. สี่ปีง. หกปีตอบ ง.39.ข้อใดคือ “อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น”ก.กำหนดมาตรฐานกลางและแนวทางในการรักษาระบบคุณธรรมเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลข.กำหนดแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นค.ส่งเสริมให้มีการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 33 ให้คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้(1) กำหนดมาตรฐานกลางและแนวทางในการรักษาระบบคุณธรรมเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งและการให้พ้นจากตำแหน่งของพนักงาน ส่วนท้องถิ่น รวมตลอดถึงการกำหนดโครงสร้างอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นให้มี สัดส่วนที่เหมาะสมแก่รายได้และการพัฒนาท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ทั้งนี้การกำหนดมาตรฐานกลางและแนวทางจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลโดยเฉพาะเจาะจงที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถ บริหารงานบุคคลตามความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้(2) กำหนดแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการ กระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น(3) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกตามมาตรา 16 วรรคสาม มาตรา 24 วรรคสาม และมาตรา 26 วรรคสาม(4) ส่งเสริมให้มีการศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น(5) ให้คำปรึกษาแนะนำและพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(6) ประสานงานกับคณะรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทต่าง ๆ คณะกรรมการ กลาง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมให้การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ(7) ปฏิบัติการอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น40.ในการจ่ายเงินเดือน ประโยชน์ตอบแทนอื่น และเงินค่าจ้างของ ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้าง ที่นำมาจากเงินรายได้ที่ไม่รวมเงินอุดหนุนและ เงินกู้หรือเงินอื่นใดนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งจะกำหนดสูงกว่าร้อยละเท่าไหร่ของเงิน งบประมาณรายจ่ายประจำปีก.ร้อยละสามสิบข.ร้อยละสี่สิบค.ร้อยละห้าสิบง.ร้อยละหกสิบตอบ ข.41.ข้อใดคือหน้าที่ความรับผิดชอบของ “คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทยก.ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆข.ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ ส่วนท้องถิ่นค.จัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรม รวมทั้งการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 36 ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่นขึ้นในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่รับผิดชอบงานในราชการ ของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้(1) รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น(2) ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการ มาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น(3) ประสานงาน ติดตาม และประเมินผลการบริหารงานบุคคลขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น(4) ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ ส่วนท้องถิ่น(5) จัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรม รวมทั้งการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น(6) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ผลงาน และอุปสรรคในการปฏิบัติ หน้าที่และในการดำเนินงานของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น และ สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (7) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วน ท้องถิ่นมอบหมาย42.ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นดำรงตำแหน่งได้กี่วาระก.หนึ่งวาระ (วาระเดียว)ข.สองวาระค.สามวาระง.สี่วาระตอบ ก.43.ข้อใดคือการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นก. เป็นบุคคลล้มละลายข.เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถค.ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 32 ให้ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละหกปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งเมื่อ(1) ตาย(2) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้ออก โดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีเนื่องจากมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่อง หรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ (4) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 31 วรรคสอง (5) เป็นบุคคลล้มละลาย(6) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (7) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก44.ใครเป็น เป็นเลขานุการคณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยาก.คณะกรรมการเมืองพัทยาข.ปลัดเมืองพัทยาค.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเมืองพัทยาง.พนักงานเมืองพัทยาตอบ ก.45.การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามข้อใดก.กฏหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นข.กฏหมายว่าด้วย การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัดค.กฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครง.กฎหมายว่าด้วย การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนตำบลตอบ ค.บทสรุป แนวข้อสอบ “พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542” ทางผู้เขียนได้เน้นสาระสำคัญของเนื้อหาและความยาก ที่เคยออกสอบบ่อยเกี่ยวกับ “พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542” เช่น ความหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด การบริหารงานบุคคลในเทศบาล การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนตำบล การบริหารงานบุคคลในกรุงเทพมหานคร การบริหารงานบุคคลในเมืองพัทยา การบริหารงานบุคคลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ได้ลงไว้ในแนวข้อสอบนี้ไว้ หวังว่าผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจมีแรงบันดาลใจจากแนวข้อสอบให้ คณะกรรมการข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดย ปลาทู คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดย ปลาทู การพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระของผู้ทรงคุณวุฒิ โดย ปลาทู อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดย ปลาทู ความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้ทรงคุณวุฒิ โดย ปลาทู ภาพทั้งหมด โดย ปลาทูเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !