RPA ย่อมาจาก Robotic Process Automation เป็นหุ่นยนต์ที่คอยทำงานตามที่เราสั่งมันเอาไว้ แต่เป็นหุ่นยนต์ในคอมพิวเตอร์นะครับ ไม่ใช่หุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหว และจับต้องสิ่งของต่างๆ ได้RPA จะเข้ามาทำงานแทนคนได้หรือไม่ – ต้องตอบว่า ทั้งได้ และ ไม่ได้ เพราะ RPA สามารถทำงานได้เกือบทุกงานที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ แต่ไม่สามารถทำงานที่อยู่นอกคอมพิวเตอร์ได้Image by 849356 from Pixabay - https://pixabay.com/illustrations/calculator-hand-robot-count-695084/ RPA เหมาะกับงานประเภทใดบ้าง - เงื่อนไขในการพิจารณาว่างานใดควรนำ RPA เข้ามาช่วยในการทำงานงานที่ต้องทำซ้ำๆ – เป็นงานที่มีการทำงานเหมือนเดิมบ่อยๆ ยิ่งบ่อยยิ่งคุ้มที่จะนำ RPA มาใช้งานมีเงื่อนไขชัดเจน – มีลำดับขั้นตอนการทำงานเป็นมาตรฐาน ชัดเจน ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ต้องให้ใครตัดสินใจ หรือรออนุมัติไม่ซับซ้อน – งานไม่ซับซ้อนจนเกินไป เงื่อนไขไม่มากเกินไป เพราะตอนเขียนคำสั่งให้บอททำงานจะทำได้ยาก และมีโอกาสผิดพลาดมากขึ้น แต่หากผู้เขียนคำสั่งมีความแม่นยำในงานและการเขียนคำสั่ง ก็สามารถเขียนงานที่ซับซ้อนได้มากขึ้นความเสี่ยงต่ำ – ไม่ควรให้ RPA ทำงานที่มีความเสี่ยงสูงเกินไป เช่น โอนเงินจำนวนมาก, confirm การสั่งสินค้าแพงๆ ฯลฯมีการทำงานข้ามโปรแกรม – เพราะจุดแข็งของ RPA อยู่ที่การข้ามโปรแกรมได้ เช่น เปิดอีเมล์ ดาวน์โหลดไฟล์ นำไฟล์ไปคำนวนใน excel แล้วส่งอีเมล์ออกไป แต่ถ้าหากเป็นการทำงานในโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง อาจจะมีเครื่องมือสำหรับเขียนบอทในโปรแกรมนั้นอยู่แล้ว เช่น Macro ใน Microsoft Excel, Action ใน Adobe Photoshop และIllustrator ฯลฯ ซึ่งจะสามารถทำงานได้ถูกต้อง, แม่นยำ และรวดเร็วกว่าการใช้ RPAImage by geralt / 20919 images from Pixabay - https://pixabay.com/illustrations/hand-robot-human-machine-face-1571851/ ข้อดีของ RPAทำงานตามที่สั่ง 100% - ทำงานตามขั้นตอนถูกต้องทุกอย่างตามที่กำหนดเอาไว้ไม่ใช้อารมณ์ในการทำงาน – ไม่มีอกหัก รักคุด พ่อป่วย แม่ตาย มึนๆ อึนๆ หรือรักคนนู้น เกลียดคนนี้ อิจฉาคนนั้น เด็ดขาดไม่ขาด ไม่สาย ไม่ตาย - สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชม. 7 วัน (ต้องได้รับการดูแล Software และ Hardware อย่างดีด้วย)ประหยัด – หากสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพก็รับประกันว่าประหยัดกว่าจ้างพนักงานแน่นอน เพราะค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงาน ไม่ใช่แค่เงินเดือน ต้องมีประกันสังคม สวัสดิการต่างๆ อีกด้วย (แตกต่างกันไปในแต่ละงาน)ไม่ต้องรอ IT – โปรแกรม RPA ถูกสร้างมาเพื่อให้คนทั่วไปที่ไม่ใช่ IT สามารถเขียนบอทเพื่อใช้งานเองได้ โดยไม่ต้องพิมพ์ CODE ยาวๆ ที่ไม่เป็นภาษามนุษย์ โดยส่วนมากโปรแกรม RPA จะใช้การลากวางเพื่อกำหนดคำสั่งในการทำงานImage by Fathromi Ramdlon from Pixabay - https://pixabay.com/photos/good-bad-opposite-choice-choose-1123013/ ข้อเสียของ RPAไม่สามารถตัดสินใจเองได้ - แม้แต่เรื่องง่ายๆ ถ้าไม่ได้กำหนดเอาไว้ มันก็จะเอ๋อไปเลยไม่สามารถรับมือกับปัญหาใหม่ๆ - หากมีความเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อยกับงาน หรือโปรแกรมที่ใช้ในการทำงาน ก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้เขียนคำสั่งอย่างละเอียดและถูกต้อง 100% - หากมีคำสั่งที่ลืมเขียน หรือเขียนผิด RPA อาจจะหยุดทำงานหรือทำงานผิดพลาดได้ซื้อคอมพิวเตอร์เพิ่ม - เพราะระหว่างที่ RPA ทำงานบนคอมพิวเตอร์เครื่องใด คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็จะไม่สามารถใช้งานอื่นๆได้ค่าลิขสิทธิ์โปรแกรม RPA - โปรแกรม RPA ส่วนมากมีราคาแพง แต่ก็มีบางโปรแกรมที่เปิดให้ใช้ฟรีโดยมีเงื่อนไขกำหนด เช่น Uipath, Workfusion ฯลฯ ควรอ่านเงื่อนไขการใช้งานก่อนตัดสินใจเลือกใช้คงจะพอรู้จัก RPA กันมากขึ้นแล้วนะครับ RPA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยงานมนุษย์ ไม่ใช่เพื่อแย่งงานใคร ดังนั้นอย่าปิดกั้นตัวเองจากการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพราะการหยุดเรียนรู้เท่ากับก้าวถอยหลัง มิเช่นนั้นคุณอาจจะก้าวถอยหลังลงคลองไปเองโดยไม่รู้ตัวก็ได้ แล้วอย่ามาหาว่าผมไม่เตือนนะครับImage by kiquebg from Pixabay - https://pixabay.com/photos/technology-hands-agreement-ok-4256272/