แบรนด์รถจักรยานยนต์อเมริกันมากกว่า 300 แบรนด์ที่เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับยุคกำเนิดของ Haley แต่ในปัจจุบันกลับเหลือแค่ Haley Davidson ที่ยังคงพาแบรนด์อยู่รอดในจุดวิกฤติที่เกิดขึ้นมานับครั้งไม่ถ้วน แล้วอะไรที่นำพาให้ราชาแห่งจักรยานยนต์หยัดยืนอยู่บนเวทีนี้ได้ ? Swivel จะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน ย้อนกลับไปยังปี 1903 จุดกำเนิดของแบรนด์จักรยานยนต์ Haley Davidson โดยมี “วิลเลียม ฮาร์เล่ย์” “สองพี่น้อง อาร์เธอร์” และ “วอลเตอร์ เดวิดสัน” สามหนุ่ม ผู้ซึ่งประดิษฐ์รถจักรยานใส่เครื่องหนึ่งสูบมาค้าขายในเชิงพาณิชย์ โดยใช้ “กระท่อมหลังบ้าน” เป็นจุดขายเริ่มแรก และเมื่อได้รับความนิยมมากขึ้น พวกเขาก็ได้ขยับขยายกิจการ ก่อตั้งเป็นโรงงาน ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าโล่ที่ใช้มาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน Haley Davidson เฟื่องฟูในยุคสงคราม ที่ต้องผลิตจักรยานยนต์เพื่อใช้ในทางทหาร ทำให้ยุค 1917-1920 ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนถึงขนาดส่งออกไปยังอีก 67 ประเทศ นับแต่นั้นมา Haley ก็เป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งโลก ก่อนที่ขายกิจการให้กับ AMF หรือ American Machine and Foundry ในปี 1969 ซึ่งนั่นเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่นำพาให้ Haley Davidson กำลังดิ่งสู่เหว Credit Picture: Link AMF ได้มีการปฏิวัติ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ ทำให้ผลประกอบการของบริษัทตกต่ำ จนถึงขนาดที่พนักงานนัดหยุดงานประท้วง มิหนำซ้ำ ยังเป็นยุคที่แบรนด์จักรยานยนต์จากญี่ปุ่น เข้ามาครองตลาดแทน จนทำให้แบรนด์อเมริกันหลายแบรนด์ถูกปิดตัวลง แบรนด์จักรยานยนต์จากแดนปลาดิบหลายแบรนด์ เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด การเปรียบเทียบก็ได้เกิดขึ้นในกลุ่มลูกค้าว่า Haley ไม่มี ในสิ่งที่แบรนด์ญี่ปุ่นมี ปี 1980 ก็ได้มีกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องการควบคุมเสียงและมลพิษออกมาอีก และยังมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นตำรวจซึ่งใช้ Haley มาตั้งแต่ยุคก่อตั้ง เปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่น วิกฤติทุกวิกฤติที่ถาโถมเข้ามารวมกัน ส่งผลให้ Haley Davidson เกือบจะถูกปิดตัวลง ปัญหาต่าง ๆ ได้ถูกคลี่คลายลง โดยการเปิดตัว Haley รุ่นใหม่ ที่พัฒนาให้มีเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เพื่อจะครองใจลูกค้า ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงความเป็น American Style เอาไว้ด้วย Harley-Davidson FLT Tour Glide ได้ถูกเปิดตัวขึ้นในปีเดียวกัน แต่นั้นเป็นการแก้วิกฤติเพียงผิวเผินเท่านั้น แต่จุดที่ดึงฮาเลย์ขึ้นมาสง่าเช่นเดิม เกิดขึ้นในปี 1981 เมื่อทายาทดั้งเดิมของ Haley และผู้บริหารรวม 13 คน ตัดสินใจซื้อกิจการ Haley Davidson กลับคืนมาจาก AMF ทำให้พวกเขา ได้กลับมาบริหารในสิ่งที่ตัวเองรักเช่นเดิม และยังถือได้ว่านั่นเป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของ Haley ที่นำพาแบรนด์ยืนหยัดมาจนถึงกระทั่งปัจจุบันนี้ Credit Picture: Link หลังจากที่บริษัทถูกบริหารโดยทายาทแท้ ๆ Haley ก็กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง และการเปลี่ยนรูปแบบในการผลิตให้มีมาตรฐานมากขึ้นเป็นเท่าตัว ใส่ใจในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเช็คอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น ไม่มีการสต๊อคไว้ เพราะมันจะทำให้เปลืองเนื้อที่ของโรงงาน นอกจากนี้แล้ว Haley Davidson ยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในทางอ้อม โดยการที่ “โรนัลด์ เรแกน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้น ได้ออกภาษีนำเข้ารถจากญี่ปุ่น และมีการปลุกกระแสนิยมรักชาติเกิดขึ้น และได้ใช้ Haley Davidson เป็นสัญลักษณ์ของชาติอเมริกา ด้วยความที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานถึง 75 ปี ในขณะนั้น ประกอบกับบริษัทของ Haley เอง ได้เพิ่มการดีไซน์ Product ให้มีความขลัง และมีเสน่ห์ เหมือนดั่งจุดรุ่งเรืองของแบรนด์ในยุค 50 ในที่สุด Haley Davidson ก็ได้กลับมาขึ้นแท่นเป็นราชาแห่งจักรยานยนต์อีกครั้งในปี 1986 ครองตลาดสหรัฐฯ เป็นอันดับหนึ่งของรถที่มียอดขายสูงสุด Credit Picture: Link ถ้าวันนั้น Haley Davidson ถูกปิดตัวลง จะเกิดอย่างไรขึ้นในยุคปัจจุบัน ราคาของ Haley จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเหมือนบางแบรนด์ที่ปิดฉากการผลิตไปหรือเปล่า หรือรถจะยังคงเป็นตำนานที่หาซื้อได้ยากในท้องตลาด แต่ ณ วันนี้ แบรนด์ Haley Davidson ยังหยัดยืนอยู่บนตลาดโลก และยังคงเป็น “ตำนานที่มีชีวิต” อยู่เรื่อยมา Credit Picture: Link ____________________________________________________________ Swivel คอนเทนท์ยุคใหม่เชิงสร้างสรรค์ ที่นำเสนอในทุกแรงบันดาลใจ ไม่ว่าจะเป็น Science&Tech • Inspiration • Passion • Community • Sport ชื่นชอบ คอนเทนท์ของ Swivel อย่าลืมกดแชร์ กดติดตามและกดไลค์กันเยอะๆนะครับ ที่สำคัญ ติชม และให้กำลังใจผ่านคอมเมนท์ข้างล่างนี้ได้เลย Follow Us In “Facebook” https://www.facebook.com/swivelthailand Follow Us In “Line” http://nav.cx/2z8bFq6 “ออกจากกรอบ แล้วเดินไปตามโลก ที่หมุนไป อย่างไม่สิ้นสุด” Copyright By Swivel