หากมองย้อนไปในอดีต หลายคนคงรู้จักกับยางพาราเป็นอย่างดี และคงนึกถึงว่าอาชีพกรีดยางมีแต่ในภาคใต้ภาคเดียว แต่ปัจจุบันนี้ภาคอีสานและภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย เริ่มปลูกยางและกรีดยางขายกันเพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นการส่งเสริมของภาครัฐ ให้ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงทำให้เห็นว่าภาคอีสานจะมียางพาราจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบจังหวัดติดริมโขง เช่น บึงกาฬ หนองคาย นครพนม มุกดาหาร เป็นต้น ซึ่งมีการปลูกยางพาราประมาณ 20 กว่าปีมาแล้ว ภาพโดย Peggy und Marco Lachmann-Anke จาก Pixabay เมื่อปลายสมัยนายกอภิสิทธิ์และสมัยนายกยิ่งลักษณ์ ราคายางพาราในช่วงนั้นถือว่าราคาดีมาก ขนาดยางก้อนถ้วยในภาคอีสานยังมีราคาถึง 90-100 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งชาวสวนยางต่างมีรายได้ ร่ำรวยกันถ้วนหน้า สวนยางพาราของผมเปิดกรีดครั้งแรก ราคายางอยู่ที่ 50 บาท ยางพาราอายุ 7 ปี ขนาดรอบต้นเฉลี่ยอยู่ที่ 40 cm ซึ่งถือว่ายังไม่ผ่านมาตรฐานในการเปิดกรีด เพราะมาตรฐานอยู่ที่วงรอบ 50 cm ถึงเปิดกรีดได้ เพราะจะได้ต้นยางที่ใหญ่ สามารถให้น้ำยางที่ดีได้ แต่ในภาคอีสานส่วนใหญ่ เปิดกรีดตั้งแต่ต้นยังเล็ก เลยทำให้ผลผลิตต่อต้นต่อไร่ ยังได้ไม่ดีพอกลไกราคายางพารามีปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ทั้งปริมาณยางพาราที่ส่งขายและราคาน้ำมันด้วย เพราะอุตสาหกรรมการผลิตยางทุกวันนี้ ส่วนใหญ่นำวัตถุดิบมากจากยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ซึ่งยางสังเคราะห์ก็ได้มาจากกระบวนการผลิตน้ำมันนั้นเอง ทำให้เวลาน้ำมันมีราคาสูง ผู้ประกอบการจะเลือกใช้ยางพารา ทำให้ยางพารามีความต้องการมากขึ้น พอมีความต้องการก็ทำให้ราคายางพาราสูงขึ้นตามไปด้วยภาพโดย janimahkonen จาก Pixabay ฉะนั้น การที่ชวนสวนยางอย่างเรา ๆ จะทำเงินจากการกรีดยาง ต้องคำนึงหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งอาชีพกรีดยาง เป็นอาชีพที่ดีมาก สำหรับพื้นที่ท้องถิ่น เพราะสามารถทำเงินได้ในทุก ๆ อาทิตย์เลยก็ว่าได้ ซึ่งการกรีดยางเพียง 8 วัน ก็สามารถทำเงินได้แล้ว กรณีกรีด 2 วัน เว้น 1 วัน ภายใน 8 วัน เราทำงานเพียง 6 วัน และทำแค่ช่วงเช้าซึ่งใช้เวลาแค่ 2-3 ชั่วโมงในการกรีด ที่บ้านผมมียาง 20 ไร่ เปิดกรีดประมาณ 1,500 ต้น ทุก ๆ อาทิตย์จะมียางก้อนถ้วยขาย ถ้าน้ำยางออกดีหน่อยจะได้ครั้งละประมาณ 600 กิโลกรัม ถ้าในช่วงราคาตกต่ำสุด ๆ คือช่วงปี 2563 นี่แหละครับ ราคาตกกิโลกรัมละ 15 บาท 700 x 15 = 9,000 บาท ต่ออาทิตย์ เดือนหนึ่งก็ตกราว ๆ 3,5000 บาท ซึ่งพอเลี้ยงครอบครัวได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าน้ำยางออกน้อย หรือช่วงหน้าฝนก็จะได้ยางน้อยหน่อย ตกเดือนละ 2 - 3 หมื่นบาท แต่ในช่วงยางผลัดใบก็พักให้เขาได้บำรุงตัวเองสัก 2-3 เดือนนะครับ เดี๋ยวเขาจะจากเราไปเร็วภาพโดย Tina Kersting จาก Pixabay แสดงให้เห็นว่า อาชีพกรีดยางไม่ได้ตกต่ำถึงขั้นไม่มีจะกิน ในเวลาที่ราคายางต่ำขนาดนี้ ถ้าเราทำหลาย ๆ อย่างผสมผสานกัน ทั้งยาง ข้าว อ้อย มัน ก็จะหมดปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำไปได้เลย เพราะเราได้กระจายความเสี่ยงไว้แล้ว อีกอย่างการกรีดยาง เราทำงานในเวลาสั้นมาก ในช่วงเช้าแค่ไม่กี่ชั่วโมง โดยเวลากลางวันเราก็ไปหาทำงานอื่นได้อีก นับว่าเป็นอาชีพที่ดีเลยนะครับ ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้ถึง 20 กว่าปี หากท่านใดอยากกลับไปอยู่บ้านแล้วอยากมีรายได้ประจำ แนะนำปลูกยางเป็นรายได้อีกทางครับ สำหรับบทความนี้ขอฝากไว้เพียงเท่านี้นะครับ สวัสดีครับ