ไม่มีใครรู้อะไรมากนักเกี่ยวกับอารยธรรมฮารัปปาซึ่งเบ่งบานในช่วง 2600 ปีก่อนคริสตกาล ตามริมฝั่งสินธุในปากีสถานและอินเดียปัจจุบัน แต่ในบางมุม มันกลับเป็นวัฒนธรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดในบรรดาวัฒนธรรมยุคแรกๆ เพราะเบอร์ในเขตฮารัปปาารัปปามีการจัดการที่เป็นระบบเหลือเชื่อเมืองโมเฮนโจ-ดาโร นับเป็นตัวอย่างที่ดี เช่นเดียวกับเมืองสุเมเรีย เมืองลุ่มน้ำสินธุแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยไม้และอิฐทำมาจากโคลนเคยมีผู้อาศัยถึงราว 35000 คน และเห็นได้ชัดว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับความสะอาด ดังมีระบบระบายน้ำเสีย ท่อส่งน้ำเพื่อน้ำสะอาดไปยังน้ำพุในชุมชน และโรงอาบน้ำสาธารณะพร้อมระบบทำน้ำอุ่นด้วยเตาที่อยู่ใต้ดิน ถนนของเมืองกว้างขวาง วางผังเป็นตารางพร้อมกับ การกำหนดโซน แยกพื้นที่ที่พักอาศัยกับกิจกรรมด้านการค้า ออกจากกัน เเละเมืองโมเฮน-ดาโร มียุ้งฉางขนาดใหญ่ บ่อน้ำสาธารณะ และป้อมปราการโครงสร้างแบบปราสาท อันน่าประทับใจ แถมยังมีหอประชุมขนาดใหญ่ 2 แห่งสำหรับการประชุมของชาวเมืองอีกด้วยจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีใครสามารถถอดรหัสภาษาเขียนของชาวฮารัปปาได้ ซึ่งมีตัวอักษร ราว 400 ตัวปรากฏอยู่บน ป้ายประกาศสาธารณะขนาดใหญ่ บนแผ่นดินเหนียวและเเผ่นสำริด ในการจัดทำเอกสาร อารักษ์จะสลักประโยคหรือวลีขึ้นเป็นตราประทับหิน แล้วจึงประทับตราลงบนแผ่นดินเหนียวเปียก ส่วนเอกสารที่เป็นแผ่นสำริด จะสงวนสําหรับใช้ในงานพิธีเท่านั้น ศาสนาของชาวฮารัปปายังคงเป็นเรื่องค่อนข้างลึกลับ ถึงแม้จะมีร่องรอยความเชื่อเรื่องการบูชาพระโค อย่างรูปชายผู้ที่ศีรษะมีเขาวัวหรือเครื่องประดับศีรษะรูปเขาวัว นั่งในท่าขัดสมาธิ นักโบราณคดียังพบรูปปั้นขนาดเล็กของสตรีร่างอวบอ้วน ซึ่งอาจเป็นสัญลักษณ์ของเทพีแห่งการเจริญพันธุ์ก็เป็นได้ ชาวฮารัปปาฝังผู้ชายโดยหันหัวไปทางทิศเหนือและสร้างภาชนะใส่อาหาร เครื่องมือ และอาวุธ รวมไปด้วย สำหรับใช้ในโลกหน้า ในช่วง 900 ปีที่ดำรงอยู่ เมืองโมเฮนโจ-ดาโร ได้รับการก่อสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด 6 หรือ 7 ครั้ง หลังจากถูกทำร้ายด้วยอุปกรณ์ภัย อารยธรรมฮารัปปาสาบสูญไปราว 1700 ปีก่อนคริสตกาล อ่านด้วยสาเหตุจากอุทกภัย การรุกรานจากต่างแดน (คงเป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียน) หรือไม่ก็ทั้งสองอย่าง(เครดิตปก/ภาพที่1/ภาพที่2/ภาพที่3)