ตามที่เป็นข่าวเรื่องธนบัตรที่รัฐจัดพิมพ์ขึ้นมาใหม่นั้น ผมคงไม่ดราม่าแน่นอน แต่ขอเล่า ที่มาที่ไปของ "ธนบัตร" หรือ Bank note จะดีกว่าเพราะให้ความรู้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านมากกว่า ประกอบกับที่ผมกำลังนั่งปั่นวิจัย แต่ก็นึกขึ้นได้เพราะพรุ่งนี้ (7/01/2564) ผมมีสอนวิชาปัญญาพิเศษกฎหมายธุรกิจและสัญญากับนิสิตว่าจะมาเล่าเรื่องประเด็นทางธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องธนบัตร เริ่มเลยแล้วกันนะครับ กลัวเสียเวลา ธนบัตรธนบัตร เดิมทีมันไม่ได้ปรากฎขึ้นตามพื้นดิน พื้นน้ำ โดยธรรมชาติ แต่ เราเคยใช้ เงินพดด้วง ปี้กระเบื้อง และเหรียญกษาปณ์เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนแทนการแลกของโดยของกับของ แลกเปลี่ยนสินค้าทำไม? ผู้อ่านลองจินตนาการนะครับ ถ้าผู้อ่านจะซื้อไข่ไก่ 1 ฟอง โดยใช้ข้าว 1 กระสอบ ส่วนตัวผมไม่โอเค เพราะคิดง่าย ๆ คือ กว่าจะมาเป็นข้าว 1 กระสอบ มันใช้ต้นทุนเยอะขนาดไหน กับไข่ไก่ 1 ฟอง ดังนั้น การหามาตรวัดที่เป็นธรรม หรือหาตัวกลางจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้นขึ้น แต่ช่วงแรก ๆ เราใช้โลหะที่มีค่า แต่ต่อมามันหายากจึงไม่แปลกที่ จะต้องเปลี่ยนจากโลหะมีค่ามาเป็น เงินพดด้วง กระเบื้อง เหรียญต่าง ๆ จนกระทั่งในสมัย ร.5 ที่การค้าระหว่างประเทศเจริญขึ้น ประกอบกับมีผู้ทำเงินพดด้วงปลอมขึ้น (ปลอมเงินพดด้วงจ้า) ร.5 จึงโปรดเกล้าให้ใช้ "หมาย" โดยนำกระดาษและประทับตราพระราชสัญลักษณ์ประจำพระราชวงศ์จักรีด้วยชาด (สีแดง) ป้องกันการทำปลอมขึ้นได้ง่าย แต่ประชาชนสมัยนั้นไม่ชินกับหมายเพราะเคยชินกับเงินพดด้วง จึงทำให้หมายไม่เป็นที่นิยมนัก ต่อมา วัสดุที่ทำเหรียญกษาปณ์ (เงินปลีกราคาต่ำ) ได้แก่ ดีบุก และทองแดงขาดตลาด (คุณพระ!) จึงมีการนำปี้กระเบื้องที่ใช้ในบ่อนพนัน มาใช้แทนเหรียญกษาปณ์ที่ขาดแคลน อาจเป็นเพราะต้นทุนการจัดทำเงินปลีกค่อนข้างจะสูง ร.5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการผลิต อัฐกระดาษ (ห้ามเล่นมุกว่า ต้องมีกระสอบทรายไหม? วิชาการ - ไม่ตลก) แต่ถามว่านิยมไหม ตอบได้เลยว่า หึ! สู่ขิตไปตามหมายอย่างที่เรียนไว้ก่อนหน้าคือ เพราะเหตุการค้าระหว่างประเทศในขณะนั้นเจริญขึ้น ทำให้พ่อค้า-แม่ค้าจากตะวันตกเข้ามายังดินแดนสยาม การจะใช้เงินพดด้วงก็ดี เหรียญกษาปณ์ก็ดี หรืออัฐกระดาษ ต่างชาติดูจะไม่ปลื้มเสียเท่าไหร่ สมมุติผู้เขียนเป็นต่างชาติในสมัยนั้นคงถามว่า นี่คือ? ฉันถ่อมาตั้งไกล เพื่อมาขนเงินพดด้วงเนี่ยนะ ตลกกกกก ๆไม่โออย่างแรง ประกอบกับสมัยนั้นมีธนาคารต่างประเทศเข้ามาตั้งในสยาม ซึ่งน่าจะถือเป็นใบเบิกทางให้ต่างชาติรู้จักThailand ไม่ใช่ไต้หวัน และระหว่างธนาคารด้วยกันเขาก็มีการทำธุรกรรมผ่าน "บัตรธนาคาร" และเหล่าธนาคารพาณิชย์ก็ได้ขออนุญาตนำบัตรธนาคารออกใช้ สถาบันการเงินลักษณะบัตรธนาคาร นอกจากที่ได้ใช้ระหว่างธนาคารด้วยกัน ยังรวมไปถึงการใช้งานระหว่างสถาบันการเงินใช้และลูกค้า ในลักษณะตั๋วสัญญาใช้เงิน หมายถึง ตราสาร (ทางการเงิน)ที่ธนาคารสัญญาว่าจะใช้เงินแก่ผู้ถือบัตรฯ เท่ากับว่า มูลค่าของบัตรฯ ย่อมผูกพันกับคำมั่นสัญญาว่า ธนาคาร จะชำระหนี้แก่ผู้ถือตั๋วฯทันที่ จึงไม่แปลกที่บัตรฯ จะเป็นที่ยอมรับในวงกว้างเพราะบัตรฯ จะได้รับการรับรองจากธนาคารว่าจะใช้หนี้ และด้วยลักษณะการเป็นตราสารหนี้ คุณสมบัติหลักจึงต้องเปลี่ยนมือได้ แค่ ส่งมอบก็พอแล้ว จะนำไปจดทะเบียน ประกาศลงหนังสือพิมพ์ โอ้ยเยอะแยะ ลำไย แค่ "ส่งมอบ" ก็พอมั้งในขณะนั้นเองรัฐบาลก็แอบคิดว่า บัตรธนาคาร(ต่างประเทศ)มันก็คล้ายกับเงินตรา ที่รัฐสมควรที่จะจัดทำเองดีกว่าไหมนะ? (พูดกับตัวเอง) ดังนั้น รัฐจึงได้ออก "เงินกระดาษหลวง" - ชื่อก็บอกว่าทำมาจากกระดาษ ต่อมาในในสมัย พ.ศ.2445 จึงได้มีการประกาศใช้ พรบ. ธนบัตรสยาม เพื่อ พิมพ์ธนบัตรและตั้งกรมธนบัตร สังกัด กระทรวงการคลังฯ ผลจากการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว ประชาชนจึงได้รับอนุญาตให้สามารถนำเงินโลหะมาแลกธนบัตรได้ เพราะ(เดา)เอาของหนักมาแลกของเบาย้ำอีกทีว่า ธนบัตรสมัยนั้น คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่รัฐบาลให้คำมั่นว่าจะใช้เงินเมื่อผู้ถือธนบัตรนำธนบัตรมายื่นโดยทันที (คล้าย ๆ คนถือบัตร ATM ไปกดเงินสด) ตู้ ATMสุดท้ายในสมัย ร.6 ได้มีการประกาศใช้ พรบ.เงินตรา พ.ศ. 2471 ที่กำหนดให้เงินตราที่จะชำระหนี้ภายในประเทศได้แก่ ธนบัตร และเหรียญกษาปณ์ ธนบัตร และเหรียญกษาปณ์ปล.ธนบัตร สมัยปัจจุบันเราจะเห็นว่าผู้ที่ลงนามจะมีบุคคลสำคัญอยู่ 2 ท่าน คือ 1.ผู้ว่าแบงก์ชาติ และ 2. รมต.กระทรวงการคลัง เพื่อรับรองว่า 1)ธนบัตรที่ทุกคนถือนั้นสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และ 2) ผู้ถือทุกคนสามารถนำธนบัตรมาทวงถามรัฐบาลให้ชำระหนี้ได้ทันที เท่ากับว่าความเชื่อมันในธนบัตร นอกจากตัวเลขที่ปรากฎอยู่บนธนบัตร ยังมีลายมือชื่อว่า ใคร? จะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายหนี้เมื่อถูกทวงถาม -จบ เถิด-ท้ายนี้ขอบพระคุณภาพปก (โดย Anthony Abruzzo) รูป 1 (โดย jannoon028) รูป 2 (โดย macrovector) รูป 3 (โดย pikisuperstar) รูป 4 (โดย jcomp) รูป 5 (โดย wirestock) เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !